Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
"อุตตม" เตือน รบ. ดูความพร้อมฐานะการคลังให้ดีก่อน เจรจา"ทรัมป์"

"อุตตม" เตือน รบ. ดูความพร้อมฐานะการคลังให้ดีก่อน เจรจา"ทรัมป์"

22 เม.ย. 68
17:19 น.
แชร์

"อุตตม" เตือน รบ.ดูความพร้อมฐานะการคลังของไทยให้ดีก่อนไปเจรจาทรัมป์ ชี้ ต้องสื่อให้ปชช.มั่นใจว่า รับมือความไม่แน่นอนของ ศก.โลกได้

เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 22 เม.ย.ที่พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) นายอุตตม สาวนายน อดีต รมว.คลัง ในฐานะประธานกรรมการนโยบายพรรคพลังประชารัฐ แถลงข่าวถึงกรณีที่รัฐบาลสหรัฐประกาศรายชื่อประเทศที่เก็บภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐสูง สำหรับกรณีของไทย สหรัฐอ้างว่ามีภาษีอยู่ร้อยละ 72 สหรัฐจึงจะคิดภาษีตอบโต้ไทยในอัตรากึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 36 โดยรัฐบาลไทยกำลังเตรียมจะเจรจากับสหรัฐว่า รัฐบาลต้องคำนึงถึงความพร้อมของฐานะทางการคลังของประเทศไทยต่อนโยบายทรัมป์ 2.0 เช่นในส่วนของพื้นที่ทางการคลัง เราพร้อมที่จะรับมือความไม่แน่นอนหรือไม่ เพราะนโยบายทรัมป์มีแนวโน้มก่อให้เกิดความปั่นป่วนทางการค้า การเงิน และภูมิรัฐศาสตร์ ไทยจำเป็นต้องมีพื้นที่ทางการคลังที่เพียงพอเพื่อรองรับแรงกระแทกจากภายนอก

นายอุตตม กล่าวต่อว่า ตัวชี้วัดสำคัญที่กำลังสะท้อนความเปราะบางทางการคลังของไทยมีอยู่ 6 ข้อ 1.รายได้สุทธิต่อ GDP เฉลี่ยอยู่ที่เพียง 14.87% GDP (2564-2568) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศกำลังพัฒนาที่ 18-20% (รายงานความเสี่ยงทางการคลัง/สศค.) สะท้อนความสามารถจัดเก็บภาษีที่อ่อนแอ ส่งผลให้รัฐอาจไม่มีงบประมาณเพียงพอรองรับภาวะฉุกเฉิน และต้องพึ่งการกู้เงินมากขึ้นเมื่อเผชิญวิกฤต

2.สัดส่วนงบประมาณที่ปรับลดได้ยากในปี 2568 สูงเกือบถึง 70% งบประมาณ (เพิ่มจาก 62.72% ในปี 2564) ทำให้เหลืองบลงทุนหรืองบกระตุ้นเศรษฐกิจน้อยลง ลดความสามารถในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ (รายงานความเสี่ยงทางการคลัง/สศค.) ทั้งนี้ งบประมาณรายจ่ายที่ปรับลดได้ยากประกอบไปด้วย

1. รายจ่ายสวัสดิการประชาชน เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

2. รายจ่ายสวัสดิการบุคลากรภาครัฐ เช่น ค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ เงินบำเหน็จบำนาญ

3. รายจ่ายเงินเดือน เงินสมทบ และค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ

4. รายจ่ายเพื่อชำระหนี้และภาระผูกพันต่างๆ เช่น งบลงทุนผูกพันข้ามปี

3.สัดส่วนภาระดอกเบี้ยจากหนี้สาธารณะต่อรายได้ปี 2568 อยู่ที่ 996 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 12.296 ในปี 2569 ข้อมูลจากสำนักวิเคราะห์งบประมาณของรัฐสภา เสียงถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ และอาจเพิ่มต้นต้นการกู้เงินในอนาคต ทำให้ดอกเบี้ยสูงขึ้นทั้งระบบ ขณะที่แนวปฏิบัติสากลที่หลายประเทศยึดถือIMF กำหนดไว้ที่ 15%

4.สัดส่วนการขาดดุลงประมาณต่อ GDP ปี 2568 อยู่ที่ 4.5% และปี 2569 จะอยู่ที่ -4.3% (แผนการคลังระยะปานกลาง) ซึ่งสูงกว่าระดับที่มีเสถียรภาพทางการคลัง ซึ่งการขาดดุลไม่ควรเกินร้อยละ 396 หากขาดดุลสูงอย่างต่อเนื่องจะทำให้หนี้พุ่งเร็ว เสี่ยงผิดวินัยการคลัง และเสียความเชื่อมั่นจากนักลงทุน ข้อมูลสำนักวิเคราะห์งบประมาณ/แผนการคลังของรัฐบาลระบุพยายายามลดการขาดดุลลง

5.ปี 2568 รัฐบาลกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจำนวน 865,700 (23.07% งบประมาณ) เกือบชนวงเงินกู้สูงสุด ซึ่งกำหนดไว้ที่ 970,768 ล้านบาท หากเกิดวิกฤติ รัฐจะไม่มีช่องว่างทางกฎหมายให้กู้เพิ่มเพื่อเยียวยาหรือ กระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 กำหนดวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลไว้สูงสุด 1.ไม่เกิน 20% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี รวมกับ 2.ไม่เกิน 80% ของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับชำระคืนเงินต้น

6.สัดส่วนภาระหนี้ของรัฐบาล (ต้นเงิน + ดอกเบี้ย) ต่อรายได้ประจำปีงบประมาณ อยู่ที่ 35.14% โดยเพดานกำหนดไว้ที่ไม่เกินร้อยละ 35 (แผนการคลังระยะปานกลาง) เป็นสัญญาณเตือนด้านวินัยการคลัง จะเบียดงบพัฒนา งบลงทุน และสร้างความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการคลังในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม นายอุตตม ยังได้เสนอแนะการจัดงบประมาณปี 2569 ไปยังรัฐบาลว่า ต้องจัดลำดับความสำคัญของงบประมาณ โดยให้ความสำคัญกับโครงการที่สร้าง "ภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ" เช่นการพัฒนาทักษะแรงงาน การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดเล็กในภูมิภาค และการเสริมความสามารถในการแข่งขันของ SMEs รวมถึงต้องจัดงบพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เสริมความเข้มแข็งชุมชน ยกระดับขีดความสามารถผลิตสินค้าบริการป้อนตลาดในประเทศ และสอดคล้องกับห่วงโซ่อุปทานใหม่ในตลาดโลก เพื่อสนับสนุนภาคการส่งออก

"วันนี้หนี้สาธารณะอยู่ที่ 64.21%GDP (4/2568) ซึ่งกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP Research) ประเมินว่าอาจแตะ 70% ใน 2 ปีข้างหน้า และอาจแตะระดับ 80-90% ในอีก 10 ปีข้างหน้า หากไม่มีการปฏิรูปการคลังภาครัฐอย่างจริงจัง"นายอุตตม กล่าว

Advertisement

แชร์
"อุตตม" เตือน รบ. ดูความพร้อมฐานะการคลังให้ดีก่อน เจรจา"ทรัมป์"