จดทะเบียนสมรสเท่าเทียม มีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ 23 ม.ค.2568 ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง
หลังจากที่พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 หรือที่เป็นที่รู้จักในชื่อของ กฎหมายสมรสเท่าเทียม ผ่านการเห็นชอบ โดยในวันที่ 23 ม.ค.2568 กฎหมายสมรสเท่าเทียมจะมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ และที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเขต ทุกแห่ง สามารถเปิดให้บริการจดทะเบียนสมรสเท่าเทียมได้ ซึ่งมีคู่รักหลายคู่เตรียมตัวจูงมือกันไปจดทะเบียนสมรส
เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสในการจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม จึงขอนำเสนอคุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม และการจัดเตรียมเอกสาร ดังนี้
• บุคคลทั้งสองจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี บริบูรณ์
• กรณีผู้เยาว์ต้องนำบิดามารดาหรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอม
• กรณีอายุต่ำกว่า 18 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากศาล
• ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ
• ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
• ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
• ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรรมไม่ได้
• หญิงชายผู้เป็นคู่สมรสตายหรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น
• จะสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อสิ้นสุดการสมรสไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
- คลอดบุตรแล้วในขณะนั้น
- ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
- มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
- สมรสกับคู่สมรสเดิม
สำนักทะเบียนอำเภอ สำนักทะเบียนเขต และสถานทูต/กงสุลไทยในต่างประเทศทุกแห่ง
• บัตรประชาชน หรือยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชั่น ThaiD
• หนังสือเดินทางประเทศไทย
• พยาน 2 คน ต้องเป็นบุคคลบรรลุนิติภาวะ
• หนังสือรับรองสถานภาพการสมรสที่แสดงว่าไม่มีคู่สมรสในขณะที่จะจดสมรส
• หนังสือยินยอม (กรณีผู้มีอำนาจปกครองของผู้เยาว์ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ และยังไม่บรรลุนิติภาวะไม่สามารถมายินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ได้)
• สัญญาก่อนสมรส (ถ้ามี) * กรณีเป็นเอกสารภาษาต่างประเทศต้องแปลเป็นภาษาไทย
การจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนที่จด ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน ต้องเสียค่าธรรมเนียน 200 บาท
• คู่สมรสมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน
• คู่สมรสมีสิทธิ์ในการใช้ชื่อสกุลของคู่สมรสอีกฝ่าย
• มีสิทธิ์จัดการทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส หรือที่เรียกว่าสินสมรสร่วมกัน
• มีสิทธิ์รับมรดกของคู่สมรสเมื่ออีกฝ่ายเสียชีวิตไปก่อน
• มีสิทธิ์รับเงินจากทางราชการ หรือนายจ้าง เช่น กรณีที่คู่สมรสตายเพราะปฏิบัติหน้าที่ หรือจากการทำงาน (บำเหน็จตกทอด) หรือ การรับเงินสงเคราะห์บุตรตามกฎหมายแรงงาน
• มีสิทธิ์ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากผู้ที่ทำให้คู่สมรสของตัวเองเสียชีวิตได้
• สามารถเรียกร้องสิทธิ์ของตัวเองได้ตามกฎหมาย เมื่อพบว่าคู่สมรสมีชู้ ก็สามารถเรียกค่าเสียหายได้ทั้งจากคู่สมรสและชู้
• ได้รับการลดหย่อนค่าภาษีเงินได้ตามเงื่อนไขการลดหย่อนภาษี
• คู่สมรสที่ทำความผิดระหว่างกัน เช่น สามีขโมยเงินกรรยา ภรรยาบุกเข้าบ้านสามี ผู้ที่ทำผิดไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย
• การจดทะเบียนสมรสทำให้คู่สมรสฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่ทำร้ายคู่สมรสของตัวเองได้ เช่น หากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งถูกโจรปล้น คู่สมรสอีกฝ่ายก็สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีแทนได้
Advertisement