ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครขอสรุปผลการตรวจวัด PM2.5 ประจำ วันที่ 26 มกราคม 2568 เวลา 05.00-07.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด)
🔴 วันนี้คุณภาพอากาศระดับสีแดง: มีผลกระทบต่อสุขภาพ
▪️ประชาชนทุกคน : งดกิจกรรมกลางแจ้ง หากมีความจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองทุกครั้ง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศ ให้เตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
🟠และคุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
▪️ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก
ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
▪️ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
- ตรวจวัดได้ 45.4-88.5 มคก./ลบ.ม.
- ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 58.5 มคก./ลบ.ม.
- ค่า PM2.5 มีแนวโน้มลดลง เกินมาตรฐาน อยู่ในระดับสีแดง
🔴มีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 7 พื้นที่
และอยู่ในระดับสีส้ม
🟠เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 63 พื้นที่
ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ในช่วง 45.4 - 82.2 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) มีแนวโน้มลดลงพบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีแดง 🔴 มีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐาน 75.1 มคก./ลบ.ม.ขึ้นไป ) จำนวน 4 พื้นที่ คือ
1.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 82.2 มคก./ลบ.ม.
2.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลนคราภิบาล : มีค่าเท่ากับ 81.2 มคก./ลบ.ม.
3.สวนหนองจอก เขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 78.6 มคก./ลบ.ม.
4.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 77.0 มคก./ลบ.ม.
และเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม 🟠 เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 66 พื้นที่ คือ
1.เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม : มีค่าเท่ากับ 71.1 มคก./ลบ.ม.
2.เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 70.1 มคก./ลบ.ม.
3.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 69.0 มคก./ลบ.ม.
4.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 67.3 มคก./ลบ.ม.
5.เขตคันนายาว บริเวณปากทางถนนสวนสยามตัดกับถนนรามอินทรา : มีค่าเท่ากับ 67.0 มคก./ลบ.ม.
6.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 65.6 มคก./ลบ.ม.
7.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 65.5 มคก./ลบ.ม.
8.สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 64.2 มคก./ลบ.ม.
9.เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 64.0 มคก./ลบ.ม.
10.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 63.5 มคก./ลบ.ม.
11.เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 63.3 มคก./ลบ.ม.
12.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 62.6 มคก./ลบ.ม.
13.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 62.0 มคก./ลบ.ม.
14.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 61.9 มคก./ลบ.ม.
15.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 61.4 มคก./ลบ.ม.
16.เขตลาดพร้าว ภายในสำนักงานเขตลาดพร้าว : มีค่าเท่ากับ 59.9 มคก./ลบ.ม.
17.เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 59.9 มคก./ลบ.ม.
18.เขตสะพานสูง ภายในสำนักงานเขตสะพานสูง : มีค่าเท่ากับ 59.7 มคก./ลบ.ม.
19.เขตพญาไท หน้าแฟลตทหารบกใกล้โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ตรงข้ามกระทรวงการคลัง : มีค่าเท่ากับ 59.4 มคก./ลบ.ม.
20.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 59.3 มคก./ลบ.ม.
21.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 58.7 มคก./ลบ.ม.
22.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 58.4 มคก./ลบ.ม.
23.สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 57.6 มคก./ลบ.ม.
24.เขตดอนเมือง ด้านข้างสำนักงานเขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 57.5 มคก./ลบ.ม.
25.สวนกีฬารามอินทรา เขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 56.8 มคก./ลบ.ม.
26.สวนพระนคร เขตลาดกระบัง : มีค่าเท่ากับ 56.8 มคก./ลบ.ม.
27.สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง : มีค่าเท่ากับ 56.6 มคก./ลบ.ม.
28.เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 56.6 มคก./ลบ.ม.
29.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 56.3 มคก./ลบ.ม.
30.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 55.6 มคก./ลบ.ม.
31.เขตราษฎร์บูรณะ ภายในสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ : มีค่าเท่ากับ 55.4 มคก./ลบ.ม.
32.สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เขตบางคอแหลม : มีค่าเท่ากับ 54.6 มคก./ลบ.ม.
33.เขตสวนหลวง ด้านหน้าสำนักงานเขตสวนหลวง : มีค่าเท่ากับ 54.6 มคก./ลบ.ม.
34.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 54.2 มคก./ลบ.ม.
35.เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร : มีค่าเท่ากับ 54.1 มคก./ลบ.ม.
36.เขตพระโขนง ภายในสำนักงานเขตพระโขนง : มีค่าเท่ากับ 53.7 มคก./ลบ.ม.
37.เขตดุสิต ริมสวนหย่อมตรงข้ามสำนักงานเขตดุสิต : มีค่าเท่ากับ 53.0 มคก./ลบ.ม.
38.เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 52.7 มคก./ลบ.ม.
39.เขตวัฒนา ตรงข้าม noble Reveal(ข้าง MK gold restaurants) : มีค่าเท่ากับ 52.7 มคก./ลบ.ม.
40.เขตจอมทอง ภายในสำนักงานเขตจอมทอง : มีค่าเท่ากับ 52.6 มคก./ลบ.ม.
41.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 52.3 มคก./ลบ.ม.
42.เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 52.2 มคก./ลบ.ม.
43.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 51.8 มคก./ลบ.ม.
44.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 51.1 มคก./ลบ.ม.
45.เขตบางกะปิ ข้าง ป้อมตำรวจตรงข้ามสำนักงาน เขตบางกะปิ : มีค่าเท่ากับ 50.9 มคก./ลบ.ม.
46.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : มีค่าเท่ากับ 50.6 มคก./ลบ.ม.
47.เขตทุ่งครุ หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี : มีค่าเท่ากับ 50.6 มคก./ลบ.ม.
48.สวนเบญจกิติ เขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 50.5 มคก./ลบ.ม.
49.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 50.2 มคก./ลบ.ม.
50.เขตดินแดง ริมถนนวิภาวดีรังสิต : มีค่าเท่ากับ 50.0 มคก./ลบ.ม.
51.สวนจตุจักร เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 49.3 มคก./ลบ.ม.
52.สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 49.3 มคก./ลบ.ม.
53.เขตห้วยขวาง ภายในสำนักงานเขตห้วยขวาง (ด้านข้างโรงเพาะชำ) ถนนประชาอุทิศ : มีค่าเท่ากับ 49.2 มคก./ลบ.ม.
54.สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 49.2 มคก./ลบ.ม.
55.สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 49.1 มคก./ลบ.ม.
56.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ : มีค่าเท่ากับ 48.8 มคก./ลบ.ม.
57.เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 48.6 มคก./ลบ.ม.
58.เขตบางคอแหลม บริเวณป้อมตำรวจสี่แยกถนนตก : มีค่าเท่ากับ 48.5 มคก./ลบ.ม.
59.สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 47.8 มคก./ลบ.ม.
60.สวนวชิรเบญจทัศ เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 47.8 มคก./ลบ.ม.
61.อุทยานเบญจสิริ เขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 47.7 มคก./ลบ.ม.
62.สวนหลวง ร.9 เขตประเวศ : มีค่าเท่ากับ 47.6 มคก./ลบ.ม.
63.สวนสันติภาพ เขตราชเทวี : มีค่าเท่ากับ 46.6 มคก./ลบ.ม.
64.สวนลุมพินี เขตปทุมวัน : มีค่าเท่ากับ 46.3 มคก./ลบ.ม.
65.เขตบางแค ภายในสำนักงานเขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 46.0 มคก./ลบ.ม.
66.เขตราชเทวี ภายในสำนักงานเขตราชเทวี : มีค่าเท่ากับ 45.4 มคก./ลบ.ม
ขณะที่ นายเอกวรัญญู อัมระปาล โฆษกของกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงกรณีมีข้อวิจารณ์ถึงกรุงเทพมหานครว่าไม่ใช้ประกาศกำหนดพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญในช่วงวิกฤตฝุ่น PM2.5 สูงเกินค่ามาตรฐาน ว่า ข้อเท็จจริงกรณีนี้นั้น กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานเขตต่าง ๆ ได้เคยมีการออกประกาศ เรื่อง กำหนดพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ และมีการใช้บังคับแล้วในปี 2566 ซึ่งเมื่อสถานการณ์ภายในเขตพื้นที่นั้น ๆ ได้มีการระงับจนไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนแล้ว สำนักงานเขตได้ออกประกาศเพื่อยกเลิกประกาศกำหนดพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญดังกล่าว
ส่วนในปี 2567 - 2568 หลายสำนักงานเขตได้ออกประกาศเพื่อขอความร่วมมือในการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาในพื้นที่เขต โดยมีสำนักงานเขตหนองจอก สำนักงานเขตทวีวัฒนา และสำนักงานเขตบางกอกใหญ่ออกประกาศกำหนดพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ พร้อมลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ
สำหรับการออกประกาศพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญนั้น กรุงเทพมหานคร โดยสำนักอนามัยได้มีการจัดทำแนวทางการประกาศพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ เพื่อควบคุมและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สำหรับเป็นแนวทางให้กับสำนักงานเขตพิจารณาใช้มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมและป้องกันปัญหาจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในพื้นที่เขต โดยให้ปรับใช้ตามสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มอบอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขในการออกประกาศพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญให้ผู้อำนวยการเขต ตามคำสั่งกรุงเทพมหานครที่ 1996/2562 เรื่อง มอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ข้อ 2 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2562 โดยในการประกาศพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 28/1 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 ให้สำนักงานเขตพิจารณาดำเนินการตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประกาศพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ พ.ศ. 2561
ทั้งนี้ สำนักอนามัยได้แจ้งเวียนแนวทางดังกล่าวให้สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต พิจารณาดำเนินการ โดยสำนักงานเขตต้องพิจารณาออกประกาศพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ เมื่อในพื้นที่มีค่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 มากกว่า 75 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรขึ้นไป ต่อเนื่องติดต่อกัน 3 วัน และต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 3 องค์ประกอบ ดังนี้
1. มีเหตุรำคาญจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เกิดขึ้นในพื้นที่นั้น สำนักงานเขตต้องพิจารณาและคำนึงถึงกิจการหรือการกระทำใด ๆ ที่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญอย่างชัดแจ้ง ประชาชนได้รับรู้และเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นเหตุรำคาญ มีกฎหมายกำหนดห้ามกระทำการ และกำหนดเป็นความผิดอย่างชัดแจ้ง และมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในวงกว้าง
2. มีแหล่งกำเนิดเหตุรำคาญที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 มากกว่า 1 แหล่งขึ้นไป
3. ผลกระทบต่อสุขภาพหรือสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมของประชาชนจำนวนมากและครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง โดยต้องปรากฏลักษณะบ่งชี้อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ (1) มีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของประชาชนที่คาดว่าเป็นผลมาจากเหตุรำคาญที่เกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 (2) มีผลการตรวจวัดค่าจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน โดยพิจารณาจากค่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 มีค่ามากกว่า 75 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรขึ้นไป สถานการณ์ฝุ่นละอองยังไม่ลดลงและเมื่อคาดการณ์แล้วมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องติดต่อกัน 3 วัน ทั้งนี้ วิธีการตรวจวัดและค่ามาตรฐานให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยในการพิจารณาเพื่อเตรียมการเฝ้าระวังและประกาศให้เป็นพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ ให้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปี 2568 ภายใต้แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” (3) มีผลการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพที่บ่งชี้ผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน หรือปรากฏโรค หรือความเจ็บป่วยของประชาชนที่คาดว่าเป็นผลมาจากเหตุรำคาญจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคผิวหนัง และโรคตา โดยใช้วิธีทางการระบาดวิทยาหรือวิธีการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพตามความเหมาะสม
ด้านขั้นตอนในการประกาศพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ กรุงเทพมหานครได้กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น (ผู้อำนวยการเขต) ดำเนินการ ดังนี้
1. ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแหล่งกำเนิดเหตุรำคาญ สภาพพื้นที่ที่เกิดเหตุ ขอบเขตบริเวณพื้นที่เกิดเหตุรำคาญและผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนหรือชุมชน
2. วิเคราะห์ สรุปผล และประเมินสถานการณ์ปัญหาเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่เห็นควรควบคุม
3. พิจารณาข้อมูลเบื้องต้นว่าสมควรประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญหรือไม่ โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ต้องพิจารณาองค์ประกอบและลักษณะบ่งชี้ครบ 3 องค์ประกอบข้างต้น
4. กรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาเห็นว่าเป็นเหตุรำคาญ ให้ประกาศพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ และในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาเห็นว่ายังไม่สมควรประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญให้ดำเนินการระงับเหตุรำคาญตามมาตรา 27 หรือ 28 แล้วแต่กรณี
5. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการป้องกันระงับเหตุรำคาญในพื้นที่ที่ประกาศควบคุมเหตุรำคาญ โดยอย่างน้อยต้องประกอบด้วยขอบเขตพื้นที่ที่เห็นควรควบคุม ประเภทสถานประกอบกิจการ หรือการกระทำใด ๆ ที่ต้องควบคุม และมาตรการป้องกันหรือระงับเหตุรำคาญ ทั้งนี้ อาจให้สถานประกอบกิจการหรือผู้ก่อเหตุรำคาญรายงานผลการดำเนินงานตามประกาศพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญได้
6. ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ทำการของราชการส่วนท้องถิ่นและบริเวณที่จะกำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญและแจ้งให้สถานประกอบกิจการหรือผู้ก่อเหตุรำคาญหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญในพื้นที่ประกาศควบคุมเหตุรำคาญรับทราบและถือปฏิบัติ
7. ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการติดตาม กำกับ การดำเนินการของสถานประกอบกิจการหรือผู้ก่อเหตุรำคาญให้เป็นไปตามประกาศพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ
8. กรณีที่เหตุรำคาญในพื้นที่ตามประกาศได้ระงับจนไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศยกเลิกพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญนั้นโดยไม่ชักช้า
ทั้งนี้ การออกประกาศพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ เป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ. 2539 โดยเป็นคำสั่งทางปกครองตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการประกาศพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ พ.ศ. 2561 และประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนดค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศทั่วไป ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2565
อย่างไรก็ตาม นอกจากการใช้ยาแรง โดยการประกาศกำหนดพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญในช่วงวิกฤตฝุ่น PM2.5 สูงเกินค่ามาตรฐาน ซึ่งจะต้องมีการประกาศเพื่อยกเลิกเมื่อสถานการณ์ดีขึ้นแล้ว กรุงเทพมหานครยังดำเนินการต่อเนื่องในเรื่องเกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 โดยได้มีการฉีดล้างและดูดฝุ่นถนน ฉีดล้างใบไม้ในพื้นที่เขตและในสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานครทุกวัน เข้มงวด ตรวจตรา ควบคุมไม่ให้มีการเผาขยะหรือการเผาในที่โล่งทุกประเภท
Advertisement