ราคาทองคำโลกล่าสุดพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ จากความกังวลของนักลงทุนโลกต่อนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ และส่งผลต่อราคาทองคำของประเทศไทยให้พุ่งสูงทำสถิติใหม่แบบรายวัน
โลกใบนี้ใช้ทองคำเป็นเครื่องบ่งชี้สถานะทางเศรษฐกิจ และสังคมมาเป็นเวลานาน แต่เราลองมาดูกันว่า แต่ละประเทศนับหน่วยน้ำหนักการขายเป็นอย่างไร
โดยหน่วยน้ำหนักสากลที่นับกันจะขายเป็นกรัม ส่วนในตลาดทองคำโลกที่ซื้อขายเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ จะนับหน่วยเป็น "ออนซ์" (1 ออนซ์ หนัก 31.1034768 กรัม)
ส่วนของไทยเวลาขายจะใช้ใช้หน่วยน้ำหนักเป็นบาท หรือ 15.2 กรัม ซึ่งบาทก็มาจากหน่วยเงินของไทย หนึ่งบาทก็จะมี 4 สลึง ส่วนหน่วยต่ำกว่าสลึงก็คือ "เฟื้อง" ที่น้ำหนักจะอยู่ที่ "ครึ่งสลึง" ถ้าต่ำกว่านั้นก็จะเรียกเป็น "หุน" 10 หุน เท่ากับ 1 สลึง นั่นเอง
ประเทศจีน จะใช้หน่วยซื้อเป็น "ตำลึง" หนึ่งตำลึงเท่ากับ 1 "ออนซ์" และหน่วย "ตำลึง" ใช้ในประเทศทีใช้ภาษาจีนเช่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง
ประเทศตะวันออกกลาง รวมถึงสิงคโปร์ จะใช้หน่วยที่เรียกว่า "โทลาร์" ซึ่ง 1 โทลาร์ เท่ากับ 11.6638 กรัม
ที่เวียดนามใช้หน่วย "ชิ" 1 ชิ เท่ากับ 3.75 กรัม
เกาหลีใช้หน่วย "ดอน" 1 ดอน เท่ากับ 3.75 กรัม
นอกจากน้ำหนัก ก็ต้องมาดู "เปอร์เซ็นต์ทองคำ" หรือ "ความบริสุทธิ์ทองคำ" ในประเทศไทยจะนิยม ทองคำบริสุทธิ์ 96.5% และทองคำบริสุทธิ์ 99.99% ซึ่งทองทั้งสองแบบจะแตกต่างกันเรื่องน้ำหนักและราคา รวมไปถึงความนิยม
ทองคำบริสุทธิ์ 96.5% นิยมที่สุดในไทย เพราะมีความแข็งแรงพอที่จะทำเป็นเครื่องประดับต่าง ๆ ได้ โดยทอง 96.5% เรียกว่า 23.16 กะรัต
ส่วนทอง 99.99% เท่ากับ 24 กะรัต หรือที่เราเรียกว่าทอง 24K
"กะรัต" หรือที่เรียกว่า K เราจะกำหนดความบริสุทธิ์ โดย 1 กะรัต จะเท่ากับ 1/24 ของน้ำหนักทอง
สำหรับทองเคแบ่งคร่าว ๆ ได้ดังนี้
- 9K หรือ ทอง 37.5% ใช้ในงานแหวนราคาไม่สูงนัก
- 10K หรือทอง 41.6% สหรัฐฯ ใช้ทองแบบนี้
- 14K หรือทอง 58.3% ใช้ในเอเชียและอเมริกา
- 18K หรือทอง 75% ใช้ทำจิลเวลรี่ เพราะมีความแข็งแรง และเป็นมาตรฐานทองขั้นต่ำสำหรับขายในอิตาลี
- 20K หรือทอง 90% ใช้ในงานจิลเวลรี่เช่นกัน แต่นิยมน้อยกว่า 18K เพราะไม่แข็งแรงเท่า เนื่องจากเปอร์เซนต์ทองสูงกว่า
- 22K หรือทอง 95% มีความอ่อนมาก ไม่นิยมใช้ทำจิลเวลรี่
- 23.16K หรือทอง 96.5% นิยมในประเทศไทย
- 24K หรือทอง 99.99% ใช้ในทองคำแท่งลงทุนทั่วโลก
Advertisement