Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ทำไมตั๋วเครื่องบินแพง แต่บางวันถูก ไขคำตอบกลไกตั้งราคา

ทำไมตั๋วเครื่องบินแพง แต่บางวันถูก ไขคำตอบกลไกตั้งราคา

10 เม.ย. 68
16:34 น.
แชร์

เฉลยข้อข้องใจ เหตุใด ตั๋วเครื่องบินแพง แต่บางวันถูก เผยกลไกการตั้งราคาเพื่อความคุ้มทุน ?

หลายคนอาจเคยสงสัยว่าทำไมการเดินทางด้วยเครื่องบินแต่ละครั้ง ผู้โดยสารถึงต้องลุ้นว่าราคาตั๋วจะถูกหรือแพง บางคนก็เลือกซื้อล่วงหน้าไว้เป็นสัปดาห์ บ้างก็กดซื้อข้ามเดือน เพื่อที่จะได้ราคาถูก (ใครๆ ก็ชอบจ่ายน้อยกันทั้งนั้นแหละ) แต่ที่แน่ ๆ ถ้ายิ่งซื้อใกล้วันเดินทาง หรือวันเดียวกับวันเดินทางราคาพุ่งแพงหูฉี่

สายการบินกำหนดราคาตั๋วอย่างไร ?

ด้วยธุรกิจสายการบิน ต้องแบกรับต้นทุนที่สูง ไหนจะรายจ่ายประจำ อย่างค่าเสื่อมสภาพเครื่องบิน ค่าจ้างพนักงานส่วนต่าง ๆ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และส่วนงานอื่น ๆ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตั้งราคาตั๋วให้มีราคาสูงตามไปด้วย

แต่ด้วยธรรมชาติของธุรกิจสายการบินนั้น จะต้องแบกรับต้นทุนอันมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นค่าเสื่อม, ค่าพนักงาน, ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง รวมไปถึงค่าดำเนินการต่าง ๆ

ดังนั้นราคาตั๋วเครื่องบินจึงจำเป็นต้องตั้งให้สูงขึ้นตามไปด้วย หากกำหนดให้ราคาตั๋วเท่ากันหมดทุกที่นั่ง (Fixed Rate) ก็อาจกลายเป็นความเสี่ยงมากจนเกินไป เครื่องบินของสายการบิน ก. มี 100 ที่นั่ง ซึ่งต้องทำรายได้ต่อเที่ยว 1,000,000 บาทขึ้นไป เพื่อให้คุ้มกับต้นทุน

ปรากฏว่าเมื่อออกเดินทาง เที่ยวบินนี้มีผู้โดยสารเฉลี่ย 70% ของที่นั่ง เท่ากับว่าต้องขายตั๋วราคาใบละ 14,000 บาท ต่อที่นั่ง ส่งผลให้สายการบิน ก. ต้องไปจับกลุ่มลูกค้าที่มีฐานะรายได้ปานกลาง-สูง เท่านั้น

นอกจากนี้ ยังทำให้ลูกค้าไม่ได้รู้สึกว่า จะต้องรีบร้อนซื้อตั๋วขนาดนั้น เพราะไม่ว่าจะควักเงินกดซื้อตอนไหน ก็จ่ายเท่ากันอยู่ดี

ดังนั้น เพื่อสลายความกังวลความเสี่ยงที่จะ "ขาดทุน" และทำให้ตั๋วกระจายถึงกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายขึ้น หลายสายการบินจึงนิยมใช้วิธี "Fare Class"หรือการเฉลี่ยราคามาช่วยในการกำหนดราคาค่าตั๋ว ซึ่งมีตั้งแต่ราคาถูกไปจนถึงแพง

ส่วนใหญ่แล้วหลายสายการบินจะนิยมแบ่ง "Fare Class" ตามตัวอักษรภาษาอังกฤษไล่ไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่ราคาถูกไปจนถึงราคาแพง เช่น

Fare Class A ราคา 6,000 บาท

Fare Class B ราคา 10,000 บาท

Fare Class F ราคา 30,000 บาท

สมมติว่า ถ้าสายการบิน ก. อยากได้รายได้ต่อเที่ยวที่ 1,000,000 บาท จาก 100 ที่นั่ง แทนที่จะขายตั๋วใบละ 10,000 บาท จำนวน 100 ใบ อย่างเดียว ก็จะกระจายราคาตั๋ว ดังนี้

Fare Class A 6,000 บาท ที่จำนวน 50 ใบ

Fare Class B 10,000 บาท ที่จำนวน 40 ใบ

Fare Class F 30,000 บาท ที่จำนวน 10 ใบ

ซึ่งรวมแล้วก็จะเท่ากับ 1,000,000 บาท เหมือนกันนั่นเอง นี่จึงเป้การตอบข้อสงสัยที่ว่า ทำไมกดซื้อตั๋วล่วงหน้าก่อนวันเดินทางเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะได้ตั๋วในราคาที่ถูกลงมากขึ้นเช่นกัน เป็นเพราะว่าสายการบิน จะเลือกทำการตลาดด้วยการขายตั๋วที่มี Fare Class ต่ำ ๆ ให้หมดก่อน จึงขยับมาขายตั๋วที่มี Fare Class สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามลำดับ นั่นเอง เพื่อให้เที่ยวบินนั้น ๆ มีจำนวนผู้โดยสารมากที่สุดไว้ก่อน

อย่างน้อย ๆ ด้วยจำนวนผู้โดยสารที่มีมาก ก็จะทำให้สายการบินมีโอกาสขายอาหาร สินค้า บริการอื่น ๆ บนเครื่องบินได้มากขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

นอกจาก "Fare Class" แล้ว มีเรื่องของกลไกความต้องการ หรือ Demand-Supply ที่มาเป้นตัวกำหนดราคาตั๋วเครื่องบินว่าจะถูกหรือจะแพงได้อีกเหมือนกัน

เช่น ช่วงสุดหยุดสุดสัปดาห์ หรือวันหยุดยาวเทศกาล หลายสายการบินมักจะตั้งราคาตั๋วให้สูงกว่าปกติ เพื่อเป็นการเฉลี่ยรายได้กับช่วงเวลาอื่น ๆ ของปี ที่มีผู้โดยสารน้อย

มาถึงตรงนี้แล้ว ใช่ว่าสายการบินจะกำหนดราคาเองได้ทั้งหมด เพราะยังถูกหน่วยงานหนึ่งของรัฐควบคุมอยู่ นั่นก็คือ "สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย" หรือ CAAT ที่มีการกำหนดตั้งเพดานค่าโดยสารเอาไว้ เช่น สายการบิน Low-Cost จะห้ามคิดค่าตั๋วเกิน 9.4 บาทต่อกิโลเมตร ส่วนสายการบิน Full-Service ไม่เกิน 13 บาทต่อกิโลเมตร

ตัวอย่างเช่น สำหรับเส้นทางกรุงเทพฯ (ดอนเมือง) ไปเชียงใหม่ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 567 กิโลเมตร เพดานราคาค่าโดยสาร ายการบิน Low-Cost สูงสุดประมาณ 5,320 บาท ส่วน สายการบิน Full-Service สูงสุดประมาณ 7,371 บาท

อย่างไรก็ตาม ราคาตั๋วที่ผู้โดยสารจ่ายจริงอาจต่ำกว่าราคาสูงสุดนี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความต้องการเดินทาง ช่วงเวลา โปรโมชั่น และนโยบายการตั้งราคาของแต่ละสายการบิน ซึ่งถึงแม้จะคิดแพงอย่างไรก็ไม่เลยเพดานที่กรมการบินพลเรือนกำหนดไว้

ขอบคุณข้อมูล : marketthink

Advertisement

แชร์
ทำไมตั๋วเครื่องบินแพง แต่บางวันถูก ไขคำตอบกลไกตั้งราคา