Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ย้อนรอยคดีแกงกะหรี่วาคายามะใช้ เครื่องซินโครตรอน จับคนร้ายในญี่ปุ่น

ย้อนรอยคดีแกงกะหรี่วาคายามะใช้ เครื่องซินโครตรอน จับคนร้ายในญี่ปุ่น

8 มิ.ย. 64
21:05 น.
|
3.4K
แชร์

กรณี เครื่องซินโครตรอน ที่ใช้วิเคราะห์เส้นผมจนนำมาสู่การออกหมายจับ ลุงพล หรือ นายไชย์พล วิภา กับข้อหาการมีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีฆาตกรรมน้องชมพู่นั้น สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ได้ให้ข้อมูลในหัวข้อ แสงซินโครตรอนกับการไขคดีทางนิติวิทยาศาสตร์ ว่า

แม่น้องชมพู่ มั่นใจหลักฐานเครื่องซินโครตรอน เผยทนายบุญถาวรมาเยี่ยม แต่ไม่ใช่คนช่วยคดี 

ปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีมากมาย และการที่จะสืบหาผู้กระทำผิดที่แท้จริงมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมนั้นเป็น เรื่องที่สำคัญยิ่ง โดยเฉพาะจะต้องมีการรวบรวมพยานหลักฐานมายืนยันให้สามารถพิสูจน์ความผิดได้ อย่างชัดเจน ดังนั้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ ประเทศญี่ปุ่น ยุโรปและสหรัฐอเมริกา จึงมีการนำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาใช้ในการตรวจพิสูจน์หลักฐานต่างๆ ให้ได้ผลที่ถูกต้องแท้จริงตามหลักวิทยาศาสตร์

แสงซินโครตรอน ชี้ชัด สารหนูในหม้อแกงกะหรี่ หลักฐานมัดตัวแม่บ้านหวังฆาตกรรมหมู่ (ประเทศญี่ปุ่น) เมื่อปี พ.ศ.2541 เกิดเหตุสะเทือนขวัญที่จังหวัดวาคายามะ ทางตะวันตกของประเทศญี่ปุ่น นางมาซูมิ ฮายาชิ แม่บ้านวัย 47 ปี โกรธแค้นที่เพื่อนบ้านรังเกียจ จึงลอบใส่สารพิษลงไปในแกงกะหรี่และนำไปแจกจ่ายงานเทศกาลอาหารพื้นเมือง ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย และล้มป่วยกว่า 60 ราย ภายหลังเหตุการณ์นี้นางฮายาชิถูกจับกุมตัวแต่ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา จากบันทึกการสอบสวนของตำรวจ ไม่พบลายนิ้วมือของผู้ต้องหา อีกทั้งพยานก็ไม่ชัดเจน มีแต่ภาชนะที่ใช้ในการทำอาหาร

แต่จากการตรวจหลักฐานด้วยวิธีการทั่วไปในห้องปฏิบัติการ กลับไม่พบสาร Arsenic หรือจุดเชื่อมโยงใดๆ เนื่องจากสามีของนางฮายาชิมีอาชีพเป็นช่างกำจักปลวก นางฮายาชิได้ช่วยเหลือสามีในการล้างทำความสะอาดแปรงและอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้เธอรู้วิธีกี่ล้างสาร Arsenic ออกจากอุปกรณ์ และเธอใช้วิธีนี้ในการล้างภาชนะที่เธอใช้ทำอาหารด้วยเช่นกัน

จนกระทั่งมีนักวิทยาศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านแสงซินโครตรอนและโลหะ ที่ทราบว่าสาร Arsenic เมื่อสัมผัสกับโลหะจะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในระดับโมเลกุล ซึ่งทำให้ไม่สามารถตรวจหาโดยวีธีทั่วไปได้ นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้จีงได้ติดต่อขอวัตถุพยานต่างๆ นำไปวิเคราะห์ด้วยแสงซินโครตรอน และพบว่าอุปกรณ์การทำอาหารทุกอย่างของนางฮายาชิต่างปนเปื้อนสาร Arsenic ทั้งสิ้น ผลคือนางฮายาชิ ถูกตัดสินประหารชีวิต

สำหรับคดีนี้ เบื้องต้น นางมาซูมิ ผู้ต้องหาปฏิเสธข้อกล่าวหาวางยาในแกงกะหรี่ แม้ว่าสารพิษที่พบในแกงกะหรี่จะเป็นตัวเดียวกับที่พบใน ยากำจัดปลวก ของสามีนางมาซูมิ ที่เคยทำงานบริษัทกำจัดปลวกมากก่อน แต่ยอมรับความผิดในข้อหาฉ้อโกงเงินเพื่อนบ้าน ก่อนที่เธอจะถูกมัดตัวจากหลักฐานการพบสารพิษในหม้อแกงกะหรี่ที่เธอพยายามทำความสะอาดด้วยการล้างออกหลังก่อเหตุ จากการใช้เครื่องซินโครตรอนของเจ้าหน้า

เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2552 ศาลฎีกาของญี่ปุ่นในกรุงโตเกียว พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ให้ประหารชีวิตนางมาซูมิ ฮายาชิ คุณแม่ลูก 4 วัย 47 ปี ในข้อหาลอบวางยาพิษ ประเภทสารหนู ลงในแกงกะหรี่ ให้ผู้คนกิน ระหว่างเทศกาลของชุมชนท้องถิ่น ใน จังหวัดวากายามา ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 450 กิโลเมตรเมื่อปี 2541 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน รวมทั้งเด็ก 2 คน และมีผู้ป่วยถึง 63 คน

ทั้งนี้ คดีดังกล่าวสร้างความตกตะลึงให้สังคมญี่ปุ่น และก่อให้เกิดคดีเลียนแบบ ตามมาอีกหลายครั้ง ซึ่งก่อนหน้านี้ ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ตัดสินเมื่อปี 2545 และ 2548 ตามลำดับว่า นางมาซูมิ มีความผิดจริง และให้ลงโทษประหารชีวิต แม้ในการพิจารณาคดีช่วงแรกๆ อัยการไม่สามารถนำเสนอหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่า เธอมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต ของเหยื่อสารหนู และอัยการต้องใช้หลักฐาน จากกรณีแวดล้อมแทน

พรทิพย์และหมอการันตี "ซินโครตรอน" ช่วยคดีชมพู่ได้จริง - ลุงพลไม่โต้รอแจงชั้นศาล (คลิป) 

ผ่ากลไก "ซินโครตรอน" ใช้ครั้งแรกพิสูจน์คดีชมพู่ ปรเมศวร์แนะตั้มวู่วามอาจพลาดได้ (คลิป) 

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก https://www.slri.or.th/th/2016-08-04-07-04-55.html

Advertisement

แชร์
ย้อนรอยคดีแกงกะหรี่วาคายามะใช้ เครื่องซินโครตรอน จับคนร้ายในญี่ปุ่น