นักวิจัยจีนยอมรับ วัคซีนเชื้อตาย ที่ผลิตในจีนป้องกัน โควิดเดลตา ได้น้อยกว่าสายพันธุ์อื่น แต่ยังป้องกันการป่วยหนัก
วันนี้(25 มิ.ย.64) สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงาน นายแพทย์เฝิง จื่อเจี้ยน นักวิจัยและอดีตรองผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคของจีน ให้สัมภาษณ์กับสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งจีน หรือซีซีทีวี เมื่อช่วงค่ำวานนี้(24 มิ.ย.) ตามเวลาท้องถิ่น ว่า วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สองตัวของจีน ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา หรือ สายพันธ์อินเดีย ได้น้อยกว่าสายพันธุ์อื่นๆ แต่ก็ยังคงมีประสิทธิภาพป้องกันอยู่
จีนเผยอัตราผลข้างเคียง วัคซีนโควิด ต่ำอยู่ที่ 11.86 จาก 1 แสนโดส
อย่างไรก็ดี นายแพทย์เฝิง ไม่ได้ให้รายละเอียดใดเพิ่มเติมและไม่ได้เอ่ยชื่อวัคซีนเชื้อตาย 2 ตัวของจีนที่เขาอ้างอิง
ล่าสุดจีนพบผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์เดลตา จำนวน 170 ราย ใน 3 เมืองทางตอนใต้ของมณฑลกวางตุ้ง ในระหว่างวันที่ 21 พ.ค.-21 มิ.ย.64 โดยร้อยละ 85 ของผู้ป่วยอยู่ในนครกวางโจว เมืองเอกของมณฑลกวางตุ้ง
ทั้งนี้ นายแพทย์เฝิง ยืนยันว่า ในการระบาดที่กวางตุ้ง ยังไม่พบผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิดมีอาการป่วยรุนแรง ในขณะที่ผู้ป่วยอาการหนักทุกราย ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน
จีนได้พัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ขึ้นมาทั้งหมด 7 ตัวด้วยกัน ในจำนวนนี้มีวัคซีน 5 ตัวที่เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย และได้ถูกนำมาใช้ในประเทศ ซึ่งรวมถึงวัคซีนของซิโนแวค ไบโอเทค และซิโนฟาร์มที่ได้รับการนำไปใช้ในประเทศอื่นๆ ทั่วโลกด้วย เช่น บราซิล บาห์เรน และชิลี
คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจีนรายงานวันนี้(25 มิ.ย.64) พบผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ 24 คน เพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้า 16 คน และไม่พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม ทำให้มียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสมกว่า 91,600 คน และผู้เสียชีวิตกว่า 4,600 คน
โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา แนะผู้ป่วยมะเร็ง รับวัคซีนโควิด-19 เชื้อตาย
Advertisement