การต่อภาษีรถยนต์สำคัญอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไร พร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ. และภาษีรถยนต์ เพื่อการต่อภาษีที่ถูกต้องและครบถ้วน
สำหรับผู้ที่มีรถยนต์ การต่อภาษีถือเป็นหน้าที่ที่ต้องทำเป็นประจำทุกปี การต่อภาษีรถยนต์ มีความสำคัญทั้งเรื่องของกฎหมายและความปลอดภัยต่อผู้ใช้รถเอง
การต่อภาษีรถยนต์ และ พ.ร.บ.จะช่วยให้ความคุ้มครองเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และยังเป็นรายได้แก่รัฐเพื่อนำไปพัฒนาประเทศ บทความนี้เรามาดูกันว่า ภาษีรถยนต์กับ พ.ร.บ. รถยนต์ต่างกันอย่างไร รวมถึงแนะนำขั้นตอนการต่อภาษีให้ทุกคนได้ทราบกัน
พ.ร.บ. รถยนต์ (พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ) เป็นประกันภัยภาคบังคับที่เจ้าของรถทุกคนต้องทำโดยมีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองผู้ประสบภัยทางรถยนต์ที่เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วจะมีความคุ้มครองทั้งเรื่องค่ารักษาพยาบาล , ค่าชดเชยในกรณีทุพพลภาพ ทั้งต่อผู้ขับขี่ ผู้โดยสารและคู่กรณี การทำ พ.ร.บ. เป็นข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติตามและต้องมีการต่ออายุทุกปี
ส่วนภาษีรถยนต์นั้นคือภาษีประจำปีที่รัฐเรียกเก็บจากเจ้าของรถทุกคันที่นำมาขับขี่บนท้องถนน ซึ่งจะเป็นรายได้ของภาครัฐที่นำไปใช้ในการพัฒนาสาธารณูปโภคด้านการจราจร เช่น ถนน , สะพาน และการติดตั้งระบบสัญญาณจราจรต่าง ๆ
การทำ พ.ร.บ. และ ต่อภาษีรถยนต์ เป็นหน้าที่ของเจ้าของรถทุกคนที่พึงรับผิดชอบ ซึ่งอัตราการเก็บภาษีมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของรถ อายุรถ และขนาดของเครื่องยนต์
เตรียมเอกสารที่จำเป็น
การต่อภาษีรถยนต์ให้รวดเร็วควรเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนซึ่งรวมถึงเล่มทะเบียนรถที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับรถพ.ร.บ. ที่ยังไม่หมดอายุ จะช่วยให้การต่อภาษีเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในการต่อภาษีรถยนต์มีดังนี้
1. สมุดคู่มือจดทะเบียนรถสมุดทะเบียนรถหรือเล่มทะเบียนคือเอกสารหลักที่แสดงรายละเอียดของรถ เช่น เลขทะเบียน , ชื่อผู้ครอบครอง , ประเภทของรถ , เลขตัวถัง , ข้อมูลการต่อภาษีครั้งล่าสุด
2. พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ การต่อภาษีรถยนต์จำเป็นต้องมี พ.ร.บ. ที่ยังไม่หมดอายุ หาก พ.ร.บ. หมดอายุก่อนการต่อภาษี คุณจะต้องทำการต่อ พ.ร.บ. ก่อนเป็นลำดับแรก
3.ใบรับรองการตรวจสภาพรถ สำหรับรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 7 ปี จะต้องผ่านการตรวจสภาพรถเพื่อประเมินว่ารถยังมีสภาพพร้อมใช้งานและปลอดภัยต่อการขับขี่ สามารถขอได้จากสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก เมื่อได้ใบรับรองนี้แล้วจึงสามารถนำมาต่อภาษีรถได้
ช่องทางการต่อภาษี
การ ต่อภาษีรถยนต์ ทำได้ทั้งการไปติดต่อที่สำนักงานขนส่ง หรือใช้บริการสถานตรวจสภาพรถยนต์ให้ดำเนินการแทนได้ ซึ่งช่องทางนี้ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาไปดำเนินการด้วยตนเองที่สำนักงานขนส่ง โดยจะมีค่าบริการจากผู้ให้บริการในอัตราที่แตกต่างกันไป
ในกรณีไปต่อภาษีด้วยตนเองที่สำนักงานขนส่ง เมื่อชำระเงินแล้วสามารถรอรับใบเสร็จรับเงินและป้ายภาษีที่จะติดหน้ารถได้ทันที จากนั้นให้นำป้ายภาษีหรือป้ายวงกลมนี้ติดที่กระจกด้านหน้ารถ เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่ารถได้ต่อภาษี ณ ปีนั้น ๆ แล้ว
ตรวจสภาพรถยนต์
ในกรณีที่รถยนต์มีอายุการใช้งานเกินกว่า 7 ปี จะต้องนำรถไปตรวจสภาพก่อนการนำมา ต่อภาษีรถยนต์ ซึ่งการตรวจสภาพรถนั้นนอกจากจะเป็นเงื่อนไขในการต่อภาษีแล้ว ยังเป็นการตรวจเช็ครถเบื้องต้นว่ารถยนต์อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ต่อการใช้งานได้อย่างปลอดภัยบนท้องถนน แต่ถ้ารถยนต์นั้นมีอายุการใช้งานไม่เกิน 7 ปี ไม่ต้องนำไปตรวจสภาพ
ต่อ พ.ร.บ. ก่อนต่อภาษี
ก่อนที่จะต่อภาษีรถยนต์ จำเป็นต้องต่อ พ.ร.บ. ให้เรียบร้อยก่อน เนื่องจากเป็นเอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขอชำระภาษี เทคนิคง่าย ๆ เพื่อไม่ให้ลืมต่อ พ.ร.บ. ก็คือการต่อ พ.ร.บ.ให้หมดอายุวันเดียวกับภาษีรถยนต์ จะได้ทำไปพร้อม ๆ กันในคราวเดียว เพราะที่ขนส่งจะมีบริการของบริษัทที่รับทำ พ.ร.บ. ไว้คอยบริการอยู่ด้วย
เตรียมค่าใช้จ่ายเบื้องต้น
ค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามประเภทของรถ อายุการใช้งาน รวมถึงค่าตรวจสภาพ การคำนวณค่าใช้จ่ายเบื้องต้นจะช่วยให้สามารถเตรียมงบประมาณให้เพียงพอกับค่าภาษีทั้งหมดได้ โดยมีเรทในการคำนวณคร่าว ๆ ดังนี้
1. รถเก๋ง สำหรับรถเก๋งขนาดเล็กที่มีไม่เกิน 7 ที่นั่ง อัตราภาษีจะคำนวณตามความจุของเครื่องยนต์ โดยแบ่งเป็นเรทตามซีซี (CC) ของเครื่องยนต์ดังนี้
- 600 ซีซีแรก ประมาณ 0.50 บาทต่อซีซี
- 601-1,800 ซีซี ประมาณ 1.50 บาทต่อซีซี
- 1,801 ซีซีขึ้นไป: ประมาณ 4 บาทต่อซีซี
2. รถกระบะ สำหรับรถกระบะที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ (กระบะ 2 ประตู) ภาษีจะคำนวณตามน้ำหนักรวมของรถ โดยทั่วไปจะมีเรทประมาณ 1,000-1,300 บาทต่อปีสำหรับรถกระบะขนาดทั่วไป โดยน้ำหนักของรถจะเป็นตัวกำหนดอัตราภาษี และมีความแตกต่างบ้างตามประเภทการใช้งาน แต่หากเป็นรถกระบะ 4 ประตู ใช้ฐานการคำนวณภาษีจาก ซีซี เช่นเดียวกับรถเก๋ง
อายุรถ
อายุของรถยนต์เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดอัตราภาษีด้วย โดยรถยนต์ที่ใช้งานมานานจะมีการลดอัตราภาษีตามอายุ ดังนี้
ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมการตรวจสภาพรถ กรณีรถที่มีอายุเกิน 7 ปี / ค่าปรับหากต่อภาษีล่าช้า ดังนั้นจึงควรต่อภาษีรถยนต์ ทุกปี
การต่อภาษีรถยนต์ ตรงเวลา นอกจากจะไม่ต้องเสียค่าปรับจากการต่อภาษีล่าช้าแล้ว ยังเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง เงินภาษีที่จ่ายไปยังช่วยในการพัฒนาประเทศในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และยังได้รับความคุ้มครองจากการใช้รถใช้ถนนจาก พ.ร.บ.
การต่อภาษีรถยนต์เป็นหน้าที่ของเจ้าของรถทุกคนการศึกษาถึงขั้นตอนและความสำคัญของการต่อภาษี จะสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และยังเป็นการรับผิดชอบต่อผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมทางอีกด้วย ทั้งนี้ก่อนจะต่อภาษีรถยนต์ ต้องต่อพ.ร.บ. ก่อน เพื่อรับเอกสารกรมธรรม์ คุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุ หลังจากต่อพ.ร.บ. แล้ว ถึงจะเอากรมธรรม์พ.ร.บ.ไปต่อภาษี เพื่อรับป้ายภาษีหรือป้ายวงกลมอีกที แต่รู้ไหมว่าซื้อ พ.ร.บ.ออนไลน์ที่ ‘อินชัวร์เวิร์ส’ สามารถต่อภาษีออนไลน์ในทันที!
Advertisement