หาทางออก ควมคุมแทนการแบน “บุหรี่ไฟฟ้า”
ในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศไทยได้บังคับใช้มาตรการแบนบุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนตั้งแต่ปี 2558 แต่จากข้อมูลชี้ว่าตั้งแต่ปี 2558 ถึง 2566 ประเทศไทยมีเด็กและเยาวชนอายุ 13-15 ปี ใช้บุหรี่ไฟฟ้ามากถึงร้อยละ 17.6 ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2558 (ร้อยละ 3.3) แม้จะมีมาตรการดูแลก็ตาม
กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนามได้เสนอแนวทางควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าให้ถูกต้องภายใต้กฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในประเทศ แทนการแบนบุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนที่สนับสนุนโดยกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขเวียดนามจะเสนอให้รัฐบาลยื่นเรื่องต่อรัฐสภาเพื่อออกกฎหมายแบนบุหรี่ไฟฟ้า โดยอ้างข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) แต่ข้อเสนอนี้กำลังถูกวิจารณ์อย่างแพร่หลาย เนื่องจากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ แนวทางควบคุมในต่างประเทศ และข้อเท็จจริงจากประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลกได้พิสูจน์ว่าการควบคุมให้ถูกกฎหมายนั้นเป็นทางออกที่เหมาะสมที่สุด
แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขเวียดนามจะเสนอให้แบนผลิตภัณฑ์ดังกล่าว แต่กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนามได้เสนอแนวทางอื่น ซึ่งเหมาะสมกับสถานการณ์ความเป็นจริงในประเทศ เช่น อนุญาตจำหน่ายอย่างเป็นทางการ หรือ “นำร่องจำหน่าย” ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของยาสูบ ซึ่งได้รับการควบคุมอย่างถูกกฎหมายภายใต้กฎหมายควบคุมการบริโภคยาสูบ ควบคุมการซื้อขายบนช่องทางออนไลน์ และมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขเสนอนโยบายสำหรับควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าโดยเฉพาะ
เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก แม้จะมีการบังคับใช้มาตรการแบนบุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน แต่สถานการณ์การใช้บุหรี่ไฟฟ้าในวัยรุ่นนั้นยังคงมีอยู่และมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น ในประเทศออสเตรเลียมีรายงานว่าวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี มีอัตราการใช้บุหรี่ไฟฟ้าทุกวันอยู่ที่ร้อยละ 15.1 ในปี 2023 และอัตราดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าภายในระยะเวลาเพียง 1 ปี แม้ออสเตรเลียจะมีนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าก็ตาม ส่งผลทำให้รัฐบาลออสเตรเลียสูญเสียรายได้ภาษีที่อาจเก็บได้จากบุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ไปกว่า 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงปี 2021 – 2022 ขณะที่ประเทศเวียดนาม การลักลอบนําเข้าบุหรี่และผลิตภัณฑ์ยาสูบไร้ควันทําให้รัฐบาลเวียดนามสูญเสียอย่างน้อย 8.5 พันล้านดองต่อปี หรือประมาณ 12 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม "ตลาดมืด" ยังคงเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ที่ต้องแก้ไข นอกจากจะทําให้สูญเสียภาษีแล้ว ยังนำมาซึ่งความล้มเหลวในการควบคุมและป้องกันการเข้าถึงของเด็กและเยาวชน
Advertisement