Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
อยากเริ่มธุรกิจต้องตอบได้! 10 คำถามวัดความพร้อมว่าที่ ‘เจ้าของธุรกิจ
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

อยากเริ่มธุรกิจต้องตอบได้! 10 คำถามวัดความพร้อมว่าที่ ‘เจ้าของธุรกิจ

10 ก.ค. 65
18:58 น.
|
1.3K
แชร์

Highlight

ไฮไลต์

จริงอยู่ที่การเป็นเจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการเป็นเรื่องยากหากขาดการเตรียมตัว แต่จาก ‘คำถาม 10 ข้อสำหรับว่าที่เจ้าของธุรกิจ’ ข้างต้น น่าจะช่วยให้คุณมองเห็นช่องโหว่ และเข้าใจธุรกิจของคุณมากขึ้น เพียงคุณวางแผนธุรกิจให้ชัดเจน มีวิธีวัดประเมิณที่จะช่วยให้คุณพัฒนาและต่อยอดไอเดียธุรกิจนั้นได้ เพียงเท่านี้ ธุรกิจที่เกิดจากแรงกาย แรงใจ เงินทุน และแพชชั่นของคุณ ก็มีโอกาสสำเร็จมากขึ้นแล้ว

การเป็นเจ้าของธุรกิจ สร้างรายได้ให้กับตัวเองได้โดยที่ไม่ต้องเป็นลูกน้องใคร เป็นความฝันที่หลายคนอยากทำ หรือกำลังเริ่มลงมือทำอยู่ ยิ่งในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบรายปีอย่างทุกวันนี้ การเริ่มธุรกิจก็มีวิธี และช่องทางใหม่ๆ มากมายนับไม่ถ้วน

 

Spotlight อยากชวนมาสำรวจความพร้อมไปด้วยกันกับคำถามสำหรับว่าที่เจ้าของธุรกิจ 10 ข้อ จากเว็บไซต์ Entrepreneur เพื่อให้คุณได้เตรียมความพร้อม และเริ่มลงมือทำธุรกิจได้อย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้น

 

istock-1006196398

 

1) ‘สาเหตุ’ ที่ทำให้คุณอยากเริ่มต้นธุรกิจคืออะไร?

 

การเป็น ‘เจ้าของธุรกิจ หรือ ผู้ประกอบการ’ เป็นสิ่งที่ถูกใส่สีตีไข่ให้ฟังดูยิ้่งใหญ่เกินจริง ผิดเพี้ยนไปจากสิ่งที่ควรจะเป็น อันที่จริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสายไหน ก็ควรถูกสร้างขึ้นเพื่อ ‘แก้ปัญหา’ ให้กับผู้บริโภค แถมภาพของเจ้าของธุรกิจตัวจริงก็ต่างจากในมโนภาพของในหัวของเรา และบนโซเชียลมีเดีย ที่จะต้องขับรถหรู โพสต์ท่าสวยๆ เสียด้วย

 

ดวง พันธุกรรม และสภาพแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่ อาจมีผลไม่มากก็น้อยต่อเส้นทางการเป็นเจ้าของธุรกิจ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ “ความสามารถในการแก้ปัญหา” ต่างหาก ไม่ว่าจะเป็นใคร ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไหน จะเป็นปัญหาเล็ก หรือปัญหาใหญ่ก็ไม่เกี่ยง อยู่ที่ว่าเราจะหาเจอไหมว่าใครคือคนที่เราอยากจะแก้เป็นหาให้เป็นใครมากกว่า (นั่นก็คือลูกค้าของเรานั่นเอง)

 

นอกจากนี้ ‘แพชชั่น’ ในการแก้ปัญหาให้กับลูกค้านั้น สำคัญต่อการสร้างธุรกิจนั้นสำคัญยิ่งกว่า เราอยากสร้างผลิตภัณฑ์/บริการ มาช่วยลูกค้ามากแค่ไหน เรา ‘หมกมุ่น’ กับมัน จนยอมอุทิศเวลาให้มันมั้ย และเราพร้อมจะทุ่มเทกับ ‘งานบริการลูกค้า’ มากน้อยแค่ไหน?

 

2) ‘ปัญหา’ ที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง?

 

ธุรกิจจะดำเนินไปไม่ได้เลย หากขาดเป้าหมาย และวิธีลงมือปฏิบัติที่ชัดเจน การลงไปสำรวจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า ทำความเข้าใจว่าปัญหาที่เขาเผชิญอยู่ในทุกๆ วันคืออะไร และอยากได้ทางออก หรือตัวช่วยที่มีหน้าตาประมาณไหน จะทำให้เราเห็นภาพชัดขึ้นว่า สเต็ปต่อจากนี้เราต้องทำอะไร

 

ที่เราต้องทำความเข้าใจ ไม่ใช่แค่ปัญหาของลูกค้าเท่านั้น ปัญหาที่จะเกิดขึ้นต่อธุรกิจ รวมไปถึงตัวเราเองก็เช่นกัน ในการทำธุรกิจควรเตรียมใจเผชิญกับ ‘กำแพงปัญหา และความเครียด’ เอาไว้ได้เลย การจัดการธุรกิจ และจัดการอารมณ์ จึงเป็นสองทักษะที่ว่าที่เจ้าของธุรกิจห้ามมองข้ามโดยเด็ดขาด 

 

การรู้จักและรู้เท่าทันตัวเอง ความสามารถในการมองเห็นจุดอ่อนและข้อเสียของตัวเราเองและธุรกิจ และแก้เกมโดยการตัดสินใจที่ฉลาด รอบคอบ จึงเป็นเรื่องสำคัญ การวางแผน วางกลยุทธ์ที่ดี ก็สำคัญพอๆ กับการนำแผน นำกลยุทธ์เหล่านั้นไปปรับใช้ให้ได้กับหน้างานจริงๆ นั่นแล

 

istock-1195718542

 

3) ‘ความสำเร็จ’ ที่เราคาดหวังหน้าตาแบบไหน

 

ลองวาดภาพความสำเร็จของเราออกมาว่าหน้าตามันเป็นประมาณไหน จะก่อให้เกิดอะไรขึ้นบ้าง หากธุรกิจของเราไปได้สวยตามที่ตั้งใจ เราจะได้เห็น จะสัมผัสอะไร โดยไม่สนข้อจำกัดที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน 1 ปีข้างหน้า? 2 ปีข้างหน้า? 3 ปีข้างหน้า? สร้างภาพที่ชัดเจน จับต้องได้มากที่สุดขึ้นมา แม้จะยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น แต่ภาพปลายทางที่ชัดเจน จะทำให้เส้นทางการดำเนินธุรกิจของคุณกระจ่างชัดมากยิ่งขึ้น

 

4) ‘ทักษะ’ ที่จะต้องใช้คืออะไร และคุณมีทักษะเหล่านั้นแล้วหรือยัง?

 

ธุรกิจสำเร็จไม่ได้หากคุณมี ‘ไอเดีย’ เพียงแค่อย่างเดียว จะทำการใหญ่ใจต้องนิ่งพอ จะเดินตามเส้นทางนี้คุณอาจต้องปรับ ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้มีทักษะเพียบพร้อม หรือในอีกมุมหนึ่ง การสำรวจตัวเองให้รู้ว่าคุณมีจุดแข็ง มีพรสวรรค์ด้านไหนพร้อมใช้งานอยู่แล้ว ก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน

 

ลองเขียนทักษะที่คุณได้ฝึกฝนมาอย่างเชี่ยวชาญแล้ว ไว้ในกระดาษด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านหนึ่งเขียนทักษะที่คุณต้องฝึกเพิ่มเพื่อมาทำให้ธุรกิจเดินหน้าต่อได้ สิ่งนี้จะช่วยให้คุณเห็นว่า คุณจะต้องไปฝึก ไปศึกษาเพิ่มในเรื่องใด หรืออาจต้องใช้วุฒิบัตร หรือใบรับรองด้านไหนเพิ่มเติม

 

และอย่าลืมว่าคุณไม่จำเป็นเก่งทุกเรื่อง การหา ‘พันธมิตร’ ที่เชี่ยวชาญมาเติมเต็มในส่วนที่คุณขาด ก็เป็นหนึ่งกลยุทธ์ที่ดีเช่นกัน

 

5) ‘ปัจจัย’ ที่คุณต้องการมีอะไรบ้าง

 

ในการทำธุรกิจ คุณอาจต้องการแรงซัพพอร์ตจากคนรอบข้างในระดับสูง ต้องการคอนเนคชันจากคนในวงการ และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ เงินทุน เช่นเดียวกับเรื่องทักษะ ลองเขียนใส่กระดาษดูว่า ปัจจัยไหนคือสิ่งที่คุณมีอยู่แล้ว และปัจจัยไหนคือสิ่งที่คุณต้องหามาเติมเต็ม และหากคุณหามาเติมเต็มด้วยตัวเองไม่ได้ ก็สามารถยื่นมือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นได้

  

istock-1291965731

 

6) ‘ใคร’ คือคนที่คุณต้องยื่นมือขอความช่วยเหลือ

 

หลังจากที่คุณรู้แล้วว่า สิ่งที่คุณต้องให้คนอื่นมาช่วยเติมเต็มคืออะไร สเต็ปต่อไปก็คือการสำรวจคอนเนกชันที่คุณใช้เวลาค่อยๆ สั่งสมมาชั่วชีวิต ทั้งคอนเนกชันจากงาน หรือรู้จักกันส่วนตัวก็ได้ หากเจอคนๆ นั้นแล้ว ก็สามารถทักไปหาเขาได้เลย

 

โดยอาจเริ่มเล็กๆ จากการชวนพวกเขามาฟังไอเดียธุรกิจของคุณก่อน แล้วดูว่าเสียงตอบรับจากพวกเขาเป็นอย่างไรบ้าง การ ‘Know How’ (รู้ว่าต้องทำยังไง) บางครั้งก็ไม่สำคัญเท่า ‘Know Who’ (รู้จักคนที่ทำสิ่งเหล่านั้นได้จริงๆ) ธุรกิจที่ดำเนินไปได้ดีมักมีคนเก่งๆ คนอื่นนอกจากเจ้าของธุรกิจเอง อยู่เบื้องหลังเสมอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มักมาจาก ‘ใจแลกใจ’ เมื่อคนอื่นต้องการความเชี่ยวชาญจากคุณ โดยเฉพาะคนใกล้ตัว คุณก็ควรช่วยเหลือพวกเขาบ้างเช่นกัน

 

หรือหากในวงโคจรของญาติมิตรของคุณ ไม่มีคนที่มีสกิลที่คุณมองหา ‘ชมรม สมาคม หรือสถานที่ที่รวมคนที่ชอบสิ่งนันๆ ไว้ด้วยกัน’ ก็เป็นหนึ่งสถานที่เปิดกว้างที่พร้อมให้คุณสามารถเข้าไปขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญได้ การนำตัวเองเข้าไปอยู่ในสถานที่เหล่านี้จึงเป็นการขยายวงโคจรแห่ง ‘คอนเนกชัน’ ของคุณได้ดีทีเดียว

 

7) ‘ในระยะยาว’ ธุรกิจของคุณยังไปได้มั้ย?

 

หากธุรกิจที่คุณตั้งใจปลุกปั้นนั้น สามารถเลี้ยงชีพคุณได้แบบยาวๆ ก็จะถือว่าเป็นสิ่งประเสิรฐ ในระยะยาว ธุรกิจของคุณจะยังไปรอดมั้ย เมื่อเวลาผ่านไปจะยังมีคนอยากใช้สินค้า/บริการของคุณอยู่หรือเปล่า หลายธุรกิจที่ล้มเหลวนั้นเกิดจากความต้องการใช้/ต้องการซื้อที่ค่อยๆ น้อยลง และหมดไปในระยะยาว นี่จึงเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ไม่ควรมองข้าม และต้องทดสอบทันทีท่ามีโอกาส

 

8) ‘ตลาด’ ของธุรกิจของคุณ จัดอยู่ในช่วงไหน

 

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น การสำรวจตลาด สอดส่องความต้องการของลูกค้าเป็นขั้นตอนสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาด นอกจากจะช่วยเช็คได้แล้วว่า สินค้า/บริการของคุณเป็นสิ่งที่ลูกค้ากำลังอยากได้อยู่จริงๆ ยังจะช่วยให้คุณเข้าใจถึง ‘การแข่งขันในตลาด’ ได้อีกด้วย 

 

แทนที่จะมองว่าคู่แข่งคนอื่นๆ เป็นศัตรู ลองมองว่าเป็นสิ่งปกติที่จะมีคนทำธุรกิจคล้ายๆ กันหลายคน และเป็นโอกาสในการเรียนรู้ดีกว่า และหากในตลาดมีสินค้าหรือบริการที่ทำหน้าที่ของมันได้ดีอยู่แล้ว แทนที่คุณจะต้องมาเหนื่อยคิดประดิษฐ์ของใหม่ด้วยตัวเองตั้งแต่ศูนย์ ก็ใช้พลังกาย และพลังสมองของคุณ นำสิ่งที่มีอยู่แล้วนั้น มาดัดแปลงให้ดีขึ้นจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของคุณ และลูกค้ามากกว่า

 

istock-1179516978

 

9) ‘ลูกค้า’ ของคุณคือใคร?

 

สินค้าที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทุกคน คือสินค้าที่ไม่ได้ถูกดีไซน์มาให้ใครเลย! การจำแนกลูกค้าของคุณออกเป็นกลุ่มๆ (Segmentation) จึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ลองจัดหมวดหมู่ลูกค้าของคุณด้วยเกณฑ์ที่คุณสมมติขึ้น แล้วทดสอบเกณฑ์เหล่านั้นว่าเป็นจริงอย่างที่คุณคิดหรือไม่

 

10) ‘การทดสอบไอเดีย/การลงมือทำ’ ธุรกิจของคุณ จะทำได้อย่างไร?

 

มีเจ้าของธุรกิจจำนวนไม่น้อย ที่ซุ่มพัฒนาไอเดียเจ๋งๆ แต่เฝ้ารอเวลาที่ไอเดียนั้นจะสมบูรณ์แบบที่สุด ซึ่งสำหรับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างทุกวันนี้แล้วนั้น ไอเดียนั้นอาจตกยุค หรือไม่ก็โดนเจ้าอื่น ‘คาบไปรับประทาน’ เรียบร้อยแล้วก็ได้ ทางที่ดี คุณควรหาวิธีในการทดสอบไอเดียธุรกิจของคุณให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ 

 

อาจใช้วิธีให้คนกลุ่มเล็กๆ ทดลอง, ลองสื่อสารไอเดียนั้นบนช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ, ลองสร้างหน้าร้านขึ้นมาเพื่อรับออเดอร์ไว้ก่อน การทดสอบเหล่านี้จะช่วยเช็คไอเดียของคุณได้ด้วยว่า มันจะคุ้มค่าการลงแรง ลงเงิน ลงเวลาของคุณหรือเปล่า

 

ยิ่งในมัยนี้ซึ่งธุรกิจขนาดเล็กรวมไปถึง ‘สตาร์ทอัพ’ ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น ทำให้หลายหน่วยงานสร้างพื้นที่ทดลองให้คุณได้เข้าไปลองเสนอไอเดีย และทำไอเดียนั้นให้ออกมาเป็นสินค้า/บริการจริงๆ แถมมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ วิธีนี้ก็จำทำให้โอกาสประสบความสำเร็จของธุรกิจคุณ สูงขึ้นไปอีก

 

istock-1307414195

แชร์
อยากเริ่มธุรกิจต้องตอบได้! 10 คำถามวัดความพร้อมว่าที่ ‘เจ้าของธุรกิจ