พิซซ่า คือหนึ่งในอาหารต่างชาติที่ได้รับความนิยมในไทย โดยตลาดพิซซ่าในไทยมีมูลค่าประมาณ1,500 ล้านบาทต่อปี และยังคงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปี เนื่องจากปัจจุบันวัยรุ่นไทยส่วนใหญ่นิยมรับประทานพิซซ่ามากขึ้น แบรนด์ Scoozi Pizza คืออีกแบรนด์พิซซ่าที่มีชื่อเสียงและเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่เข้ามาตีตลาดในไทย ล่าสุดได้เปิดแผนกลยุทธ์ชุดใหญ่ในปี2565
มร.แกรี่ เมอร์เรย์ (Mr.Gary Murray) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง เดสติเนชั่น กรุ๊ป เปิดเผยว่า ทั่วโลกมีการบริโภคพิซซ่าจำนวนกว่า 5,000 ล้านชิ้นต่อวัน ส่วนตลาดพิซซ่าในประเทศไทย มีมูลค่าตลาดสูงถึง 1,500 ล้านบาทต่อปี และยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปี จากปัจจัยบวกตลาดวัยรุ่น ครอบครัว ขยายตัวมากขึ้น ทำให้แนวโน้มการเติบโตในอุตสาหกรรมอาหารคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 30% ในระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2565-2571
“Destination Eats เข้าซื้อ Scoozi Pizza ในปี 2563 โดยเป็นเจ้าของและผู้ประกอบการแบรนด์ดังหลายแห่งทั่วประเทศ ทั้ง Hard Rock Café, Hooters Restaurants และ Big Boy Burgers เป็นต้น พร้อมพลิกโฉม Scoozi Pizzaใหม่ ปรับปรุงเมนู ตกแต่งร้าน ยกระดับคุณภาพพิซซ่า ปัจจุบันลูกค้าชาวไทยต่างมองหาพิซซ่าอิตาเลียนระดับพรีเมียมแบบดั้งเดิม ใช้วัตถุดิบสดใหม่ที่มีคุณภาพสูง ซึ่งราคาขายพิซซ่าของเราอยู่ที่ต่อชิ้นอยู่ระหว่าง 400-590 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ลูกค้ายินดีจ่าย เราวางเน้นเจาะตลาดระดับบน เพื่อสามารถทำกำไรให้กับธุรกิจแฟรนไชส์มากขึ้น” มร.แกรี่ เมอร์เรย์ กล่าว
ด้านนางสาวอังคณา นิลกำเหนิด รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายธุรกิจแฟรนไชส์ Scoozi เปิดเผยว่า ปัจจุบัน เทรนด์การกินพิซซ่าเปลี่ยนไป เนื่องจากผู้คนสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ทั่วโลก และมีโอกาสลิ้มลองรสชาติต้นตำรับ ทำให้ผู้บริโภคยุคใหม่เริ่มมองหาพิซซ่าที่ใช้วัตถุดิบจากประเทศต้นตำรับและขึ้นแป้งแบบสด ไม่ใช่พิซซ่าจากแป้งแช่แข็งมากขึ้น ซึ่งตรงกับ DNA ของ Scoozi Pizza ซึ่งให้บริการในรูปแบบ Lifestyle Casual Dinning เน้นคุณภาพของวัตถุดิบสดใหม่ การให้บริการที่ดี ซึ่งแตกต่างจากร้านพิซซ่า QSR(Quick Service Restaurant) ทั่วไปในตลาด
สำหรับกลยุทธ์การตลาดมในปี 2566 นี้ บริษัทมีแผนรุกตลาดพิซซ่าอย่างเข้มข้น เพื่อก้าวขึ้นเป็น “Leading Urban Pizza Brand” โดยปรับโฉม Scoozi Pizza เพื่อรุกตลาดพรีเมียมแมสมากขึ้น รวมถึงแผนการตลาดอื่นๆ ดังนี้
-ขยายสาขาเพิ่ม 5 สาขา จากปัจจุบันมี 7 สาขา ประกอบด้วย ซอยสาธร10, เอมควอเทียร์ Helix ชั้น6, เซนทรัลแจ้งวัฒนะ ชั้น5 เอกมัย ซอย19 มาเก็ตวิลเลจหัวหิน ชั้น2, เทอร์มินอล 21 พัทยา และสาขาล่าสุด ภูเก็ต
-มี “Scoozi ghost kitchen” เพื่อรองรับการให้บริการเดลิเวอรี่ อีก 4 สาขา คือ ลาดพร้าว,อารีย์, อ่อนนุชและอโศก สั่งผ่านแอพเดลิเวอรี่ได้ ทั้ง Grab, Line Man, Food Panda, Robinhood, Shopee
-เจาะกลุ่มครอบครัวที่ผู้ปกครองมีอายุ 35 ปีขึ้นไป นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัย กลุ่มคนทำงาน และชาวต่างชาติในประเทศไทยทั้งนักท่องเที่ยว และอยู่ระยะยาว (Expat)
อย่างไรก็ตาม Scoozi Pizza คือแบรนด์ที่มีความแข็งแรงและเป็นที่รู้จักอย่างดีในประเทศไทยมากว่า 27 ปี อย่างไรก็ตาม ในปีนี้บริษัทมีแผนการทำตลาดอย่างเข้มข้นเพื่อรุกเข้ามาในตลาด Premium mass pizza ภายใต้ 3 กลยุทธ์
-1.Digital Marketing
2.การสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าในการได้ลิ้มลองรสชาติพิซซ่าที่ไม่เคยได้จากที่อื่นและอร่อยเกินคาด (Experience Marketing)
-3. ชูนวัตกรรมการวิจัยและพัฒนา (R&D) สินค้าที่มีคุณภาพ (Innovative Product)
นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนเพิ่มบิสสิเนสโมเดลใหม่ ขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์เพื่อขยายฐานลูกค้าให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยเน้นทำเลศักยภาพ ในห้างสรรพสินค้า, คอมมูนิตี้มอลล์, Stand alone และ อาคารสำนักงาน เพื่อสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด เบื้องต้นบริษัทตั้งเป้าโมเดลแฟรนไชส์ 200 สาขาใน 5 ปี ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ไทย เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยคาดว่าจะเริ่มขายแฟรนไชส์ ในประเทศ ช่วงไตรมาส 3 ปีนี้ ซึ่งมีงบประมาณการลงทุนราว 3-4 ล้านบาท ต่อสาขา ใช้ระยะเวลาคืนทุน 2-3 ปี
เรียกได้ว่า Scoozi Pizza เปิดเกมการตลาดอย่างเข้มข้นมากๆในปี2566 นี้ พลิกโฉมครั้งใหญ่บุกตลาดพรีเมียมแมส พร้อมผุดโมเดลแฟรนไชส์ทั้งในและต่างประเทศกว่า 200 สาขา ในไทย เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ใน 5 ปี หวังกรุยทางสู่ “Leading Urban Pizza Brand”