ความเดือดร้อนนี้ทำให้ภาครัฐต้องเร่งหาทางแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน เพราะนอกจากประชาชนจะต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นแล้ว ฝั่งของผู้ประกอบการโดยเฉพาะเกษตรกรรายเล็กที่เลี้ยงหมู ก็ยังต้องหยุดกิจการเพราะแบกรับต้นทุนไม่ไหว ฝั่งรัฐบาลเร่งแก้ปัญหากันจ้าละหวั่น ห้ามส่งออกหมู 3 เดือน เร่งปลูกพืชอาหารสัตว์ ช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ ปัญหาหมูแพงพุ่งทะยาน!มีสาเหตุมาจากอะไร ทีมงาน Spotlight สรุปไว้ดังนี้
ทำไมหมูแพง มี 2 สาเหตุหลัก
1.ปริมาณหมูลดลงจากโรคระบาด
ข้อมูลจากการให้สัมภาษณ์ของ นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า ก่อนที่เกษตรกรจะเจอโรคระบาดในหมู ประเทศไทยมีหมูที่ขุนได้เฉลี่ยปีละ 22 ล้านตัว ซึ่งกว่า 90% ใช้บริโภคภายในประเทศ แต่ในช่วงปี 2563-2564 ไทยเจอผลกระทบจากโรคระบาดในหมู ทำให้หมูตาย หายไปประมาณ 30-40% เหลือไม่ถึง 18 ล้านตัว และยังคาดว่าปี 2565นี้ จะสามารถผลิตหมูได้เพียง 13-15 ล้านตัวเท่านั้น
มนุษย์ต้องเผชิญกับโควิด 19 ตั้งแต่ปี 2562 หมูก็เจอโรคระบาดเช่นกัน โดยโรคระบาดในหมูหลัก คือ
โรค ASF นี้ถือว่า มีความรุนแรงมาก ข้อมูลจากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสกลนคร พบว่า หากเกิดโรคจะทำให้หมูตายเป็นจำนวนมาก เพราะยังไม่มีวัคซีนและวิธีการรักษา เป็นโรคที่ไม่ติดต่อสู่คนแต่เชื้อไวรัสสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมหรือซากได้นานหลายเดือน อาการของหมูที่เป็นโรคคือ ตายเฉียบพลัน มีไข้สูง ผิวหนังแดง จุดเลือดออก รอยช้ำโดยเฉพาะใบหู ท้อง ขาหลัง มีอาการทางระบบหายใจ ทางเดินอาหาร มีอาการแท้งในทุกช่วงของการตั้งท้อง ถือว่าเป็นโรคระบาดร้ายแรงในหมู ซึ่งพบการระบาดในหลายประเทศอาเซียน
สำหรับโรค PRRS เป็นโรคอหิวาต์ในสุกร การติดเชื้อจะเหมือนการติดเชื้อ ASF จะต่างกันตรงที่ PRRS เป็นโรคประจำถิ่นที่พบได้ในไทย และมีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ โดยในปี 2564 มีเกษตรกรหลายจังหวัดในไทยพบหมูติดเชื้อนี้ และทำให้หมูตายไปเป็นจำนวนมาก
หรือ Respitory Complex Syndrome เป็นลักษณะเชื้อไวรัส บวกกับแบคทีเรียก่อโรคร่วมกัน ซึ่งส่งผลต่อทางเดินหายใจของหมู จะมีผลกระทบกับหมูเด็กจนถึงอนุบาล ทำให้หมูโตช้านั่นเอง
2.ต้นทุนการเลี้ยงหมูพุ่งสูง
นอกจากโรคระบาดจะเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้ปริมาณหมูหายไปจากระบบแล้ว ต้นทุนการเลี้ยงหมูทั้งอาหารสัตว์ ค่าไฟ ค่าขนส่ง ยังพุ่งสูงขึ้นอีกด้วย โดยเฉพาะอาหารสัตว์ซึ่งคิดเป็นต้นทุนในการเลี้ยงประมาณ 60%ของต้นทุนทั้งหมดมีราคาพุ่งขึ้นเฉลี่ย 20-30% สูงสุดในรอบ 13 ปี
คุณพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ให้สัมภาษณ์กับทีมงาน Spotlight ว่า พืชที่ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ไทยทุกประเภทมีราคาปรับสูงขึ้น โดยหากดูราคาพืชอาหารสัตว์ 5 ปีก่อน คือ 2560 พบว่า ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากราคาอยู่ที่ 8.23 บาท/กก. ในปี 2563-2564 ราคาขึ้นมาอยู่ที่เกือบ 12บาท /กก. กากถั่วเหลืองจาก 15.46 บาท/กก. มาเป็น 27.90 บาท/กก. มันสำปะหลังจาก 5.75บาท/กก. เป็น 8.41 บาท/กก. เช่นเดียวกับข้าวสาลี และข้าวบาร์เลย์ ก็มีราคาสูงขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน และประเทศไทยไม่สามารถผลิตพืชอาหารสัตว์ได้เพียงพอกับความต้องการใช้ที่ 8 ล้านตัน/ปี จึงต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศปีละ 5 ล้านตัน/ปีโดยไทยมีการนำเข้าทั้งจาก สหรัฐฯ บราซิล และ อาเจนติน่า
ซึ่งกลไกของราคาทั้งต่างประเทศ และในประเทศเอง ก็เพิ่มสูงขึ้นทั้งคู่
ราคาพืชอาหารสัตว์ในต่างประเทศสูงขึ้น มาจาก
ส่วนกลไกในประเทศ ก็ทำให้ราคาปรับขึ้น มาจาก
ทั้งหมดนี้จึงทำให้ต้นทุนการเลี้ยงเฉพาะค่าอาหารเฉลี่ย 8,000 บาทต่อ กก. ส่วนต้นทุนแฝงจากการป้องกันโรคระบาดหมูเพิ่มขึ้นมาอีกเฉลี่ย 500 บาทต่อตัว ขณะที่คณะอนุกรรมการต้นทุนการผลิตสุกร ประเมินไว้ที่ 3,300 บาท/ตัว นี่จึงเป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ปริมาณหมูลดลง เพราะผู้เลี้ยงหมูโดยเฉพาะรายย่อยต้องหยุดการเลี้ยงเพราะแบกรับต้นทุนไม่ไหว
โดยจำนวนผู้เลี้ยงสุกรในประเทศปี 2564 รวม 1.9 แสนราย ในจำนวนนี้ป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและใหญ่ ประมาณ 1 หมื่นราย มีปริมาณหมูมากกว่า 10 ล้านตัว ส่วนรายเล็ก รายย่อยประมาณ 1.8 แสนราย ในจำนวนนี้กว่า 80-90% ได้หยุดเลี้ยงไปแล้ว
ราคาหมูจะแพงต่อเนื่องตลอดปี 2565 ?
นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติเคยให้สัมภาษณ์สื่อว่า ราคาหมูจะยังคงสูงถึงช่วงตรุษจีนและอาจยังคงลามไปถึงช่วงสงกรานต์ด้วย เพราะขณะนี้พ่อแม่พันธุ์ไม่มี หมูที่เลี้ยงในฟาร์มก็ล้มตายไปจำนวนมากจากโรคระบาด ทำให้ไม่มีผลลิตออกสู่ตลาด การที่จะเพิ่มพ่อแม่พันธุ์นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายและทำได้ทันที ดังนั้นจึงต้องใช้เวลาในการเลี้ยงสักพัก
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า มาตรการต่างๆ ของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็น การห้ามส่งออก การช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในด้านต้นทุนและมาตรการทางการเงิน โครงการหมูธงฟ้า การขอความร่วมมือผู้ประกอบการค้าปลีกสมัยใหม่ในการตรึงราคา เป็นต้น มีส่วนช่วยบรรเทาสถานการณ์ได้บ้าง
แต่คงต้องรอจนกว่าผลผลิตสุกรรอบใหม่จะเริ่มทยอยเข้าสู่ตลาดอย่างชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลัง ราคาเนื้อสุกรจึงจะย่อตัวลง ทั้งนี้ คาดว่าราคาเนื้อสุกรเฉลี่ยตลอดทั้งปี 2565 จะยังคงเคลื่อนไหวในระดับสูง โดยราคาอาจอยู่ในกรอบ 190-220 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นราว 30% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ขณะที่ คุณพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เชื่อว่า ราคาหมูมีโอกาสจะแพงไปตลอดทั้งปี 2565 เพราะ มาตรการที่รัฐนำมาใช้แก้ปัญหา เป็นมาตรการเฉพาะหน้า และยังต้องใช้เวลา เช่น เร่งการปลูกพืชอาหารสัตว์ ขณะเดียวกันแม้จะแก้ปัญหาเรื่องโรคระบาดในหมูได้ แต่ผู้ประกอบการยังต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงอยู่ดี จึงมีข้อเสนอแนะ ให้รัฐใช้มาตรการ “คนละครึ่ง” กับ ร้านขายหมูทั่วประเทศ จะช่วยแก้ปัญหาทั้งประชาชน ค่าครองชีพลดลง รวมถึงร้านขายหมูรายย่อยได้อีกด้วย
คงเห็นภาพกันแล้วว่า ในปี 2565 นี้นอกจากราคาหมูแล้ว สถานการณ์ราคาสินค้าอื่นๆมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นปัญหาสำคัญของเศรษฐกิจไทยอย่างแน่นอน
https://pvlo-sno.dld.go.th/webnew/images/stories/procurement/pnnnin/2561_02/070362_01.pdf