ท่ามกลางแรงกดดันทางเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อ ที่กระทบถึงค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่สูงขึ้น และการออมที่ลดลง ผลการศึกษา ‘ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอาเซียน’ หรือ ‘ASEAN Consumer Sentiment Study (ACSS) 2024’ ที่จัดทำโดย ‘ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย’ และ ‘Boston Consulting Group’ ตอกย้ำถึงความจำเป็นในการเตรียมความพร้อมด้านการเงินของผู้บริโภคชาวไทย เพื่อให้มีสุขภาพทางการเงินที่ดี
ผลการศึกษาของ ACSS ระบุว่า 83% ของผู้ตอบแบบสอบถามคาดว่า จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในประเทศไทย เพิ่มขึ้นจาก 72% เมื่อเทียบกับปี 2023 ที่ผ่านมา โดย ‘ความกังวลทางการเงิน’ ของผู้ตอบแบบสอบถาม มีดังต่อไปนี้:
- 64% เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น (เพิ่มขึ้น 8%)
- 60% ค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น (เพิ่มขึ้น 10%)
- 58% เงินออม/การถือครองความมั่งคั่งที่ลดลง (เพิ่มขึ้น 7%)
- 53% ภาระทางการเงินระยะยาว (เพิ่มขึ้น 7%)
เพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคใช้จ่ายในหมวดท่ีไม่จําเป็นน้อยลง ดังนี้:
- 51% ลดค่าใช้จ่ายสินค้าที่ไม่จำเป็น
- 45% หาแหล่งรายได้รอง
- 44% มองหาข้อเสนอและส่วนลดในการชอปปิง
ความกังวลของอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น และสภาพเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอน ทำให้ผู้บริโภคชาวไทยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้จ่าย โดยมองว่า การใช้จ่ายสินค้าฟุมเฟือยมีความจำเป็นน้อยลง และหันไปใช้จ่ายสิ่งที่จำเป็น และการใช้จ่ายเพื่อซื้อประสบการณ์มากขึ้น เช่น การเดินทาง รับประทานร้านอาหารรสเลิศ คอนเสิร์ต อีเว้นท์ และงานเทศกาล
- 42% ใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
- 46% ใช้จ่ายเท่าเดิม
- 12% ใช้จ่ายน้อง
โดยกลุ่มสินค้าที่ผู้บริโภคชาวไทย ใช้จ่ายมากขึ้น เพราะมองเป็น ‘สิ่งจำเป็น’ มีดังต่อไปนี้:
- 46% ค่าสาธารณูปโภค
- 31% ของใช้ในครัวเรือนและอาหาร
- 30% การซื้อหรือสั่งให้ส่งอาหารและขนม
- 30% การศึกษาบุตร
- 29% ค่ารักษาพยาบาล
ส่วนข้อมูลจาก ‘วีซ่า ประเทศไทย’ ระบุว่า ผู้ถือบัตรเครดิตยูโอบีวีซ่ามีการใช้จ่ายในสินค้าหรูหราลดลง 9% แต่ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเพื่อซื้อประสบการณ์กลับเพิ่มขึ้นเกือบ 3% ซึ่งการใช้จ่ายเพื่อซื้อประสบการณ์ที่เป็นหมวดใหญ่ที่สุด คือ ‘การรับประทานอาหาร’ ตามด้วย ‘การเดินทาง’ และ ‘กิจกรรมความบันเทิง’
ในขณะที่การใช้จ่ายข้ามพรหมแดน พบว่า กว่า 3 ใน 5 ของผู้บริโภคใช้จ่ายเงินในต่างประเทศในปีที่ผ่านมา โดย 58% ของผู้บริโภคชาวไทยได้เดินทางไปยังต่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน เช่น สิงคโปร์ เวียดนาม และมาเลเซีย ในปีที่ผ่านมา ส่วน ‘ปริมาณการใช้จ่ายข้ามพรหมแดน’ เป็นดังต่อไปนี้:
- 48% ระหว่างเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศ
- 29% ระหว่างเดินทางเพื่อธุรกิจในต่างประเทศ
- 17% ผ่านการลงทุนในต่างประเทศ
- 14% ผ่านการโอนเงินข้ามประเทศ
ถึงแม้การใช้จ่ายเพื่อประสบการณ์จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ผู้บริโภคในไทยยังคงมุ่งมั่นออมเงินอย่างแข็งแกร่ง โดย 57% มีเงินสำรองฉุกเฉินที่รองรับค่าใช้จ่ายอย่างน้อยสามเดือน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในภูมิภาคอาเซียนที่ 54% โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ (Gen Y และ Gen Z) ที่ให้ความสำคัญกับการรักษาความมั่งคั่งผ่านการออมและการลงทุนมากกว่าคนในช่วงอายุที่มากกว่า
ทั้งนี้ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ยังเปิดเผยว่า บัญชีเงินฝากของกลุ่ม Gen Z เพิ่มขึ้น 52% ในขณะที่จำนวนบัญชีเงินฝากที่ถือครองโดยกลุ่ม Gen Y เพิ่มขึ้น 27% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ จำนวนนักลงทุน Gen Z เพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า โดยเพิ่มขึ้นสูงถึง 129% ในขณะที่นักลงทุน Gen Y เพิ่มขึ้น 23% โดยเม็ดเงินลงทุนโดยคนรุ่นใหม่ในการลงทุนตรงในต่างประเทศเติบโตขึ้น 10% และการลงทุนในต่างประเทศผ่านกองทุนที่จดทะเบียนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 14%