“การบินไทย” ไม่ง้อรัฐ! ปรับแผนพึ่งเงินเอกชน 2.5 หมื่นล้าน

11 พ.ย. 64
  • ปี 2563 การบินไทยโดนผลกระทบ COVID-19 ทำให้มีผลขาดทุนหนัก 1.41 แสนล้านบาท จำเป็นต้องเข้าแนฟื้นฟูกิจการ เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.64 ศาลล้มละลายกลางเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ การบินไทย มีมูลหนี้รวม 4.10 แสนล้านบาท
  • แผนปี 2564-2565 ตั้งเป้าจะลดค่าใช้จ่ายรวมลงให้ได้ 5 หมื่นล้านบาท สิ้นปี 2564 หรือต้นปี 2565 มีแผนลดพนักงานให้เหลือ 13,000-15,000 คนปัจจุบันมี 21,000 คน
  • ผู้บริหารฯ การบินไทยเคยให้ข้อมูลหากทำตามแผนการฟื้นฟูฯสำเร็จในปี 2566-2567 จะเริ่มกลับมามีกำไรจากปี 2563 ที่มีผลการขาดทุนสุทธิจำนวน 1.41 แสนล้านบาท
  • ล่าสุดผู้บริหารแผนฯ “การบินไทย” เข้าพบนายกฯ แจ้งแก้แผนฟื้นฟูฯ ไม่ขอเงินรัฐ หลังประเมินได้แหล่งเงินทุนเอกชน 25,000 ล้านเพียงพอ แต่ ก.คลังเหลือแค่ 8%
  • ส่งสัญญาณดี เดือน ต.ค.2564 มีกำไรจากกการดำเนินงานครั้งแรกตั้งแต่มีโดวิดระบาด ยอดจองตั๋วงล่วงหน้ายาวถึงต้นปีหน้า มั่นใจ “การบินไทย” รอดแน่


11 พ.ย. 64

นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บมจ.การบินไทย หรือ THAI กล่าวว่า เมื่อวันที่ 8 พ.ย.ปีนี้ที่ผ่านมา คณะผู้บริหารแผนฯ ได้เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อรายงานว่าจะมีการแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของการบินไทยซึ่งแผนเดิมกำหนดเงื่อนไขว่าบริษัทจะต้องได้รับเงินทุนช่วยเหลือก้อนใหม่จากรัฐบาล จำนวน 25,000 ล้านบาท ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ผ่านกระทรวงการคลังในสัดส่วน 48% และได้รับเงินทุนใหม่จากเอกชนที่เป็นสถาบันการเงินอีกจำนวน 25,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นได้ทั้งเงินกู้ยืมหรือเงินเพิ่มทุน
รวมถึงรายงานสถานการณ์ภา่พรวมธุรกิจ ฐานะทางการเงิน อีกความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูฯ และยืนยันว่าการบินไทยไม่ได้มีการพูดถึงประเด็นการขอตัดลดหนี้(Hair Cut) ตามกระแสข่าวลือที่ออกมาแต่อย่างใด

ทั้งนี้ เมื่อคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ ประเมินจากสถานะธุรกิจปัจจุบันแล้ว หากการบินไทยได้รับเงินทุนใหม่จากเจ้าหนี้เอกชนเอกจำนวนดังกล่าวเป็นจำนวนเงินที่เพียงพอในการดำเนินธุรกิจของบริษัทต่อไป โดยไม่ต้องรบกวนขอเงินช่วยเหลือจากกระทรวงการคลังที่มีปัญหาด้านการเงินในเรื่องข้อจำกัดด้านกฎหมาย

“การเข้าพบท่านนายกฯ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาเพื่อรายงานว่าบอกท่านว่า การบินไทยจะต้องมีแก้แผนฟื้นฯ ไม่ได้ขอให้ท่านเห็นชอบสนับสนุนการแผนฟื้นฟูฯ เพราะรัฐจะไม่นำเงินทุนใหม่ใส่เข้ามาตามที่แผนฟื้นฟูฯ เดิมที่กำหนดของแผนเดิม ในขณะเดียวกันเมื่อรัฐไม่ใส่เงินใหม่เข้ามาตามแผนฟื้นฟูฯ ที่จะแก้เงื่อนไขใหม่จะมีเรื่องที่ตามมาที่ฝากให้ภาครัฐไปคิดต่อว่า เพราะเงื่อนไขแผนฟื้นฟูฯกำหนดว่าหากใครใส่เงินใหม่เข้ามามีสิทธิ์ที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุนของการการบินไทยได้ราคาหุ้นละ 2.54 บาท เพราะฉะนั้นหากรัฐไม่ใส่เงินใหม่เข้ามาหรือไม่ทำอะไรเลย แต่เอกชนใส่เงินเข้ามา 25,000 ล้านบาท มีสิทธิ์ซื้อหุ้นเพิ่มทุนจะส่งผลให้กระทรวงการคลังจะมีสัดส่วนการถือหุ้นในการบินไทยลดลงจากปัจจุบันที่มีสัดส่วน 48% จะลงมาเหลือแค่ 8% ซึ่งเป็นการบ้านที่ฝากให้ภาครัฐไปคิดว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ ได้เสนอทางเลือกไปหลายแนวทางนำเสนอให้กระทรวงการคลังรับไปพิจาณาเป็นทางเลือกไม่ได้บีบรัฐบาลต้องใส่เงิน

โดยหากยังต้องการรักษาให้สัดส่วนการถือหุ้นของรัฐในการการบินไทยอยู่ในระดับสูงต่อไปก็สามารถใช้การแปลงหนี้เป็นทุนได้โดยใช้สิทธิ์ราคาหุ้นละ 2.54 บาทก็ได้ เพราะตอนนี้กระทรวงการคลังเป็นเจ้าหนี้การบินไทยอยู่จำนวน 13,000 ล้านบาท หรืออาจจะแก้แผนให้การบินไทยออกหุ้นเพิ่มขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิม(RO) ได้เพื่อขายให้กระทรวงการคลังได้ เพราะถ้านับรวมกระทรวงการคลัง กองทุนรวม วายุภักษ์ และธนาคารออมสิน ซึ่งรัฐจะถือหุ้นรวมในการบินได้สัดส่วน 67% ทำให้มีสิทธิ์ในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน RO ได้ตามสัดส่วนนี้ ซึ่งเราอยากได้คำตอบจากฝั่งรัฐเร็วที่สุดเพราะได้เร่งเดินหน้าแผนฟื้นฟูฯต่อไป” นายปิยสวัสดิ์ กล่าว

สำหรับหลักทรัพย์ที่จะใช้ค้ำประกันคือ หากมีการกู้เงินจำนวน 25,000 ล้านบาทจากเอกชน คือ ที่ดินพร้อมอาคารสำนักงานใหญ่ ของการบินไทย ถนนวิภาวดีรังสิต ขนาดพื้นที่ประมาณ 30 ไร่ อีกทั้งยังมีทรัพย์สินอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศด้วย อาทิ ในฮ่องกง อังกฤษ และยังเครื่องบินที่ไม่ได้ใช้งานอีกจำนวน 42 ลำซึ่งทยอยเซ็นสัญญาทยอยขายไปแล้วจำนวน 11 ลำซึ่งได้ราคาขายในระดับที่ดีกำลังจะได้รับเงินเข้ามา

ขณะที่รายระเอียดการกู้ยืมเงินจำนวนดังกล่าวนี้อยู่ระหว่างการจัดทำว่าจะเป็นเจ้าหนี้สถาบันการเงินเดิมทั้งหมดหรือมีการกู้จากสถาบันการเงินแห่งใหม่หรือจัดเงินในรูปแบบใดด้วยซึ่งคาดว่าบริษัทจะได้รับสนับสนุนเงินกู้จาเอกชนจำนวน 25,000 ล้านบาทในช่วงต้นปีหน้า

“สิ่งที่เราต้องแสดงให้สถาบันการเงินเห็นคือ การบินไทยรอดได้แน่นอนซึ่งคนอาจไม่เชื่อทั้งหมด แต่โครงการต่างๆ ที่บริษัทได้ทำในเรื่องการปรับปรุงลดค่าใช้จ่ายปีละ 45,000 ล้านบาท หากสามารถกลับมาบินได้ตามปกติ โดยเมื่อดูผลการดำเนินงานของการบินไทยในเดือน ต.ค.ปีนี้มีสัญญาณที่ดีมากเพราะเป็นเดือนแรกที่การบินไทยเริ่มมีกำไรจากการดำเนินงาน หลังจากหักรายการพิเศษเป็นเดือนแรกนับตั้งแต่มีโควิดระบาด และยอดจองตั๋วเดินทางก็ปรับดีขึ้นมาก” นายปิยสวัสดิ์ กล่าว

นอกจากนี้ปัจจุบันบริษัทมีสภาพคล่องจำนวน 6,000 ล้านบาท รวมทั้งจะทยอยได้รับเงินจากการขายเครื่องบินที่ไม่ได้ใช้งานเพิ่มเติมเข้ามาซึ่งเชื่อว่าจะยังเพียงพอรองรับการทำธุรกิจได้ในระยะเวลาพอสมควร

ปัจจุบันบริษัทค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินสดประมาณ 1,000-2,000 ล้านบาทต่อเดือน ส่วนรายได้ที่เป็นเงินสดรับมาจากตั๋วโดยสารธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Cargo) เดือน ต.ค.ปีนีัอยู่ที่่ประมาณ 1,200 ล้านบาท และแนวโน้มในเดือน พ.ย.นี้ คาดว่าจะปรับเพื่มสูงขึ้นอีก เนื่องจากตั้งแต่เดือน ต.ค.ปีนี้เป็นต้นมามียอดตั๋วโดยสารล่วงหน้าของการการบินไทยที่การเดินระหว่างเดือน พ..ย.-ธ.ค.ปีนี้ และ เดือน ม.ค.ปีหน้ามียอดจองเพิ่มขึ้นอย่างมาก

advertisement

ข่าวยอดนิยม