งูสวัด หนึ่งในโรคตุ่มน้ำใส พัฒนาจากโรคอีสุกอีใส กลุ่มคนทำงานขาดการพักผ่อนอาจเกิดการกำเริบได้ รอยโรคที่คล้ายคลึงแต่ต่างจาก เริม
เมื่อพูดถึงอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นได้บ่อยในประเทศไทย อาการดังกล่าวอาจหนีไม่พ้น งูสวัด หนึ่งในอาการป่วยที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะกลุ่มที่วัยทำงาน โดยเฉพาะคนที่ต้องใช้เวลาทำงานเยอะ มีความเครียดเกิดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว โดยตัวแปรหนึ่งที่ชัดเจนที่อาจทำให้เกิดรอยโรคนี้ได้ก็คือ การพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนไม่เป็นเวลา
งูสวัด เป็นโรคติดเชื้อทางผิวหนัง มักเกิดกับผู้ป่วยที่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อนในตอนเด็ก เมื่อหายแล้วไวรัสจะยังซ่อนตัวอยู่ในปมประสาท โดยที่จะแสดงอาการอีกครั้งเมื่อร่างกายอ่อนแอ ซึ่งสามารถเกิดความเสี่ยงได้กับอดีตผู้ป่วยทุกราย ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นผู้สูงอายุเท่านั้น ถึงจะมีความเสี่ยงในการเป็นงูสวัด
โรคงูสวัด เกิดจากอะไร
งูสวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella zoster virus: VZV) ที่เมื่อติดเชื้อครั้งแรกจะทำให้เป็นโรคอีสุกอีใส หลังจากหายแล้วไวรัสที่ก่อรอยโรคจะซ่อนตัวในปมประสาท และจะแสดงอาการอีกครั้งเมื่อพูมิต่ำ โดยแพร่ะกระจายไปตามประสาทรับความรู้สึก จนทำให้เส้นประสาทอักเสบ และปล่อยเชื้อไวรัสออกมาตามผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นตามแนวเส้นประสาท
อาการ โรคงูสวัด
โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยโรคงูสวัด จะมีอาการที่แบ่งออกได้ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเริ่มมีอาการ, ระยะออกผื่น และระยะฟื้นหายจากโรค โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณผิวหนัง จากนั้น 2-3 วันจะมีผื่นแดงขึ้นบริเวณดังกล่าว ก่อนที่ตุ่มนั้นจะเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำใส เปลี่ยนสภาพกลายเป็นแผลและตกสะเก็ดหายได้เองใน 2 สัปดาห์
ถึงแม้ต้นตอการป่วยโรคงูสวัด จะมีสาเหตุมาจากเชื้อโรคเดียวกันกับอีสุกอีใส แต่มีความอันตรายมากกว่าเท่าจัว เพราะหากงูสวัดเกิดขึ้นในบริเวณที่เป็นเส้นประสาทอันตราย อาจทำให้เกิดอาหารแทรกซ้อนอื่น เช่น งูสวัดเกิดบริเวณเส้นประสาทตา อาจทำให้เกิดการตาบอดหรือเยื้อหุ้มสมองอักเสบได้
อาการแทรกซ้อน โรคงูสวัด
- ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย เช่น การปวดเรื้อรังตามแนวเส้นประสาท สามารถพบได้บ่อยในผู้ป่วยอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
- ภาวะแทรกซ็อนอื่น เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม ตาอักเสบ แผลที่กระจกตา
- ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ส่งผลถึงสมอง หรือปอดอักเสบ ซึ่งสามารถพบได้น้อย
- ภาวะแทรกซ้อนในผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ในผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิ โรคงูสวัดอาจสร้างความรุนแรงกับโรคประจำตัว
กลุ่มเสี่ยง โรคงูสวัด
- ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี
- ผู้ที่ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย
- ผู้ป่วยใช้ยาที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว
ความแตกต่างระหว่าง อีสุกอีใส งูสวัด เริม
ในผู้ป่วยที่มีอาการป่วยด้วยโรคที่มีอาการเป็นตุ่มน้ำใส ปวดแสบปวดร้อน เจ็บ หรือคันบริเวณดังกล่าว มี 3 โรคที่มีความคล้ายคลึงกัน ได้แก่ อีสุกอีใส งูสวัด และ เริม ทั้งในแง่ของรอยโรคและอาการ ซึ่งโรคทั้ง 3 ชนิด เกิดจากไวรัสในกลุ่ม HerpesFamily ที่มีอาการคล้ายคลึงกัน ทำให้เกิดอาการคล้ายกัน
- อีสุกอีใส : เกิดผื่นหรือตุ่มน้ำใสตามร่างกาย เกิดขึ้นครั้งเดียวและไม่เป็นซ้ำอีก แต่อาจพัฒนาเป็นงูสวัดในอนาคตได้ มักพบในเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี
- งูสวัด : เกิดผื่นหรือตุ่มน้ำบริเวณเอว แขน ขา หรือใบหน้า มักเรียงเป็นกลุ่มหรือแถวตามแนวเส้นประสาท มักหายได้เองใน 1-2 สัปดาห์
- เริม : เกิดตุ่มน้ำใสบริเวณปาก หรืออวัยวะเพศ ตุ่มน้ำจะแตกและตกสะเก็ด ในครั้งแรกที่ได้รับเชื้ออาจมีอาการ 2-6 สัปดาห์ และเมื่อเป็นแล้วจะไม่สามารถหายขาด เป็นแล้วเป็นซ้ำได้อีก 3 ครั้งภายในหนึ่งปี มักมีอาการในบริเวณฌดิมหรือมกล้เคียงบริเวณเดิม
งูสวัดพันรอบตัว จะทำให้เสียชีวิตจริงหรือไม่
ความเชื่อเรื่องงูสวัดพันรอบตัว จะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตไม่เป็นความจริง เพราะผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการป่วยขึ้นพร้อมกันได้ 2 ด้าน ทั้งซ้ายและขวาจนเหมือนโดนพันรอบตัว
ผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคงูสวัดส่วนใหญ่ เกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ร่วมกันกับภาวะแทรกซ้อนอื่น ซึ่งการติดเชื้อไวรัสในกลุ่ม HerpesFamily มีโอกาสที่จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา แต่ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวมักพบในกลุ่มผู้แวยที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวในการใช้ยากดภูมิ
เพื่อไม่ให้เกิด โรคงูสวัด การพักผ่อนให้เพียงพอ ร่วมกับการเลี่ยงการสัมผัสผื่นใดก็ตามจากผู้ป่วยอื่น เพราะการสัมผัสกับผู้ที่มีเชื้ออาจทำให้เป็นต้นเหตุของการเกิดรอยโรคได้ โดยเฉพาะในผู้ที่ไม่เคยมีประวัติเป็นอีสุกอีใส หากพบว่าตนเองมีตุ่มใสขึ้นตามผิวหนังในเวลากลางคืน เมื่อตื่นแล้วรู้สึกถึงตุ่มน้ำหรือปวดบริเวณดังกล่าว ให้ต้องสงสัยว่าเป็นโรคงูสวัดไว้ก่อน และรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างถูกต้องต่อไป
ที่มา : โรงพยาบาลศิริราช (siphhospital.com) / โรงพยาบาลพญาไท (phyathai.com) / บทความเรื่องความแตกต่างระหว่างโรคเริม งูสวัด อีสุกอีใส โดย ภญ.อรพรรณ สุวรรณประดิษฐ์ (Herpes Zoster.pdf)