Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ออฟฟิศซินโดรม โรคยอดฮิตวัยทำงาน เพราะพฤติกรรมนั่งทำงานนานเกินไป !

ออฟฟิศซินโดรม โรคยอดฮิตวัยทำงาน เพราะพฤติกรรมนั่งทำงานนานเกินไป !

14 ส.ค. 67
18:15 น.
|
442
แชร์

ออฟฟิศซินโดรม โรคยอดฮิตวัยทำงาน เหล่าพนักงานผู้ใช้คอมพิวเตอร์ หมั่นสังเกตตัวเองให้ดี ปวดคอ บ่า ไหล่ เพราะนั่งทำงานนานเกินไป

โรคยอดฮิตวัยทำงาน ที่แม้กระทั่งเด็กจบใหม่เพิ่งเริ่มเป็น First Jobber ก็สามารถเป็นได้ หนีไม่พ้น ออฟฟิศซินโดรม ที่โดยส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมนั่งติดเก้าอี้ และไม่ลุกออกจากโต๊ะทำนาน เป็นเวลานานติดต่อกันหลายชั่วโมง โดยเป็นการทำงานในท่าเดิมโดยไม่มีการเคลื่อนไหว อีกทั้งเครื่องใช้สำนักงานบางอย่างไม่ได้รอบรับสรีระการทำงานที่ดี จนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาหารปวดหลัง ปวดคอ บ่าไหล่ จนสุดท้ายแล้ว แม้จะลุกเดินเพื่อทำการยืดเส้น ก็ไม่สามารถช่วนคลายกล้ามเนื้อที่ตึงได้

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร ?
ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) คือ อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด เป็นผลมาจากการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิม ทำงานเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานานต่อเนื่อง ทำให้เกิดกอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยตามเนื้อตัว โดยเฉพาะบริเวณคอ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ซึ่งหากมีอาการเข้าข่ายแต่ยัไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือยังไม่เข้ารับการรักษาา อาจเปลี่ยนจากอาการเจ็บป่วยเป็นครั้งคราว พัฒนาเป็นแบบเรื้อรังก็เป็นได้

อาการออฟฟิศซินโดรม
ผู้ป่วยโดยมาก มีอาการปวดกล่ามเนื้อส่วนต่าง ๆ อาทิ คอ บ่า ไหล่ หลัง แขน ข้อมือ นิ้วมือ นิ้วล็อก เอว สะโพก บางรายอาจมีอาการปวดกระบอกตา ในผู้ป่วยบางรายอาจมีความดันสูง อาหารไม่ย่อย ท้องอืด นอนหลับยาก รวมไปถึงอาการหลับ ๆ ตื่น ๆ ระหว่างคืนด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้เมื่อเวลาผ่านไปจะส่งผลเสียต่อรับบต่าง ๆ ของร่างกาย จนเกิดเป็นผลกระทบต่อการใช้ชีวิต

สังเกตอาการเสี่ยง ออฟฟิศซินโดรม

  • ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน โดยไม่สามารถระบุตำแหน่งได้
  • ปวดวิงเวียนศีรษะเรื้อรัง หรือปวดไมเกรนร่วมด้วย
  • ปวดหลังจากการนั่งทำงานเป็นเวลาต่อเนื่อง
  • ปวด หรือเหน็บชาบริเวรขา ทั้งจากการนั่งหรือใส่ส้นสูงติดต่อกัน
  • มีอาการตาล้า หรือตาพร่ามัว เกิดจากการจ้องคอมพิวเตอร์เป็นเวลาต่อเนื่อง
  • มีอาการมือชา นิ้วล็อก ปวดข้อมือ ปวดข้อนิ้ว จากการทำงานเป็นเวลาต่อเนื่อง

 

ระยะอาการ ออฟฟิศซินโดรม

1. ระยะเริ่มต้น
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม มักเริ่มจากการปวดเมื่อย ขณะที่ทำงานหรือหลังเลิกงาน เมื่อยืดเส้นหรือเปลี่ยนท่า รวมไปถึงการพักจะดีขึ้น แต่จะเริ่มเป็นบ่อยครั้ง หากปล่อยไว้จะเกิดเป็นระยะเรื้อรัง อาการปวดจะหายยากกว่าเดิม

2. ระยะเรื้อรัง
เมื่อมีอาการปวดหลังแล้วไม่ดีขึ้น เริ่มเป็นบ่อยขึ้น ปรับเปลี่ยนท่านั่งหรือลุกเดินแล้วก็ยังไม่หายดี อาการปวดจะเริ่มรบกวนการใช้ชีวิต เริ่มต้องเดินหรือพักมากกว่าปกติ การปวดหลังเริ่มส่งผลกระทบต่อการทำงาน

3. ระยะรุนแรง
ผู้ป่วยระยะรุ่นแรง จะมีอาการปวดตามกล้ามเนื้อต่าง ๆ ตลอดเวลา จะเริ่มมีอาการชา หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงบ่อยขึ้น ตาพร่ามัว ปวดหัวร่วมกับอาการไมเกรน ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จนอาจทำให้ไม่สามารถทำงานปกติได้

พฤติกรรมเสี่ยง ออฟฟิศซินโดรม

  • ทำงานลักษณะเดิม ๆ ต่อเนื่อง อย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน โดยไม่ค่อยเปลี่ยนอิริยาบท
  • มีอาการปวดทันทีหลังเริ่มงานภายใน 2-3 ชั่วโมง หรือปวดหลังการเลิกงาน
  • สถาพแวดล้อมการทำงานไม่เหมาะสม บรรยากาศไม่ถ่ายเท โต๊ะ-เก้าอี้ไม่เหมาะกับสรีระ
  • ไม่ค่อยเคลื่อนไหว หรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 

แนวทางการรักษา ออฟฟิศซินโดรม

ปัจจุบันการรักษาออฟฟิศซินโดรม สามารถทำได้หลายวิธี เริ่มจากวิธีที่ง่ายสุดคือ การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ร่วมกับการทานยารักษา บางรายอาจต้องทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย รวมถึงการออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้ออย่างถูกวิธี นอกจากนี้ยังมีการฝังเข็มแบบสลายจุดปวด, การนวดแผนไทย, การนวดบำบัด รวมถึงอาการออฟฟิศซินโดรมที่ต้องทำการรักษาด้วยการทำประคบร้อน การทำอัลตราซาวนด์ การทำช็อกเวฟ หรือการดึงคอดึงหลัง เพื่อทำให้อาการปวดลดลง ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ เพื่อรักษาได้อย่างถูกต้อง

นอกจากนี้แล้ว ผู้ที่รู้ตัวว่ามีพฤติกรรมสำหรับพนักงานที่ทำงานเป็นเวลานานติดต่อกัน ขั้นก่อนการเป็นออฟฟิศซินโดรมคือมีพฤติกรรมหน้ายื่น ไหล่ห่อ ที่เกิดจากการนั่งที่ไม่ถูกวิธี นำมาซึ่งอาการปวดหลังอย่างต่อเนื่อง ต้องหมั่นลุกเดิน หรือหาวิธีปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสมกับสรีระ ควบคู่กับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน ด้วยการลุกเดินหรือพักสายตาในทุก 1 ชั่วโมง เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลายจากการหดเกร็ง

อย่าปล่อยอาการปวดที่คิดว่าเดี๋ยวก็หายไว้ เพราะในอนาคตอาจกลายเป็นความเจ็บปวดเรื้อรัง นำมาซึ่งการสร้างผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษาระยะยาวอย่างแน่นอน

 

ที่มา : สสส. (thaihealth.or.th) / โรงพยาบาลรามาธบดี (rama.mahidol.ac.th)

Advertisement

แชร์
ออฟฟิศซินโดรม โรคยอดฮิตวัยทำงาน เพราะพฤติกรรมนั่งทำงานนานเกินไป !