รถไฟไทย -จีน”สปีดไม่ขึ้น“โควิด”ห้ามย้ายแรงงาน 4 สัญญาเลื่อนแผนก่อสร้างไปต้นปี 65

27 ก.ค. 64

บอร์ดรฟท.เคาะขยายเวลาสัญญาที่ปรึกษาบริหารโครงการไฮสปีด”ไทย-จีน” อีก2ปีโดยไม่เพิ่มค่าจ้างให้สอดคล้องกับงานระบบสัญญา 2.3เผยพิษโควิดห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานกระทบ4
สัญญาชะลอเข้าพื้นที่เลื่อน NTPไปต้นปี65

นายนิรุฒมณีพันธ์ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด)
รฟท.เมื่อวันที่21ก.ค.ที่ผ่านมา มีมติอนุมัติขยายเวลาทำการตามสัญญางานจ้างที่ปรึกษาเพื่อบริหารโครงการ
ควบคุมงานออกแบบและติดตั้งระบบรถไฟและรับรองความปลอดภัยของระบบรถไฟ โครงการความร่วมมือ
ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร
-หนองคาย(ระยะที่1ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) ระยะทาง253 กม.เป็น
การขยายเวลาสัญญาโดยไม่มีการเพิ่มวงเงินค่าจ้างใดๆทั้งนี้เพื่อให้การทำงานของที่ปรึกษาฯสอดคล้อง
กับงานสัญญา2.3(งานระบบรางระบบไฟฟ้า และเครื่องกลรวมทั้งจัดหาขบวน
รถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร) เนื่องจากสัญญา
2.3มีการลงนามล่าช้า

แหล่งข่าวจากรฟท.กล่าวว่าสัญญาจ้างที่ปรึกษาเพื่อบริหารโครงการควบคุมงานออกแบบและติดตั้งระบบรถไฟและรับรองความปลอดภัยของระบบรถไฟไทย-จีน(PMSC) วงเงินประมาณ1,200ล้านบาทระยะเวลาสัญญา 60เดือนโดยจะขยายระยะเวลาออกไปเป็น85เดือนหรือจะสิ้นสุดสัญญาว่าจ้าประมาณ
เดือน เม.ย. 2569โดยไม่มีการปรับเพิ่มวงเงินค่าจ้าง

“รฟท.ได้ทำสัญญาจ้างที่ปรึกษาบริหารโครงการ (PMSC)ซึ่งเป็นบริษัทไทย
เพื่อช่วยรฟท.บริหารโครงการ ซึ่งเป็นคนละส่วน กับสัญญา
2.1งานออกแบบโครงสร้างพื้นฐานด้านโยธาสัญญา2.2
งานจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านโยธาสัญญา 2.3งานระบบรางระบบไฟฟ้าและเครื่องกลฯที่ทำสัญญาจ้างจีน”

@พิษโควิดห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานกระทบ4สัญญาชะลอก่อสร้างเลื่อนNTPไปต้นปี65

แหล่งข่าวจากรฟท.กล่าวว่าการก่อสร้างงานโยธา รถไฟไทย-จีนส้นทาง กรุงเทพฯ-นครราชสีมาระยะทาง250.77 กม.วงเงินลงทุน 179,412.21 ล้านบาท
จำนวน14สัญญานั้นลงนามสัญญาไปแล้ว11 สัญญา โดยก่อสร้างเสร็จแล้ว1
สัญญาคือสัญญา1-1ช่วงกลางดง-ปางอโศกอยู่ระหว่างก่อสร้าง6สัญญาโดยการก่อสร้างจนถึงวันที่30มิ.ย. 2564มีความคืบหน้าดังนี้

สัญญา2-1ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง11กม.วงเงิน 3,114.98ล้านบาทมีบจ.ซีวิลเอ็นจีเนียริงเป็นผู้ก่อสร้างคืบหน้า64.93 %,สัญญาที่3-2อุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคองระยะทาง 12.23กม. วงเงิน4,279ล้านบาทมีบมจ. เนาวรัตน์พัฒนาการเป็นผู้ก่อสร้างคืบหน้า0.056%, สัญญา3-3ช่วงบันไดม้า-ลำตะคองระยะทาง21.6กม.
วงเงิน9,838ล้านบาทมีบมจ.
เอ็นยิเนียร์ และอุตสาหกรรมเป็นผู้ก่อสร้างคืบหน้า0.10%

สัญญา3-4ช่วงลำตะคอง-สีคิ้วและช่วงกุดจิก-โคกกรวดระยะทาง37.45กม.วงเงิน
9,848ล้านบาทมีบมจ.
อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์เป็นผู้ก่อสร้างคืบหน้า1.74 % , สัญญา3-5ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง
12.38กม.วงเงิน7,750ล้านบาทมีกิจการร่วมค้าSPTK (นภาก่อสร้างร่วมกับรับเหมาประเทศมาเลเซีย)เป็นผู้ก่อสร้างคืบหน้า0.259%
สัญญา4-7ช่วงสระบุรี-แก่งคอยระยะทาง12.99กม.
วงเงิน8,560ล้านบาทมีบจ.ซีวิลเอ็นจีเนียริงเป็นผู้ก่อสร้าง
คืบหน้า0.79%

ส่วนอีก4สัญญาที่มีการลงนามแล้วและอยู่ระหว่างการเตรียมพื้นที่เพื่อส่งมอบและออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน(Notice to Proceed : NTP)นั้น
เนื่องจากสถานการณ์ โควิด-19มีการห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานทำให้ต้องปรับแผนงานและเลื่อนการเข้าพื้นที่ก่อสร้างออกไปโดยคาดว่าจะออกNTPเริ่มงานได้ช่วงต้นปี2565

โดย3สัญญาที่ลงนามเมื่อวันที่29มี.ค.2564ได้แก่สัญญา4-3ช่วงนวนคร-บ้านโพระยะทาง23กม.วงเงิน
11,525ล้านบาทมีกิจการร่วมค้าCAN (บจ.เอ.เอสแอสโซศซิเอทเอนยิเนียริ่ง(1964) ,บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ
และบริษัทไชน่าสเตทคอนสตรัคชั่นเอนยิเนียริ่ง
คอร์ปอเรชั่นลิมิเต็ด)เป็นผู้ก่อสร้าง,สัญญา4-4งานศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย
วงเงิน6,573 ล้านบาทมีบมจ.
อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์เป็นผู้ก่อสร้าง,สัญญา4-6ช่วงพระแก้ว-สระบุรีระยะทาง31.60กม.วงเงิน 9,428
ล้านบาทมีบมจ.ยูนิคเอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น
เป็นผู้ก่อสร้าง

อีก1สัญญาที่ลงนามเมื่อวันที่5ก.ค.2564คือสัญญา4-2ช่วงดอนเมือง - นวนคร วงเงิน10,570ล้านบาทมีบมจ.บริษัทยูนิคฯเป็นผู้รับเหมา

“การก่อสร้างรถไฟไทย-จีนส่วนใหญ่อยู่นอกเมืองนอกเขตชุมชนจึงไม่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19ดังนั้นงานที่ก่อสร้างอยู่ยังดำเนินการไปตามแผนส่วนสัญญาที่เพิ่งลงนามต้องชะลอเริ่มงานเพราะติดเรื่องเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างไรก็ตามหลังจากนี้คงจะต้องมีการปรับไทม์ไลน์แผนงานโครงการในภาพรวมใหม่ทั้งหมดเนื่องจากงานโยธาไม่เป็นไปตามแผนงานเดิมจากผลกระทบต่างๆและยังเหลืออีก3สัญญาที่ยังไม่ได้ลงนาม”

@ส่งร่างTORให้ยูเนสโกตรวจทานก่อนจ้างศึกษาHIAสถานีอยุธยา

สำหรับช่วงผ่านพื้นที่มรดกโลกพระนครศรีอยุธยาซึ่งรฟท.จะศึกษาเรื่องHIA (Heritage Impact Assessment)ผลกระทบมรดกวัฒนธรรมนั้นขณะนี้ได้จัดทำร่างTORและหารือกับกรมการขนส่งทางราง(ขร.)ผู้แทนยูเนโกในไทยแล้วซึ่งอยู่ระหว่างส่งหารือผู้เชี่ยวชาญของยูเนสโกหากไม่มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมรฟท.จะเร่งจัดซื้อจัดจางศึกษาHIAต่อไปโดยวงเงินว่าจ้างราว50ล้านบาทระยะเวลาศึกษา180วัน

advertisement

Powered by Positioning

คุณอาจสนใจ

ข่าวยอดนิยม

ไลฟ์สไตล์ ล่าสุด