ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ารถจักรยานยนต์นั้นเป็นยานพาหนะที่เสี่ยงเกิดอันตรายมาก การขับขี่รถจักรยานยนต์ หรือมอเตอร์ไซค์ เป็นหนึ่งในการเดินทางที่สะดวก คล่องตัว และรวดเร็ว ไปถึงที่หมายไว แต่เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์ ก็วิธีขับขี่รถจักรยานยนต์ให้ปลอดภัย ไม่ต้องไปนอนใต้สิบล้อ มาบอกกัน
ฝึกทักษะการขับขี่
ผู้ขับขี่ต้องเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการขับขี่อย่างปลอดภัย ซึ่งปัจจุบันก็มีการเปิดอบรมขับขี่ปลอดภัยมากมาย หรือ หากคิดว่าสามารถฝึกเองได้ ก็หมั่นเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการขับขี่อย่างปลอดภัยอยู่เสมอ สำคัญที่สุดในการขัขขี่มีสติไม่ประมาท
ตรวจสภาพความพร้อม
ผู้ขับขี่ควรตรวจสภาพความพร้อมของรถจักรยานยนต์อยู่เสมอ ตรวจสอบระบบเบรก ระบบไฟ ระบบไฟส่องสว่าง ยาง และอุปกรณ์พื้นฐานจำเป็นของรถควรอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ หากมีชิ้นส่วนใดที่เสีย เช่น ไฟเลี้ยว ซึ่งสำคัญมาก ให้รีบเปลี่ยนทันที และความพร้อมด้านร่างกาย ไม่เหนื่อยล้าเกินไป
ปฏิบัติตามกฎจราจร
กฎไม่ได้มีไว้แหก กฎมีไว้ให้ปฏิบัติ ต้องปฏิบัติตามกฎจราจรเสมอ ส่งสัญญาณเปิดไฟเลี้ยวเสมอ ไม่ขับขี่รถเร็วเกินกฎหมายกำหนด ไม่ขับรถย้อนศร ไม่ขึ้นทางเท้า ไม่แทรกหรือแซงไปในช่องทางแคบๆ หรือช่องว่างระหว่างรถยนต์ ไม่ขับขี่ปาดไปมา ไม่เปลี่ยนเลนกระทันหัน ในระยะกระชั้นชิด ไม่จอดในที่ห้ามจอด
เมาไม่ขับ
ข้อนี้ชัดเจน เมื่อดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินกำหนด หากเกิดมึนเมา ควรให้คนรู้จักมารับ หรือใช้แอปพลิเคชันเรียกรถ หากต้องขับขี่ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ พักผ่อนให้เพียงพอ หากผู้ขับขี่สภาพร่างกายไม่พร้อม ไม่ควรขับขี่ นอกจากเป็นอันตรายแก่ตัวเองแล้ว ยังรวมถึงผู้ร่วมทางอีกด้วย
ไม่ขับแซง เปลี่ยนเลนกะทันหัน
ไม่ขับขี่แซง ในระยะกระชั้นชิด ควรให้สัญญาณไฟล่วงหน้าทุกครั้งที่จะมีการเปลี่ยนเลน หรือเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา และต้องมองให้ดีเสมอว่าปลอดภัยแล้ว ค่อยเปลี่ยนเลน
เลี่ยงเข้าใกล้รถบรรทุก หรือจุดบอด
หากมีรถบรรทุกคันใหญ่ ขับมาใกล้ ให้เลี่ยง ปล่อยให้รถใหญ่นั้นผ่านไปก่อน เนื่องจากรถบรรทุกคันใหญ่มองเห็นรถจักรยานยนต์ไม่ชัดเจน ซึ่งเป็นจุดบอด บริเวณด้านขวา และด้านหน้า เพราะความสูงของรถบรรทุกทำให้มองไม่เห็นรถเล็กด้านหน้าและด้านหลัง เนื่องจากกระจกมองหลังจะไม่สามารถเห็นด้านหลังของรถได้ และด้านซ้ายของรถบรรทุก ที่มีทัศนวิสัยแคบ หากขับไปใกล้บริเวณที่กล่าวมานั้นเสี่ยงอันตราย
สวมหมวกกันน็อก
ให้คิดอยู่เสมอว่า ถ้าต้องขับขี่จักรยานยนต์ออกจากบ้านให้สวมหมวกนิรภัย หรือหมวกกันน็อกทุกครั้ง ทั้งผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้าย สวมใส่และรัดสายรัดคางให้แน่นกระชับพอดี หมวกกันน็อกต้องมีเครื่องหมาย มอก. ซึ่งประเภทของหมวกนิรภัย ก็มีหมวกนิรภัยแบบเต็มใบปิดหน้า หมวกนิรภัยแบบเต็มใบเปิดหน้า หมวกนิรภัยแบบครึ่งใบ เลือกใช้ได้ตามความสะดวก รวมไปถึงแต่งกายรัดกุม หากพลาดพลั้งรถล้มจะช่วยป้องกันไม่ให้ผิวหนังถลอก และเป็นแผลรุนแรงได้ รวมถึงหมวกกันน็อกจะช่วยลดการบาดเจ็บจากการกระแทกบริเวณศีรษะได้อีกด้วย
ไม่ดัดแปลงสภาพรถ
จะเห็นได้ว่า วัยรุ่นชอบแต่งรถ นำรถไปแต่งดัดแปลงสภาพพวกล้อและยาง เอากระจกมองข้างออก แต่งท่อไอเสีย ซึ่งทุกอย่าง ไม่ควรดัดแปลง หรือถอดชิ้นส่วนใดออก ควรให้เป็นไปตามมาตรฐานจากโรงงานผู้ผลิต เนื่องจากอุปกรณ์ของรถทุกชิ้นที่ติดตั้งมาจากโรงงานผู้ผลิต ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานความปลอดภัยในการใช้งานมาแล้ว การดัดแปลงสภาพนั้น นอกจากไม่ปลอดภัยแล้ว ก็ทำให้ผิดกฎหมายได้เช่นกัน
การขับขี่รถจักรยานยนต์ทางโค้ง
การขับขึ้นทางลาดชัน
การขับลงทางลาดชัน
เมื่อขับรถลงจากเนิน
และทั้งหมดที่นำมาฝากชาวสองล้อ ก็ลองปฏิบัติตามไม่ใช่เรื่องยาก เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุต่อตัวผู้ขับขี่เอง และผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกันจะได้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น