Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
เมื่อต้องโดยสารรถบัส ปฏิบัติอย่างไรให้ปลอดภัย เมื่อภัยมาถึงตัว
โดย : อมรินทร์ นิวส์ - ยานยนต์

เมื่อต้องโดยสารรถบัส ปฏิบัติอย่างไรให้ปลอดภัย เมื่อภัยมาถึงตัว

6 ต.ค. 67
15:45 น.
|
1.2K
แชร์

อุบัติเหตุ เป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิด การเตรียมรับมือเป็นสิ่งที่ควรเตรียมตัว สนใจฟัง และรับชมการสาธิต เช่น เวลาโดยสารเครื่องบิน เหล่าลูกเรือ จะทำการสาธิตวิธีการเอาตัวรอดในสถาณการณ์ฉุกเฉิน

การโดยสารรถบัสโดยสารก็เช่นกัน ถึงแม้ไม่ได้มีผู้สาธิต แต่บนรถบัสจะมีอุปกรณ์ช่วยเหลือ และทางออกฉุกเฉิน ซึ่งหากเราจำเป็นต้องโดยสาร อย่างแรก อยากให้มีสติให้มากๆ สติเท่านั้น ที่จะทำให้รอดพ้นจากภัยร้ายได้ไม่มากก็น้อย และขอให้สังเกต 3 สิ่งเหล่านี้อยู่เสมอ เพื่อให้สามารถรับมือ ได้อย่างทันต่อสถานกาณ์ และหาทางหนีทีไล่ได้ทันเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน

3 สิ่งที่รถบัสต้องมี

ประตูทางออกฉุกเฉิน

สิ่งที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนเสมอ เมื่อขึ้นรถแล้วให้สังเกต เพราะถือเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อความอุ่นใจบนรถบัสอันดับแรกๆ ที่ต้องมอง เพราะจะช่วยให้สามารถออกจากรถบัสได้ในขณะเกิดเหตุฉุกเฉิน นอจากประตูรถทางขึ้นลงแล้ว ที่ประตูทางออกออกฉุกเฉินจะต้องมีสัญลักษณ์ แสดงให้เห็นว่า นี่คือ ประตูทางออกฉุกเฉิน ซึ่งทั้งภายในและภายนอกตัวรถ ต้องระบุตำแหน่งของประตูนั้น เช่นเป็นประตูทางออกที่อยู่ด้านท้ายของตัวรถ ต้องมีข้อความว่า “ทางออกฉุกเฉิน” เป็นอักษรภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ เป็นสีที่สะดุดตา เช่น สีแดงสะท้อนแสง ติดอยู่กับประตูทางออกฉุกเฉิน

แต่สำหรับรถบัสที่มีประตูขึ้นลงและประตูทางออกฉุกเฉินบานเดียวกันอยู่ด้านหน้ารถ ประตูฉุกเฉินจะต้องมีขนาดทางออกไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร ความสูงไม่น้อยกว่า 120 เชนติเมตร อยู่ในตำแหน่งด้านขวากลางของตัวรถ หรืออาจจะค่อนไปทางท้ายรถ ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ และประตูฉุกเฉินจะต้องสามารถเปิดได้โดยไม่ต้องใช้กุญแจหรืออุปกรณ์ใดๆ เมื่อเกิดอุบัติเหตุประตูจะต้องเปิดได้เต็มทั้งส่วนกว้างและความสูง ที่สำคัญจะต้องไม่มีสิ่งติดตั้งถาวรกีดขวางทางออก เมื่อเกิดเหตุ จะต้องพร้อมใช้งาน

ถังดับเพลิง

เป็นอุปกรณ์ฉุกเฉินอีกอย่างหนึ่งที่บนรถควรมี ไม่ใช่แค่รถบัสทุกคันควรมีเท่านั้น รถบ้านก็อาจจะมีติดไว้เพื่อความอุ่นใจได้เช่นกัน เพื่อไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน เมื่อมีไฟลุกที่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง ถังดับเพลิงจะช่วยบรรเทาความรุนแรงของไฟได้ และช่วยเพิ่มเวลาให้ผู้โดยสารสามารถออกจากรถได้ ห้องโดยสารของรถบัสส่วนใหญ่จะมีการติดตั้ง ถังดับเพลิงขนาด 2 ปอนด์ ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากไว้อย่างน้อย 2 ตำแหน่ง คือบริเวณเบาะหน้าใกล้คนขับ และบริเวณที่นั่งด้านหลัง หรือตรงกลางของห้องโดยสาร เพื่อให้สามารถหยิบจับใช้งานได้ง่าย

เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินผู้โดยสารสามารถใช้ถังดับเพลิงได้ตามคำแนะนำ ดึงสลักล็อกที่บริเวณคันบีบออก จากนั้นให้ปลดสายฉีดออกจากตัวถึง หันปากสายฉีดไปที่ฐานกองไฟ แล้วกดคันบีบแล้วส่ายสายฉีดเพื่อให้สารที่พ่นออกมาจากถังดับเพลิงพ่นให้ทั่วทั้งกองไฟ เพื่อให้ไฟดับลง แต่ไม่ควรฉีดไปที่เปลวไฟเพราะเป็นการใช้แบบผิดวิธีทำให้ไฟไม่ดับ และในขณะใช้ถังดับเพลิงควรยืนห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 6-8 ฟุต เพื่อความปลอดภัย หากไฟโหม สามารถหนีได้ทันท่วงที

ค้อนทุบกระจก

อุปกรณ์ที่มีด้ามจับสีแดงมีหัวเหล็กลักษณะกลมๆ อาจะมีปลายทีคมแหลม ส่วนมากเราจะเห็นติดอยู่ใกล้ๆ กระจกข้างรถ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่กรมขนส่งทางบกระบุไว้ว่า รถโดยสารทุกคันจะต้องมี และติดตั้งไว้ในตำแห่งตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งอุปกรณ์ชิ้นนี้จะมีไว้สำหรับการกรีดหรือทุบ ให้กระจกแตก เพื่อเปิดเป็นทางออกฉุกเฉิน ซึ่งอุปกรณ์นี้ได้ผ่านการทดสอบด้านเทคนิครวมศูนย์แรงกระแทก จึงสามารถทุบเปิดกระจกได้เร็วกว่าของแข็งอื่นๆ

เมื่อมีเหตุจำเป็นหรือสถานะการฉุกเฉินสามารถดึงออกจากแท่นเก็บ จากนั้นจับด้ามให้แน่นแล้วใช้ปลายแหลมกรีดลงที่กระจกให้เป็นรอย จากนั้นใช้ปลายค้อนทุบที่แนวกรีด เพียงเท่านี้กระจกก็จะแตกละเอียดทำให้สามารถออกจากตัวรถได้อย่างรวดเร็ว 

ข้อแนะนำเกี่ยวกับความปลอดภัยเมื่อต้องเดินทางด้วยรถบัส

  1. เลือกเดินทางกับบริษัทผู้ให้บริการที่มีความน่าเชื่อถือ มีการตรวจเช็คสภาพรถก่อนออกเดินทาง และเป็นบริษัทที่ไม่มีประวัติ การเกิดอุบัติเหตุหนัก 
  2. รถบัสทุกคันจะจะต้องมีเข็มขัดนิรภัยอัตโนมัติอย่างน้อย 2 จุด ทุกที่นั่ง เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารในขณะเดินทาง
  3. ในขณะเดินทางผู้โดยสารควรสังเกตอาการของพนักงานขับรถ ว่ามีอาการมึนเมา หาวบ่อย หรือขับรถเร็วเกินไปหรือไม่ หากพบความผิดปกติควรแจ้งเจ้าหน้าที่ ตำรวจ จุดตรวจของกรมขนส่ง หรือบริษัทของผู้ให้บริการ
  4. หากเป็นระยะทางไกล บริษัทผู้ให้บริการจะต้องมีพนักงานขับรถ 2 คน หรือจะต้องมีการหยุดจอดรถพักทุก 4 ชั่วโมง อย่างน้อยเป็นเวลา 30 นาที นอกจากนี้พนักงานขับรถจะต้องขับรถด้วยความสุภาพ และมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมทาง เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่อาจเกิดขึ้นได้

เคล็ดลับ ขึ้นรถบัสโดยสารให้ปลอดภัย

  • ใช้บริการรถโดยสารป้ายเหลืองเท่านั้น เพราะเป็นรถโดยสารที่จดทะเบียนถูกต้อง ได้รับการคุ้มครองหากเกิดอุบัติเหตุ
  • ไม่ใช้บริการรถโดยสารบรรทุกเกินจำนวนที่นั่ง
  • สังเกตความพร้อมของรถและคนขับรถ
  • ตรวจเช็กความพร้อมและตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย เช่น ถังดับเพลิง ค้อนทุบกระจก ประตูฉุกเฉิน จำเป็นกรณีหากเกิดอุบัติเหตุ
  • คาดเข็มขัดนิรภัยทันทีเมื่อขึ้นรถ และตลอดการเดินทาง
  • ไม่ทนนั่งรถโดยสารอันตราย เช่น ขับซิ่ง หวาดเสียว คนขับหลับใน สภาพรถทรุดโทรม บริการไม่สุภาพ
  • ขึ้น-ลงรถโดยสารที่สถานีขนส่งหรือจุดจอดเท่านั้น

เบอร์โทรฉุกเฉิน

  • 1584 สายด่วนกรมการขนส่งทางบก
  • 1193 ตำรวจทางหลวง
  • 191 สายด่วนตำรวจ
  • 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
  • เบอร์ญาติที่ติดต่อได้ในกรณีฉุกเฉิน

ข้อมูลจาก : ภัสสรชัยทัวร์, กรมการรขนส่งทางบก

แชร์
เมื่อต้องโดยสารรถบัส ปฏิบัติอย่างไรให้ปลอดภัย เมื่อภัยมาถึงตัว