Isuzu ไม่ยอมตกขบวน ขนทัพไฮไลท์เด็ด นำโดย Isuzu D-Max EV Concept รถกระบะไฟฟ้า ที่ยังคงใช้แพลตฟอร์มเดียวกับตัวเครื่องยนต์ดีเซล และยังมีรถพลังงานทางเลือก มาอวดโฉมอีกหลายรุ่น
ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) รถไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (FCEV) และพลังงานอื่นๆ เช่น การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral Fuel) กับเครื่องยนต์สันดาปภายใน อาทิ น้ำมันไบโอดีเซลเจนเนอเรชั่นใหม่จากพืชใช้แล้ว (HVO - Hydrotreated Vegetable Oil) และ น้ำมันเชื้อเพลิงสังเคราะห์ (e-Fuel)
รถกระบะ 4 ประตู ขับเคลื่อน 4 ล้อแบบ Full Time ใช้แพลตฟอร์มเดียวกับรถปิกอัพเครื่องยนต์ดีเซล
วางแผนจะเริ่มผลิตเพื่อส่งออกอย่างเป็นทางการจากฐานการผลิตประเทศไทยในปี 2568 อาจเป็นบางประเทศภาคพื้นทวีปยุโรป เช่น นอร์เวย์ จะเปิดในปี 2568 จากนั้นมีกำหนดการจะเปิดตัวในสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ไทย ตลอดจนประเทศหรือภูมิภาคอื่นๆ เป็นลำดับถัดไป ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดและความพร้อมของสาธารณูปโภคด้านสถานีชาร์จรถไฟฟ้า
ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบ กับมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดเล็ก แบตเตอรี่ 48 โวลต์ ทำหน้าที่เสริมกำลังขับเคลื่อนให้กับเครื่องยนต์ 1.9 Ddi Blue Power เพื่อลดภาระการทำงานของเครื่องยนต์ในช่วงออกตัว รวมถึงช่วยลดการสั่นสะเทือนในจังหวะ สตาร์ทเครื่องยนต์และช่วยลด CO2 ซึ่ง “อีซูซุ ดีแมคซ์ ไฮ-แลนเดอร์ MHEV” คันนี้เป็นรถทดลอง โดยรถประเภทนี้อาจจะเหมาะกับ ความต้องการของลูกค้าบางกลุ่ม ซึ่งทาง Isuzu อยู่ในระหว่างการสำรวจตลาดก่อนกำหนดแผนการจำหน่าย
พัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิด “Isuzu Modular Architecture and Component Standard: I-MACS” สำหรับรถบรรทุกขนาดกลางและขนาดใหญ่ การออกแบบ “Center Drive System EV” ซึ่งเป็นการออกแบบรถบรรทุกไฟฟ้าโดยเฉพาะ เนื่องจากต้องคำนึงถึงความสมดุลของการกระจายน้ำหนักรถ ระยะช่วงล้อหลัง และรัศมีวงเลี้ยวที่เหมาะสม เหมาะกับการใช้งานบรรทุกเบา วิ่งระยะสั้น อาศัยความคล่องตัว โดยใช้แพลตฟอร์มเดียวกันกับรถบรรทุกเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งได้เปิดตัวครั้งแรกในโลกที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อ มีนาคม 2566 และกำลังพัฒนาเทคโนโลยีการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Battery Swapping System) เพื่อลดระยะเวลาในการจอดเพื่อชาร์จแบตเตอรี่ เลือกแบตเตอรี่ได้ตั้งแต่ 2-5 ก้อน เพื่อให้เหมาะกับระยะทางการขนส่ง
พัฒนาร่วมกันระหว่างพันธมิตรทางธุรกิจภายใต้โครงการ Commercial Japan Partnership Technologies Corporation (CJPT) เหมาะกับการใช้งานบรรทุกหนัก สามารถเติมเชื้อเพลิงได้รวดเร็ว และไม่ก่อให้เกิดมลพิษ เป็นการเพิ่มตัวเลือกรถบรรทุกในตลาด ตอบรับกับความต้องการก้าวสู่ยุคความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยในญี่ปุ่นได้มีการวิ่งทดสอบตามการใช้งานจริงตามเมืองและประเภทการใช้งานต่างๆ จำนวน 90 คัน เมื่อเดือนมกราคม 2566 ที่โตเกียว ฟุกุชิมะ และฟุกุโอกะ ส่วนประเทศไทยได้มีการวิ่งทดสอบแล้วจำนวน 4 คัน เมื่อเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน 2566
Isuzu กำลังเดินหน้าด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นส์แบบครบวงจร ตัวเลือกหลากหลายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Multi-pathways to Carbon Neutrality) เพื่อให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะด้านที่แตกต่างกันทั่วโลก “แผนงานด้านสิ่งแวดล้อมปี 2573” ของ Isuzu มีเป้าหมายที่จะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าประเภทต่างๆ ทั้งรถบรรทุกขนาดกลางและขนาดใหญ่ รถปิกอัพ และรถบัสโดยสาร ภายในปี 2573
สำหรับประเทศไทย Isuzu วางแผนที่จะผลิตรถปิกอัพไฟฟ้าเพื่อส่งออกซึ่งจะเริ่มจากประเทศในโซนยุโรปในปี 2568 และจะทยอยเปิดตัวในประเทศอื่นๆ ตามกฎระเบียบด้านความเป็นกลางทางคาร์บอนของแต่ละประเทศ ใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 1 ล้านล้านเยน หรือประมาณ 240,000 ล้านบาท ในด้านการวิจัยและพัฒนาภายในปีงบประมาณ 2573 เพื่อดำเนินการเรื่องการปฏิรูปทางดิจิทัลเกี่ยวกับความเป็นการทางคาร์บอนและโลจิสติกส์ (CN and logistics DX) อีกทั้งการสร้างศูนย์พัฒนาและทดสอบยานยนต์ไฟฟ้า ภายใต้ชื่อ "The EARTH Lab" ภายในปี 2569