Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
วิกฤตตลาดรถยนต์ไทย หดตัวหนักสุดในรอบ 15 ปี
โดย : ปาณิสรา สุทธิกาญจนวงศ์

วิกฤตตลาดรถยนต์ไทย หดตัวหนักสุดในรอบ 15 ปี

25 ก.พ. 68
18:34 น.
|
253
แชร์

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา หนึ่งในกระแสที่มาแรงที่หลายๆคนต่างตื่นตัวนั่นก็คือ กระแสการใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถ EV

เราได้เห็นแบรนด์รถชั้นนำทั้งจากค่ายจีนและค่ายสหรัฐฯ ต่างเข้ามาบุกตลาดในไทยเพื่อแข่งขันกันอย่างดุเดือด ไม่ว่าจะเป็นจากกลยุทธ์การแย่งลูกค้าผ่านราคาและโปรโมชั่น หรือเทคโนโลยีสุดล้ำ เช่นเดียวกันกับมาตรการของภาครัฐ ที่หนุนให้คนไทยหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทนรถสันดาปมากขึ้น ทำให้เราได้เห็นรถยนต์ไฟฟ้าต่างวิ่งเต็มท้องถนนมากขึ้นกว่าเดิม

แต่เชื่อหรือไม่ ว่าหากเรามองภาพรวมตลาดรถยนต์ในประเทศไทยทุก Segment เราจะพบว่า ตอนนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤตตลาดรถยนต์ไทยหดตัวหนักสุดในรอบ 15 ปี

บทความนี้ SPOTLIGHT ชวนทุกคนมาหาคำตอบ กระแสรถ EV มาแรง แต่ทำไมตลาดรถยนต์ไทย หดตัวหนักสุดในรอบ 15 ปี โดยได้สรุปสาระสำคัญมาจากงาน InsureX FORECAST 2025 : THE NEXT ERA OF 'CAR INSURANCE' และได้มีโอกาสพูดคุยสุด Exclusive กับคุณสิรวิชญ์ ฉายะวาณิชย์ Head of Priceza Money

วิกฤตตลาดรถยนต์ไทย หดตัวหนักสุดในรอบ 15 ปี

คุณฐิตา เภกานนท์ นักวิเคราะห์อาวุโส จาก ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC) ได้เปิดเผยข้อมูลที่น่าตกใจว่า ตลาดรถยนต์ในปี 2568 อาจหดตัวหนักในรอบ 16 ปี จากแนวโน้มการหดตัวอย่างต่อเนื่องจากปี 2024

โดยหากย้อนกลับไปในปี 2567 ตลาดรถยนต์ในประเทศไทยหดตัวลงทั่วประเทศหนักมากถึง -26% โดยนับว่าเป็นยอดขายรถยนต์ต่ำสุดในรอบ 15 ปี โดยประเภทรถยนต์ที่ยอดขายหดตัวมากที่สุดคือ ‘รถกระบะ’ หดตัวลงถึง -38%

ต่อมาคือ ‘รถเก๋งทั่วไป’ หดตัวลง -23% สวนทางกับรถกลุ่ม ‘SUV’ ที่ขยายตัวต่อเนื่องและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น 2.8% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566

‘รถกลุ่ม SUV’ คือ ‘ดาวรุ่ง’ ส่วน ‘รถกระบะ’ กลายเป็น ‘ดาวร่วง’

 

รถกลุ่ม SUV

รถกระบะ

รถกลุ่ม Sedan/Hatchback

ส่วนแบ่งการตลาด 2024

31%

18%

38%

ส่วนแบ่งการตลาด 2023

24%

23%

37%

ส่วนแบ่งการตลาด 2022

16%

29%

39%

นอกจากนี้สัดส่วนยอดจดทะเบียนรถยนต์นั่งราคาต่ำกว่า 7 แสนบาทก็ยังปรับลดลงอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

กระแสรถ EV ก็ยังมา (แต่ต่ำกว่าคาด) ผลพวง ‘สงครามราคา’

จากข้อมูลข้อมูลยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงของไทยในปี 2567 ของกรมการขนส่งทางบก พบว่า ในปี 2567 มียอดจดทะเบียนใหม่สะสมทั้งสิ้น 96,804 คัน ลดลง 3.21% เมื่อเทียบกับปี 2566

ซึ่งช่วงแรกที่กระแสรถยนต์ไฟฟ้ากำลังมาแรง มีการคาดการณ์ว่าในปี 2567 จะมียอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงเฉียด 100,000 คัน

อย่างไรก็ตาม คุณสิรวิชญ์ ได้เล่าให้ทีม SPOTLIGHT ฟังว่า สาเหตุที่ทำให้รถ EV ชะลอการเติบโตเนื่องจากผลของ

1.สงครามราคา

ที่ค่ายรถต่างแข่งขันกันหั่นราคาผ่าน ‘โปรโมชั่นลด แลก แจก แถม’ ทำให้ผู้บริโภคหลายๆคนมีความกังวลใจว่าราคาที่ตนซื้อมาอาจไม่ใช่ราคาที่ดีที่สุด

2.รถ EV คือ รถคันที่ 2 ไม่ใช่รถคันแรก

จากสถิติคนไทยซื้อรถยนต์ไฟฟ้า พบว่า โดยส่วนมากคนซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามักเป็นผู้ที่มีรายได้กลาง – สูง (รายได้มากกว่า 50,000 บาท) โดยคนกลุ่มนี้จะเป็นคนที่ตื่นตัวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ และมักซื้อรถ EV เป็นรถคันที่ 2 ไม่ใช่คันแรก

3.ประเทศไทยยังไม่เอื้อ ต่อคนใช้รถ EV ?

คุณสิรวิชญ์ ยังได้เล่าต่อว่า อีกหนึ่งสาเหตุที่เราเริ่มเห็นสัญญาณชะลอตัวการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2567 เนื่องจาก คนไทยยังไม่เชื่อมั่นต่อการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย เช่น สถานีชาร์จไม่เพียงพอต่อความต้องการ, การบำรุงรักษารถยนต์ไฟฟ้ายากกว่ารถยนต์สันดาป และ ต้นทุนการใช้งานสูง (ค่าประกัน, ค่าซ่อม)

ปัญหาหนี้เสีย คนโดนยึดรถ – สถาบันการเงินเข้มงวดปล่อยสินเชื่อ

คุณฐิตา ได้เผยข้อมูลจาก SCB EIC ที่ได้ประเมินว่ายอดขายรถยนต์ในปี 2025 มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องจากปีก่อนที่ -2%

  • คาดการณ์ยอดขายรถกระยะ และ SUV ในปี 2025 = 333,000 คัน (-4.4%YOY)
  • คาดการณ์ยอดขายรถยนต์นั่งในปี 2025 = 228,000 คัน (+1.8%YOY)

โดยมีปัจจัยหลักมาจาก ปัจจัยหลักมาจากความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อ เพราะสถาบันการเงินมีความกังวลต่อการเสื่อมมูลค่าของหลักทรัพย์คำ้ประกันหมวดยานยนต์ที่ยังปรับลดลงต่อเนื่อง และ สถานบันการเงินยังคงเผชิญความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูงอีกด้วย

นอกจากนี้ จากข้อมูลของเครดิตบูโรเปิดเผยว่า หนี้เสียรถยนต์พุ่งมาเป็นอันดับ 1 หรือ Auto Loans อยู่ที่  43% ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมดเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอย

เจาะพฤติกรรมคนซื้อประกันรถยนต์

1.กลุ่มอายุ 35-44 ปี เข้ามาเปรียบเทียบประกันรถยนต์มากที่สุด

คุณสิรวิชญ์ ได้เผยข้อมูลจาก Priceza Money ว่า กลุ่มคนที่เข้ามาเปรียบเทียบประกันรถยนต์มากที่สุดในตอนนี้คือกลุ่มคนอายุ 35-44 ปี เพราะเป็นกลุ่มคนที่เป็นเจ้าของรถด้วยตัวเอง ไม่ใช่กลุ่มอายุน้อยที่ส่วนใหญ่ ‘พ่อแม่ผู้ปกครอง’ จะเป็นคนดูแลเรื่องประกันภัยรถยนต์ให้ นอกจากนี้กลุ่มคนที่ใช้บริการเว็บเปรียบเทียบประกันภัยรถยนต์มีสัดส่วนอาศัยอยู่ใน ‘กรุงเทพมหานคร’ สูงถึง 53.5% จากจังหวัดทั้งหมดทั่วประเทศ

2.คนไทยยังไงก็รถญี่ปุ่น

ทาง Priceza Money ได้เล่าถึงแนวโน้มกลุ่มรถยนต์ที่เข้ามาเปรียบเทียบประกันภัยรถยนต์ใน Priceza Money มากที่สุด 10 อันดับแรกได้แก่ TOYOTA, HONDA, ISUZU, MAZDA, MITSUBISHI, NISSAN, FORD, MG, SUZUKI, CHEVROLET

3.คนเลือกซื้อประกันรถยนต์ จากชื่อเสียงของบริษัท มากกว่า ราคาประกัน

Priceza Money ได้เผยว่า ‘เกณฑ์การเลือกบริษัทประกันภัย’ ที่คนปัจจุบันเลือก คือ ‘เลือกจากชื่อเสียงบริษัทประกัน มาก่อน ราคาประกัน’

ซึ่งแนวโน้มนี้จะไปสอดคล้องกับ Marketing Trends 2025 สำหรับกลุ่ม Gen Y อายุ (29-45 ปี) ที่บอกว่าคนกลุ่มนี้ต้องการ ‘คุณภาพ’ และ ‘คุณค่า’ สูงเมื่อเปรียบเทียบกับ Gen อื่นๆ โดยพบว่าเหตุผลในการซื้อ Luxury Products สำหรับผู้บริโภค Gen Y คือ

  • 79% ซื้อเพราะวัสดุคุณภาพดี
  • 78% ซื้อเพราะความทนทาน
  • 69% ซื้อเพราะ Value for money

ทำให้บริษัทประกันภัยในยุคนี้ต้องปรับตัว เพราะจะอยู่ต่อได้ก็เพราะ ‘ชื่อเสียงที่ดี และคุณภาพที่น่าเชื่อถือ’

ที่มา :Priceza Money

แชร์
วิกฤตตลาดรถยนต์ไทย หดตัวหนักสุดในรอบ 15 ปี