เหตุการณ์แผ่นดินไหว งานวิจัยเผย 80% ของผู้รอดชีวิตตึกถล่มถูกพบภายใน 5–6 วันแรก เผย 6 สิ่งสำคัญส่งผลต่อการรอดชีวิต ปัจจัยในการตัดสินใจยุติค้นหาและกู้ภัย
ตึกถล่มจากแผ่นดินไหว คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อแผ่นดินไหวทำให้โครงสร้างของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างได้รับความเสียหายหนัก จนเกิดการพังทลายของตึก แนวโน้มสูงที่จะส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตในระหว่างเหตุการณ์
ช่วงเวลาแห่งการรอดชีวิต ในสถานการณ์ที่ตึกถล่มจากแผ่นดินไหว ถือเป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยเสี่ยงต่อชีวิต เพราะผู้ที่อยู่ภายในอาคารต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่มีการพังทลายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในกรณีของตึก สตง. ผู้ที่ทำงานอยู่บนอาคารสูงพิเศษแห่งนี้แทบไม่มีโอกาส "หนี" เลยก็ว่าได้ แล้วโอกาสรอดของผู้ประสบภัยมีมากน้อยแค่ไหนหลังผ่าน 48 ชั่วโมงแล้ว
หมอหมู รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวช มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ยกงานวิจัย ช่วงเวลาแห่งการรอดชีวิต ในตึกถล่มจากแผ่นดินไหว "Surviving Collapsed Structure Entrapment after Earthquakes: A 'Time-to-Rescue' Analysis" โดยระบุว่า
งานวิจัยเรื่อง "Surviving Collapsed Structure Entrapment after Earthquakes: A 'Time-to-Rescue' Analysis" ได้ศึกษาระยะเวลาที่ผู้ประสบภัยสามารถรอดชีวิตขณะติดอยู่ใต้ซากอาคารหลังเกิดแผ่นดินไหว โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวระหว่างปี 1985 ถึง 2004 รวม 34 เหตุการณ์
≥80% ของผู้รอดชีวิตถูกพบภายใน 5–6 วันแรก
≈1% รอดชีวิตหลัง 14 วัน (ในเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ฟิลิปปินส์ปี 1990 มีการช่วยเหลือผู้รอดชีวิตหลังจากติดอยู่ใต้ซากอาคารนานถึง 14 วัน)
2.1 การมีช่องว่างภายในซากอาคาร : การเกิดช่องว่างหรือพื้นที่ว่างภายในซากอาคารช่วยให้ผู้ประสบภัยมีพื้นที่หายใจและเคลื่อนไหว ซึ่งเพิ่มโอกาสรอดชีวิต
2.2 การเข้าถึงน้ำและอาหาร : ผู้ที่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำหรืออาหารระหว่างการติดอยู่ใต้ซากอาคารมีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น (ผู้สูงอายุหรือเด็กทนได้น้อยกว่า)
2.3 สภาพอากาศ : ความร้อน/ความชื้นสูงเร่งการสูญเสียน้ำและความแข็งแรงของผู้ประสบภัย
2.4 สภาพร่างกายก่อนเกิดเหตุ : สุขภาพและความแข็งแรงของผู้ประสบภัยก่อนเกิดเหตุมีผลต่อความสามารถในการทนต่อสภาวะที่ยากลำบาก
2.5 ประเภทและโครงสร้างของอาคาร : ลักษณะการพังทลายและการสร้างช่องว่างภายในซากอาคารมีผลต่อโอกาสในการรอดชีวิต
2.6 ลักษณะการบาดเจ็บ : การบาดเจ็บสาหัสที่ทำให้เลือดออกมาก จะลดโอกาสการรอดชีวิต
งานวิจัยเสนอว่าการกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนสำหรับการยุติการค้นหาและกู้ภัยอาจไม่เหมาะสม เนื่องจากปัจจัยหลายอย่างสามารถยืดหรือย่นระยะเวลาการรอดชีวิตได้ ควรพิจารณาปัจจัยเฉพาะของแต่ละเหตุการณ์ในการตัดสินใจ
งานวิจัยนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการพิจารณาปัจจัยหลายประการ (โครงสร้างอาคาร สภาพแวดล้อม และสุขภาพผู้ประสบภัย) ในการประเมินโอกาสการรอดชีวิตของผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากอาคารหลังเกิดแผ่นดินไหว
Advertisement