Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
เช็กชื่อ สมุนไพร อะไรกินได้ อะไรที่ควรหลีกเลี่ยง เสี่ยงเป็นอันตรายต่อไต
โดย : สุขภาพและความงาม

เช็กชื่อ สมุนไพร อะไรกินได้ อะไรที่ควรหลีกเลี่ยง เสี่ยงเป็นอันตรายต่อไต

19 มี.ค. 67
11:52 น.
|
5.7K
แชร์

เช็กชื่อ สมุนไพร อะไรกินได้ อะไรที่ควรหลีกเลี่ยง บางชนิดให้โทษ เสี่ยงเป็นอันตรายต่อไต

โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เผยมีความเชื่อที่ว่าการบริโภคสมุนไพรบางชนิดอาจช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคไตได้ ซึ่งในบางชนิดก็ให้โทษ และเป็นอันตรายได้หากผู้ใช้รับประทานไม่ถูกต้อง ดังนี้

• ถังเช่า

เชื่อว่า มีฤทธิ์บำรุงไตและชะลอการเสื่อมของไต แต่ผลงานวิจัยยังไม่แน่ชัด โดยถังเช่าในปัจจุบันที่แพร่หลายมี 2 ชนิด

ถังเช่าทิเบต (Ophiocordyceps sinensis) เป็นถังเช่าที่เกิดจากธรรมชาติ เป็นเชื้อราที่ก่อโรคในแมลง และเจริญเติบโตจากหนอนผีเสื้อราตรีที่ฝังตัวอยู่ใต้ดิน เมื่อเชื้อราเติบโตเต็มที่จะโผล่ขึ้นเหนือดินและมีลักษณะเป็นแท่ง ส่วนหนอนผีเสื้อที่ถูกดูดกินเป็นสารอาหารจะตายกลายเป็นซากติดอยู่กับส่วนที่เป็นแท่งของเชื้อรา โดยมีรายงานของการปนเปื้อนสารหนูและโลหะหนักจำนวนมาก หน่วยงานด้านอาหารและยาของรัฐบาลจึงควบคุมการจำหน่าย

ถังเช่าสีทอง (Cordyceps miltaris) เกิดจากการเพาะเลี้ยง โดยทั้ง 2 ชนิดนั้น เป็นเชื้อราคนละสกุล (Family) คนละวงศ์ (Genus) และเป็นคนละชนิด (Species) สรรพคุณจึงแตกต่างกัน ถังเช่าสีทองมีราคาถูกกว่าถังเช่าทิเบต จึงมีหลากหลายบริษัทนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารเสริม เพื่อลดต้นทุนการผลิต แต่ถังเช่าทิเบต ปัจจุบันเชื่อว่าสามารถบำรุงไตและชะลอการเสื่อมของไตได้ เนื่องจากคาดว่า มีฤทธิ์ ต้านอนุมูลอิสระ และลดการอักเสบ แต่ผลการวิจัยยังไม่แน่ชัด จึงไม่แนะนำให้รับประทาน

• เห็ดหลินจือ

เชื่อว่า สามารถป้องกันโรคไต

เห็ดหลินจือมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สรรพคุณในการป้องกันโรคไต จากข้อมูลดังกล่าวยังไม่ชัดเจน จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

• ขมิ้นชัน

เชื่อว่า สามารถป้องกันโรคไต

ขมิ้นชันมี สาร turmeric ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและ ลดการอักเสบ เพิ่ม การไหลเวียนของเลือดในตับและ ลดการทำงานของไต พร้อมทั้งช่วยบรรเทาอาการปวดหัว และคลื่นไส้ ที่พบในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง สามารถรับประทานได้

• แปะก๊วย

เชื่อว่า ชะลอการเสื่อมของไต

แปะก๊วยมีสาร Ginkgo biloba จากการทดลองพบว่าสามารถลดการเกิดพังผืดที่ไต ในหนูที่เป็นโรคเบาหวาน แต่ในคนยังไม่มีการศึกษาแน่ชัด จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

• หญ้าหวาน

เชื่อว่า สามารถบำรุงไต

สารสกัดจากหญ้าหวานไม่ได้ลดการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะและไม่ได้ลดระดับ ซีรั่มครีเอตินิน (ค่าที่ใช้ประเมินการทำงานของไต) รวมถึงชะลอการเสื่อมของไต จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

• โสม

เชื่อว่า สามารถบำรุงไต

โสม มีสารสำคัญ ได้แก่ Ginsenoside Rb1 โดยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ แต่ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 2-3 (CKD stages 2-3) ที่รับประทาน Ginsenoside Rb1 พบว่า มีผลทำให้การทำงานของไตลดลง โดยมีค่าซีรั่มครีเอตินิน (ค่าที่ใช้ประเมินการทำงานของไต) เพิ่มขึ้น และอัตราการขับออกของครีอะตินินทางไต (Creatinine Clearance) ลดลงหลังรับประทาน ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

• มะระขี้นก

เชื่อว่า สามารถบำรุงไตและลดน้ำตาลในเลือด

มะระขี้นก มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ลดการอักเสบ, ลดระดับน้ำตาลในเลือด, ต้านมะเร็ง  แต่หากมะระขี้นกกินติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้ ค่าการทำงานของไตลดลง, ซีรั่มครีเอตินิน (ค่าที่ใช้ประเมินการทำงานของไต) เพิ่มขึ้น และมีการอักเสบของไตเฉียบพลัน จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

• หนานเฉาเหว่ย, ป่าเฮ่วหมอง หรือป่าช้าเหงา

ไม่มีสรรพคุณเกี่ยวกับเรื่องไต พบว่ามีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่มีพิษต่อตับและไต โดย ทำให้้โครงสร้างของไต เปลี่ยนแปลงไป จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

• Astaxanthin

เชื่อว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยชะลอการเสื่อมของไต

astaxanthin เป็นสารในกลุ่ม Carotenoids มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และลดการอักเสบ แต่เนื่องจากการศึกษายังไม่ชัดเจน จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

Advertisement

แชร์
เช็กชื่อ สมุนไพร อะไรกินได้ อะไรที่ควรหลีกเลี่ยง เสี่ยงเป็นอันตรายต่อไต