Gaslighting ในการทำงาน เมื่อสังคมออฟฟิศเต็มไปด้วยการเมือง เหยื่อที่เป็นเป้าหมายถูก Gaslighting อาจรู้สึกถึงการ Burnout ง่ายกว่าปกติ!
ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout บางครั้งอาจไม่ได้มาจากความเครียดเสียทีเดียว เพราะสำหรับบางคนอาจเกิดเพราะโดน Gaslighting ในการทำงานบ่อยเกินไป จนกลายเป็นการขาดความมั่นใจในตัวเอง และเมื่อสุดท้ายถึงภาวะที่สิ้นความยินดีในตัวเอง ขาดการชมเชยการทำงานของตัวเอง จึงเป็นหนึ่งในภาวะเกี่ยวเนื่องที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต
ภาวะหมดไฟในการทำงาน สำคัญแค่ไหน ทำไมถึงต้องเข้าใจในตัวเอง ?
เมื่อบุคคลตกอยู่ในภาวะหมดไฟทำงาน ด้วยร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ที่อ่อนล้า จากความเครียด ความกดดันที่ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ภาวะนี้จะส่งผลทางอารมณ์และการแสดงออก เป็นความรู้สึกที่หมดแรงใจในการทำงาน ขาดความจดจ่อจากสิ่งที่ต้องตั้งใจทำ ผลต่อเนื่องคือไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน เกิดการด้อยค่าตัวเอง ปล่อยให้การทำงานนั้นจบไปในวัน ๆ หนึ่ง ด้วยความรู้สึกที่ว่าอยากให้งานมันเป็นไปตามมีตามเกิด เพราะทำเท่าไรก็ไม่มั่นใจว่าจะทำได้ดี
ภาวะหมดไฟในการทำงาน น่ากลัวในรูปแบบที่ว่า จะเกิดเป็นการลดประสิทธิภาพในการทำงาน แม้กระทั่งการตื่นมาเข้าออฟฟิศ ก็เป็นจุดเริ่มต้นในการเสียพลังงาน เสียพลังใจแล้ว ในบางคนภาวะนี้อาจเกิดมาจากการโดนตำหนิในการทำงานบ่อย ๆ การโดน Gaslighting ในการทำงานซ้ำ ๆ ทำให้รู้สึกสิ้นหวัง เหน็บแนม และขุ่นเคืองใจมากขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดอาจรู้สึกว่า ตัวเองไม่มีอะไรจะให้กับการทำงาน และตามมาด้วยความรู้สึกที่ว่า "พอกันที"
Gaslighting ในการทำงาน คืออะไร ทำไมทำงานแล้วยังโดนปั่นประสาท
ปัจจุบันโซเชียลมีเดียมีการพูดถึงคำว่า Gaslighting อย่าล้นหลาม เพราะการถูกทำให้แคลงใจในตัวเอง ไม่ได้เกิดกับชีวิตแค่ครั้งเดียว หรือเกิดแค่ในสถานะเดียว บางครั้งอาจเจอทั้งจากที่ทำงาน เจอทั้งจากคู่รัก และเจอทั้งจากครอบครัว การถูกปั่นให้ตัวเองสงสัยในตัวเอง หรือ Gaslighting จะทำให้ตัวบุคคลที่โดนกระทำอยู่ จะเริ่มรู้สึกสงสัยในตัวเอง เกิดเป็นการคล้อยตามโดยง่าย ทั้งในแง่ของการกระทำ คำพูด มุมมอง ทัศนคติ หรือแม้กระทั่งการตั้งคำถามถึงการตัดสินใจที่แล้วมาของตัวเองเสียด้วยซ้ำ
Gaslighting ถือเป็นหนึ่งในการใช้จิตวิทยา ที่หากคนพูดแฝงไปด้วยนัยยะอันแยบยล บางครั้งถูกหยิบมาใช้ทำร้ายกันทางอ้อม และเพื่อให้ตัวคนพูดเองหลุดพ้นจากความผิดที่ก่อเอาไว้ด้วย
Psychologytoday ได้ให้ความหมายของการ Gaslighting ไว้ว่า "เป็นรูปแบบหนึ่งของการหลอกลวงทางจิตวิทยา ซึ่งบุคคลหรือกลุ่มบุคคลแอบหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความสงสัย ในตัวบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป้าหมาย ทำให้พวกเขาตั้งคำถามต่อความทรงจำการรับรู้ หรือการตัดสินใจของตัวเอง"
เมื่อยกกรณีศึกษา Gaslighting ในการทำงาน อาจกล่าวได้ว่า เป็นการจัดการในเชิงลบจากผู้จัดการ, หัวหน้างาน, เพื่อนร่วมงาน กลุ่มงาน หรือลูกค้าที่ไม่พอใจในในแง่อื่น ๆ รวมไปถึงการตัดคู่แข่งทางธุรกิจโดยการใส่ร้ายได้เช่นกัน ซึ่งการโดนปั่นในที่ทำงาน อาจเป็นผลที่มาจากการอคติในระบบ หรือในการทำงาน เป็นการกระทำที่อาจถูกวางแผนมาแล้วตั้งแต่ต้น แต่ค่อย ๆ ทำให้เป้าหมายเสียความมั่นใจ เพื่อเป็นการง่ายที่จะพิจารณาในขั้นตอนต่อไป
ทำงานไม่ได้คุณภาพด้วยตัวเอง หรือกำลังถูก Gaslighting ให้เชื่อว่าไร้ประสิทธิภาพจริง ๆ
หากคนที่ถูก Gaslighting บ่อย ๆ เป็นคนที่คล้อยตามได้ง่ายอยู่แล้ว หรือเป็นคนที่หัวอ่อนโดยนิสัย เมื่อถูกลดทอนคุณค่าจากคำพูดคนอื่นบ่อย ๆ สิ่งที่เจออยู่ในขณะนั้น จะส่งผลกระทบต่อด้านจิตใจโดยง่าย ทำให้คนนั้นเชื่อตามที่พูดหรือกล่าวถึงโดยทันที สุดท้ายแล้วคนที่คล้อยตามเกม จะกลายเป็นฝ่ายที่ย่ำแย่ในการทำงาน และสภาพจิตใจไม่พร้อมทำงานจริง ๆ
เมื่อตัวแปรเริ่มขึ้นและคล้อยตามคำพูดเหล่านั้นแล้ว สิ่งที่จะทำให้เป็นปัญหาใหญ่ตามมาคือ การที่มีการพูดปากต่อปาก โดยที่คนถูกกล่าวถึงไม่เคยได้รับรู้ อาจมีแนวโน้มที่ทำให้คนนั้นจะถูกคนอื่น ๆ ในแผนกหรือในบริษัทแบนได้ สำหรับบางคนอาจไม่มีเหตุการณ์บานปลายลุกลาม แต่อาจจะเริ่มตั้งคำถามว่าตัวเองไร้ค่าในขั้นต้น ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยรู้สึกแบบนี้มาก่อนในชีวิต จนเกิดเป็นการแยกตัวออกจากกลุ่มสังคม และเป็นจุดเริ่มต้นในการถูกบอยคอตได้
เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อหรือหมดกำลังใจไปทั้งที่ยังหาคำตอบไม่ได้ ก่อนที่จะเชื่อหรือรู้สึกว่าเป็นเช่นนั้นจริง ๆ ต้องเริ่มจากการตั้งสติให้มั่น จับจุดให้ถูกว่าสิ่งที่กำลังถูกยัดเยียดให้ผิด เป็นเรื่องที่เกิดจากความผิดพลาดเพราะทำด้วยตัวเอง หรือเป็นเพราะใคร เมื่อหากมองอย่างเป็นกลางและไม่ได้เข้าข้างตัวเองแล้ว จะค้นพบว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องรู้สึกผิดกับตัวเองเสียด้วยซ้ำ ถึงแม้ว่าต่อให้ตบตีกับตัวเองไปแล้ว อาจจะไม่สามารถแย้งกับใครได้ แต่การหาคำตอบข้อนี้ จะช่วยให้ตัวคุณเองเลิกสงสัยและสามารถเดินหน้าต่อไปได้เรื่อย ๆ
จุดเด่นที่จะแบ่งแยกว่ากำลังถูก Gaslighting จริงหรือกำลังท้าทายการทำงาน
ข้อสังเกตของลักษณะการปั่น หรือการ Gaslighting ในที่ทำงาน
สำหรับผู้ที่ต้องทำงานร่วมกันเป็นจำนวนมา คนที่คอยจ้องจะปั่นหัวตอนทำงาน อาจมีได้ทั้งคนที่เป็นผู้จัดการ เพื่อนร่วมงาน ทีมงาน ลูกค้า หรือใดใดก็ตาม ส่วนใหญ่ชอบใช้วิธีกึ่งควบคุม ทำให้เห็นอย่างเปิดเผยว่า "คุณจะไม่สามารถสู้ได้" บางครั้งอาจทำให้รู้สึกว่า "เป็นพ่อพระแม่พระมาโปรด" หลอกล่อด้วยความหอมหวานให้คล้อยตาม ก่อนที่จะเริ่มหลอกลวงและเชือดอย่างช้า อาจมีตัวอย่างดังนี้
พฤติกรรมที่ยกตัวอย่างเหล่านี้ หากมีแค่นี้ก็ยังถือว่าเป็นเรื่องที่ยังพอมีความใจดีอยู่บ้าง แต่ถ้ามันเกิดใหญ่โตขึ้นและไม่สามารถระงับได้ จนเกิดเป็นการกลั่นแกล้งที่เห็นได้ชัด เช่น ไฟล์งานถูกลบหาย, สั่งงานส่ง ๆ โดยที่ไม่บอกว่าให้ใครรับผิดชอบ หรือ เปลี่ยนผลการประเมินงานหลังจากพิจารณาไปแล้ว
ข้อมูลจากเว็บไซต์พบแพทย์ (pobpad.com) ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ผู้ที่ Gaslighting คนอื่น มักมีจุดประสงค์เพื่อให้รู้สึกถึงการมีอำนาจในการควบคุม โดยอาศัยหลอกล่อให้เหยื่อเห็นด้วยและคล้อยตาม เช่น ยืนกรานปฏิเสธว่าไม่เคยพูดหรือทำสิ่งที่ถูกกล่าวหา แม้จะถูกจับได้แต่ผู้ที่ Gaslighting มักจะเบี่ยงประเด็นโดยตั้งคำถามกลับ หรือพลิกเรื่องราวโดยกล่าวโทษเหยื่อแทน ซึ่งผู้ที่มีพฤติกรรมนี้ต่อผู้อื่น มักมีโรคทางจิตเวช เช่น โรคต่อต้านสังคม โรคหลงตัวเอง และภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder) ร่วมด้วย
เช็กลิสต์กับตัวเองว่าตอนนี้เข้าข่ายถูก Gaslighting ในการทำงานหรือไม่ ?
ผลของการหลอกลวงด้วยการ Gaslighting ในการทำงานอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้คุณรู้สึกถึงการด้อยค่าตัวเอง จนอาจเริ่มตั้งคำถามถึงความน่าเชื่อถือ ความสามารถ หรือคุณค่าทางอาชีพของตน และเริ่มสงสัยว่าคุณเป็นแบบนั้นจริงหรือไม่ คุณถูกล้างสมองจริงหรือเปล่า ลองเช็กกับตัวเองว่า ตอนนี้คุณรู้สึกหรือเจอเหตุการณฌหล่านี้อยู่หรือเปล่า ถ้าคุณมีมากกว่า 3 ข้อ แปลว่าคุณกำลังถูกล้างสมองให้ดูถูกตัวเองอยู่จริง ๆ
ลิสต์ข้างต้นนี้ อาจเป็นเพียงเหตุการณ์ที่เคยเจอ หรืออาจจะไม่เคยเจอก็ได้ หรืออาจจะเจอเหตุการณ์ที่ย่ำแย่และรุนแรงกว่าก็ได้ แต่นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการ Gaslighting ในการทำงานเท่านั้น ซึ่งเมื่อคุณตาสว่างและยึดมั่นกับตัวเองได้แล้วว่า คุณกำลังถูกชักจูงให้รู้สึกแบบนั้นจริง ๆ คุณจะมองเห็นพฤติกรรมคู่กรณีอย่างชัดเจน
ไม่ว่าจะเป็นการที่เขาพยายามสร้างความน่าเชื่อถือ หรือสร้างพรรคพวกกับผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า เพื่อที่จะเล่นเกมการเมืองในออฟฟิศได้อย่างเรื่อย ๆ ก่อนที่จะคอยกำจัดคนที่มีความเสี่ยงต่อความมั่นคงนี้ ซึ่งหากคุณตกเป็นเหยื่อหรือตกเป็นเป้าหมาย แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะอยู่รอดในสังคมการทำงานนี้ได้
สุดท้ายแล้ว หากคุณเป็นเป้าหมายในการ Gaslighting ในการทำงานจริง คือการที่เอาตัวเองออกมาจากสิ่งนั้น เพราะหากยังฝืนต่อไป คุณจะเริ่มตั้งข้อสงสัยกับตัวเองขึ้นเรื่อย ๆ จะเกิดภาวะอื่นขึ้นทั้งกับร่างกาย จิตใจ การทำงาน จนท้ายที่สุดแล้วจะส่งผลต่อการแสดงออกของคุณ
ที่มา : METRO (metro.co.uk) / Forbes (forbes.com) / Psychology Today (psychologytoday.com) / พบแพทย์ (pobpad.com) / คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (psy.chula.ac.th)
Advertisement