Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
5 เกร็ดประวัติตรุษจีน ที่อ่านจบภายใน 5 นาที ฉบับ ดร. วิทย์ สิทธิเวคิน

5 เกร็ดประวัติตรุษจีน ที่อ่านจบภายใน 5 นาที ฉบับ ดร. วิทย์ สิทธิเวคิน

14 ม.ค. 68
15:04 น.
|
162
แชร์

‘เทศกาลตรุษจีน’ มรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าของโลก และขุมทรัพย์แห่งความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการจับจ่ายทุกไตรมาส แต่นอกจากในแง่มุมของประเพณี พิธีกรรม และการเฉลิมฉลองอันเลื่องชื่อของโลกนี้ คุณรู้จัก ‘ตรุษจีน’ ดีแค่ไหน?

ดร. วิทย์ สิทธิเวคิน หรือ เฮียวิทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ร่วมสมัย และพรีเซ็นเตอร์คนใหม่ของแคมเปญ TOPS THE GREAT CHINESE NEW YEAR 2025 พาคุณนั่งไทม์แมชชีนย้อนเวลากลับไปยังช่วงก่อกำเนิดวัฒนธรรมจีน มาดูกันว่าเทศกาลตรุษจีนมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ และหลากหลายกิจกรรมที่นิยมทำกันในวันตรุษจีน แฝงความหมายสำคัญเอาไว้อย่างไร

ทำไมปีใหม่ของคนจีนไม่ใช่วันที่ 1 มกราคม

“หลายคนมักถามผมเสมอว่า ทำไมคนจีนจึงไม่กำหนดให้วันที่ 1 มกราคมเป็นวันตรุษจีนเหมือนวันปีใหม่สากล ผมตอบง่าย ๆ ครับว่า เพราะวันที่ 1 มกราคม คือวันเริ่มต้นปีที่นับตามปฏิทินแบบสุริยคติ (Gregorian Calendar) แตกต่างกับปฏิทินแบบจันทรคติ (Lunar Calendar) ที่ชาวจีนยึดถือ ซึ่งปฏิทินแบบจันทรคตินี้ จะกำหนดให้วันเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิเป็นวันแรกของปี

สังคมจีนที่ให้ความสำคัญกับฤดูกาลเพาะปลูก จึงปักหมุดหมายให้การมาถึงของฤดูใบไม้ผลิ หรือที่ในภาษาจีนเรียกว่า ชุนเจี๋ย (春节) เป็นวันเริ่มต้นศักราชใหม่ของพวกเขาครับ”

เปิดที่มาของ ‘ตรุษจีน’ เทศกาลแห่งความกตัญญูกตเวที

“ในอดีตโลกมนุษย์ของเราอิงกับฤดูกาลมาตลอด และสังคมส่วนมากก็เป็นสังคมเกษตรกรรม สังคมจีนก็เช่นเดียวกัน ตรุษจีนถือกำเนิดขึ้นโดยเชื่อมโยงกับฤดูกาลเพาะปลูก หรือวันเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิเป็นวันแรกของปี ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลอง เชื่อมโยงกับความเป็นสิริมงคล คำถามต่อมาก็คือ แล้วอะไรล่ะที่จะแสดงถึงความเป็นสิริมงคล?

คงต้องย้อนกลับไปมองที่ปรัชญาในการใช้ชีวิตของชาวจีนอย่างหลักขงจื๊อ หรือที่ภาษาจีนเรียกว่า หยูเจีย (儒家) โดยหนึ่งในค่านิยมของปรัชญาขงจื๊อ ก็คือการแสดงความกตัญญูกตเวที ชาวจีนจึงถือว่าการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ เป็นสิ่งมงคลที่ต้องทำในวันตรุษจีน

และนอกเหนือจากการแสดงความเคารพต่อบุพการี ยังต้องเสริมความมั่งมีศรีสุขให้กับชีวิตด้วย จึงมีการกราบไหว้เทพเจ้าเพิ่มเข้าไป ซึ่งเทพเจ้าที่คนจีนนิยมสักการะกันมากในเทศกาล ก็คือเทพเจ้าไฉ่สิ่งเอี๊ย (财神爷) เทพเจ้าแห่งโชคลาภนั่นเอง

ถอดรหัส ‘ของไหว้’ สิ่งที่ขาดไม่ได้ในวันตรุษจีน

“พูดถึงการเซ่นไหว้บรรพบุรุษและเทพเจ้าแล้ว อีกหนึ่งสัญลักษณ์แห่งความเป็นสิริมงคลที่เราจะไม่พูดถึงไม่ได้เลย ก็คือ ‘ของไหว้’ หลายคนอาจจะเคยสงสัยว่าคนจีนมีวิธีการเลือกของเซ่นไหว้อย่างไร คำตอบก็คือวิธีคิดเชิงกุศโลบายที่ซ่อนอยู่ในสิ่งของเหล่านั้น เป็นต้นว่า สิ่งก็ตามที่ลักษณะแสดงถึงความเป็นมงคล เช่น ตำลึงเงิน ตำลึงทอง

หรือสิ่งใดก็ตามที่แสดงถึงความยืนยาว เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว ก็จะถูกนำมาใช้เป็นของไหว้ และนอกจากลักษณะภายนอกแล้วชาวจีนยังมี การใช้คำพ้องเสียงเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นสิริมงคล เช่น

ส้ม ภาษาจีนเรียกว่า เฉิง (橙) พ้องเสียงกับคำว่า เฉิงกง (成功) ที่แปลว่า สำเร็จ

ปลา ภาษาจีนเรียกว่า ยวี๋ (鱼) พ้องเสียงกับคำว่า ยวี๋ (余) ที่แปลว่า เหลือกิน เหลือใช้

หรือ แอปเปิ้ล ภาษาจีนเรียกว่า ผิงกั่ว (苹果) ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่า ผิงอัน ( 平安 ) ที่แปลว่า ปลอดภัย เป็นต้น”

‘อั่งเปา’ สิ่งแรกที่หลายคนนึกถึง พร้อมกับความหมายที่ซ่อนอยู่

“เมื่อพูดถึงวันตรุษจีน สิ่งแรกที่คนจะนึกถึงเลยก็คือการให้อั่งเปา เพราะนอกจากจะเป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ (มนุษย์กับฤดูใบไม้ผลิ) แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นช่วงเวลาแห่งการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองด้วย

วิธีคิดที่มาคู่กับความกตัญญูกตเวที ก็คือการจุนเจือบริวาร คนที่เป็นผู้ใหญ่ สามารถหารายได้ด้วยตัวเองได้แล้ว จึงนิยมมอบอั่งเปาให้กับบริวาร อาจเป็นลูกหลาน หรือผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อเป็นจรรโลงจิตใจให้ลดความตระหนี่

อย่างไรก็ดี กุศโลบายคำพ้องเสียงสะท้อนความเป็นมงคลก็ถูกนำมาใช้กับการให้อั่งเปาเช่นกัน ชาวจีนจึงไม่นิยมให้อั่งเปาตามจำนวนเงินที่มีเลข 4 เนื่องจากในภาษาจีน คำว่า ซื่อ (四) ที่แปลว่า 4 ออกเสียงคล้ายคำว่า สื่อ (死) ซึ่งมีความหมายไม่เป็นมงคล นอกจากนี้ ชาวจีนยังเชื่อในเลขคู่ ทำอะไรให้ทำเป็นคู่ เวลาให้อั่งเปา จึงนิยมให้เป็นเลขคู่

เปิดตำราส่องเทศกาลตรุษจีนในประเทศไทย

“องค์ประกอบต่าง ๆ ในเทศกาลตรุษจีน ทั้งการกราบไหว้บรรพบุรุษ การบูชาเทพเจ้า ของไหว้ และอั่งเปา ล้วนเป็นแนวปฏิบัติดั้งเดิมที่มาจากชาวจีน ที่ถูกส่งต่อมายังประเทศไทย เนื่องจากแผ่นดินของเราโอบรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม และมีสัดส่วนของ หัวเฉียว(华侨)หรือชาวจีนโพ้นทะเลที่กระจายไปอยู่ตามประเทศต่าง ๆ หลากหลายชาติพันธุ์ ทั้งจีนแต้จิ๋ว จีนกวางตุ้ง จีนฮกเกี้ยน และไหหลำ ฯลฯ

ซึ่งไม่ว่าจะเป็นชาติพันธุ์ใดก็ตาม พวกเขาก็ยังคงยึดถือในวัฒนธรรมจีนดั้งเดิม ทั้งนี้ ด้วยความที่ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ เรามีพืชพรรณธัญญาหารมากมาย คนเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในไทยจึงค่อนข้างให้ความสำคัญกับการเซ่นไหว้ในเทศกาลตรุษจีน โดยนิยมไหว้หมู เห็ด เป็ด ไก่ พร้อมด้วยผลไม้และของมงคลต่าง ๆ อย่างเต็มที่ การเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนในไทยจึงยิ่งใหญ่ และเป็นที่นิยมไม่แพ้ต้นอารยธรรมอย่างจีนแผ่นดินใหญ่เลยทีเดียว”

ทั้งหมดนี้คือเกร็ดความรู้น่าสนใจจาก ดร. วิทย์ สิทธิเวคิน ที่จะทำให้คุณรู้จักกับตรุษจีนยิ่งขึ้น เตรียมเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูไฟ ด้วยสินค้าเสริมศิริมงคลสุดพิเศษจากท็อปส์แบบครบครัน อาทิ ชุดเครื่องไหว้เซตมงคลอาหารทะเลพรีเมี่ยม รวม 5 ชนิด กุ้งล็อบสเตอร์ หอยเป๋าฮื้อ ปลากระพงแดง ปลาหมึกทาโกะ และกุ้ง, เซตไหว้เจ้าไหว้บรรพบุรุษ, ผลไม้สดใหม่ที่แฝงความหมายลึกซึ้ง ไม่ว่าจะเป็นส้ม แอปเปิ้ล สาลี่ เมล่อนสลักอักษรมงคล ฯลฯ

และขนมมงคล อาทิ มายชอยส์ปุยฝ้าย ซิ้วท้อมงคล ขนมเข่งเทียน และขนมเข่ง รวมถึงของตกแต่งตามเทศกาลอีกมากมาย คัดสรรโดยอิงจากอินไซด์จริงของนักช้อปช่วงตรุษจีน พร้อมโปรโมชันที่ให้คุณจัดเตรียมเครื่องไหว้สุดพิเศษได้ก่อนใคร มาเปิดประตูสู่สิ่งดี ๆ ต้อนรับศักราชใหม่ไปด้วยกัน ที่ท็อปส์ ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์ และท็อปส์ เดลี่ ทุกสาขา

Advertisement

แชร์
5 เกร็ดประวัติตรุษจีน ที่อ่านจบภายใน 5 นาที ฉบับ ดร. วิทย์ สิทธิเวคิน