ทั้งนี้ ส่งผลให้ราคาจำหน่ายบุหรี่ปรับขึ้น เช่น เดิมซองละ 60 บาท ซึ่งปัจจุบันเสียภาษีอัตราตามมูลค่า 20% รวมทั้งการเก็บตามปริมาณที่มวนละ1.20 บาท แต่โครงสร้างภาษีใหม่จะปรับเพิ่มขึ้นมากกว่า 20% แต่ไม่ถึง 40%
อย่างไรก็ตาม การปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ใหม่จะเป็นการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เคยเกิดในอดีต และตอบโจทย์ใน 4 เรื่องหลัก คือ
1.ด้านสาธารณสุข
2.ด้านเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบจะต้องได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
3. ด้านรายได้ของรัฐบาลจะต้องไม่ลดลง
4. ด้านการดูแลบริหารจัดการบุหรี่เถื่อนและบุหรี่ปลอม
อนึ่ง เป็นไปตามที่ กรมสรรพสามิต เสนอมา โดยภายใต้โจทย์ทั้ง 4 เรื่องนี้ โครงสร้างภาษีใหม่อาจจะไม่ใช่สิ่งที่กลุ่มผู้ค้าบุหรี่บางกลุ่มต้องการ เแต่โดยภาพรวมภาระภาษีจะปรับเพิ่มขึ้น และยังเป็นการพยายามแก้ปัญหาที่รัฐบาลมีรายได้ลดลงจากบุหรี่หนีภาษี
ส่วนรายละเอียด โครงสร้างภาษีใหม่บุหรี่ใหม่จะมีการปรับขึ้นทั้งในภาษีด้านปริมาณจัดเก็บเพิ่มจากมวนละ 1.20 บาท หรือซองละ 24 บาท เพิ่มเป็นจัดเก็บมวนละ 1.25 บาท หรือซองละ 25 บาท ส่วนภาษีด้านมูลค่า ได้มีการขยับทั้งอัตราภาษีและฐานราคาขายปลีกใหม่ ซึ่งเดิมบุหรี่ราคาขายปลีกไม่เกินซอง 60 บาท เสียภาษี 20% จะปรับเพิ่มเป็นบุหรี่ขายปลีกไม่เกินซอง 72 บาท เสียภาษีเพิ่มเป็น 25% ส่วนบุหรี่ที่มีราคาขายปลีกเกินซอง 72 บาท จะเสียภาษีเพิ่มจาก 40% เป็น 42%
ขณะที่อัตราภาษีสรรพสามิตบุหรี่ใหม่จะมีผลให้ราคาบุหรี่ในท้องตลาดปรับเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งจากการคำนวณเบื้องต้น ถ้ามีการจัดเก็บภาษีในอัตราใหม่จะทำให้บุหรี่ขายปลีกที่มีราคาซองละ 55 บาท ปรับเพิ่มเป็น 64 บาท ส่วนบุหรี่ซองละ 60 บาท จะมีโอกาสปรับขึ้นสูงสุด 70-72 บาท ส่วนกลุ่มบุหรี่ราคาสูงที่ได้รับความนิยม ซองละ 95 บาท อาจขึ้นเป็นซองละ 110-115 บาท โดยรายละเอียดทั้งหมดจะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 30 กันยายน 2564 เพื่อให้มีผลบังคับใช้ทันตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป
ด้าน นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิดัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ได้เสนอความเห็นต่อที่ประชุมว่า ควรพิจารณาให้บุหรี่ไฟฟ้า หรือ บุหรี่ไอคอส ถูกกฎหมาย เพราะปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคบุหรี่มวนลดลง หันไปบริโภคบุหรี่รูปแบบใหม่ๆ ส่งผลให้จัดเก็บภาษีของรัฐน้อยลงตามไปด้วย และเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบในประเทศ ก็ได้รับผลกระทบจากราคาใบยาสูบตกต่ำ ส่งผลให้รัฐต้องจ่ายชดเชยช่วยเหลือ อีกทั้ง โครงสร้างภาษีของไทย ทำให้บุหรี่ไทยหลายยี่ห้อที่โรงงานยาสูบผลิตและจำหน่ายในประเทศ ราคาสูงกว่ายี่ห้อต่างประเทศที่นำเข้ามาค่อนข้างมาก ผู้บริโภคส่วนหนึ่งจึงหันไปสูบบุหรี่ต่างประเทศ ตรงนี้ทำให้โรงงานยาสูบขาดทุน และบุหรี่ไทยจะตาย
ดังนั้น หากทำให้บุหรี่ไอคอสถูกกฎหมาย จะช่วยลดการขาดทุนของโรงงานยาสูบ เป็นการช่วยเกษตรผู้ปลูกใบยาสูบ รัฐไม่ต้องจ่ายชดเชยอีกต่อไป และจะทำให้รัฐจัดเก็บรายได้จากภาษีเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันคนไทยนิยมบริโภคบุหรี่ประเภทนี้เป็นจำนวนมาก และในอนาคตอาจมีการตั้งโรงงาน เพื่อส่งออก เป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรใบยาสูบด้วย โดยยังได้ยกตัวอย่างหลายประเทศในยุโรป หรือญี่ปุ่น ที่ทำให้บุหรี่ไอคอสถูกกฎหมาย และยังได้หยิบยกงานวิจัยจำนวนมากที่ระบุว่า บุหรี่ไอคอสมีผลกระทบต่อสุขภาพน้อยกว่าบุหรี่มวน ซึ่งการทำให้ถูกต้องเป็นการปรับตัวที่ให้ผลดีมากกว่า ไม่เป็นการฝืนธรรมชาติ แต่แนวคิดดังกล่าวไม่ได้รับการตอบสนองจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เช็กเลย! ประกันสังคม แจง กรณีสถานะ สีเขียว เปลี่ยนเป็น สีแดง
- สรุปไทม์ไลน์ เงินเยียวยา ประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 www.sso.go.th รอบ 2 ล่าสุด
- ลงทะเบียนประกันสังคม www.sso.go.th มาตรา 40 และ เช็คสิทธิ ม. 33 กลุ่มแดงเข้ม 13 จังหวัด
Advertisement