1 ราคาข้าวเปลือกที่กรมการค้าภายในสืบ
2 ราคาข้าวเปลือกจากสมาคมโรงสี
3 ราคาข้าวเปลือกที่คำนวณจากราคาข้าวสาร
อนึ่งการคำนวณราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงจะใช้ราคารายวันย้อนหลัง 7 วัน จากทั้ง 3 แหล่งมาเฉลี่ย เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงที่ได้เป็นปัจจุบัน และที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงงวดที่ 1 สำหรับเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่ 15 ตุลาคม 2564 จะใช้ราคาเฉลี่ยย้อนหลังระหว่างวันที่ 5-14 ตุลาคม 2564 โดยได้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงและชดเชยส่วนต่างข้าวแต่ละชนิด ดังนี้
- ข้าวเปลือกหอมมะลิ 10,864.23 บาท/ตัน ชดเชยตันละ 4,135.77 บาท
- ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 10,407.75 บาท/ตัน ชดเชยตันละ 3,595.25 บาท
- ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 9,947.87 บาท/ตัน ชดเชยตันละ 1,052.13 บาท
- ข้าวเปลือกเจ้า 8,065.38 บาท/ตัน ชดเชยตันละ 1,934.62 บาท
- ข้าวเปลือกเหนียว 7,662.53 บาท/ตัน ชดเชยตันละ 4,337.47 บาท
เกษตรกรจะได้รับเงินส่วนต่างสำหรับงวดที่ 1 สูงสุด ได้แก่
- ข้าวเปลือกหอมมะลิ 57,900.78 บาท
- ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 57,524 บาท
- ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 26,303.25 บาท
- ข้าวเปลือกเจ้า 58,038.6 บาท
- ข้าวเปลือกเหนียว 69,399.52 บาท
สำหรับการโอนเงินส่วนต่างงวดที่ 1 ตามโครงการประกันรายได้ปี 2564/65 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะดำเนินการได้ภายหลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้รับทราบผลการหารือเกี่ยวกับอัตราต้นทุนเงินของ ธ.ก.ส. ระหว่างกระทรวงพาณิชย์ สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง และ ธ.ก.ส. ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 25 ต.ค.2564 ซึ่งกรมฯ ได้จัดให้มีการหารือเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 26 ต.ค.2564 และจะได้นำเสนอในการประชุม ครม. เพื่อรับทราบในสัปดาห์หน้า
โดยการจ่ายเงินชดเชยประกันรายได้ในปีที่ 3 ก็คงหลักการเช่นเดิม ธ.ก.ส. จะโอนเงินเข้าไปยังบัญชีของเกษตรกรภายใน 3 วันทำการหลังจากที่ได้มีการประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงเช่นเดียวกับปี 1 และปี 2
โครงการประกันรายได้ กำหนดราคาประกันที่ความชื้นที่ 15% เรียกข้าวแห้ง แต่ปัจจุบันเกษตรกรจะเกี่ยวสดและนำไปจำหน่าย ซึ่งจะมีความชื้นสูง ประมาณ 28-30% เรียกข้าวเปียก เมื่อหักความชื้นตามน้ำหนักไปแล้ว ก็จะได้ราคาที่ใกล้เคียงกัน เช่น ข้าวเปลือกเจ้า เกษตรกรจำหน่ายได้ 6,200-6,400 บาทต่อตัน เมื่อหักความชื้นแล้วก็จะเป็นข้าวแห้งที่ประมาณ 8,000-8,100 บาทต่อตัน
อย่างไรก็ตาม โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ได้ประกันราคาข้าวเปลือก 5 ชนิด ได้แก่
- ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,000 บาท ไม่เกิน 14 ตัน
- ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 14,000 บาท ไม่เกิน 16 ตัน
- ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 30 ตัน
- ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 11,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน
- ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 12,000 บาท ไม่เกิน 16 ตัน
ส่วนการกำหนดหลักเกณฑ์ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ แหล่งที่มาของราคา และการคำนวณราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงได้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับโครงการประกันรายได้ ปีที่ 1 และปีที่ 2
อย่างไรก็ตาม การคิดราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงจะเฉลี่ยมาจาก 3 แหล่ง ได้แก่ ราคาข้าวเปลือกที่กรมการค้าภายใน สืบราคาข้าวเปลือกจากสมาคมโรงสี และราคาข้าวเปลือกที่คำนวณจากราคาข้าวสาร ซึ่งการคำนวณราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงจะใช้ราคารายวันย้อนหลัง 7 วัน จากทั้ง 3 แหล่งมาเฉลี่ย เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงที่ได้เป็นปัจจุบันด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เปิดไทม์ไลน์ เงินเยียวยาเกษตรกร จ่ายเงินไร่ละ 1,000 บาท สูงสุด 20,000
- เปิดเงื่อนไข เงินช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท เช็กสิทธิผ่าน เว็บ chongkho.inbaac.com
- เงินช่วยเหลือเกษตรกร 2564/ 2565 วิธีเช็กสิทธิ ชาวนารับเงินสูงสุด 20,000 บาท
Advertisement