สปสช. ขยาย ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฟรี ถึง 31 ธ.ค.64 พร้อมเพิ่มกลุ่มเป้าหมาย บุคลากรด่านหน้า - กลุ่มเสี่ยง เช็กเลยไปฉีดที่ไหนได้บ้าง
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่นั้นเกิดขึ้นทุกปี ซึ่ง สปสช. ก็เข้ามามีส่วนในการจัดวัคซีน แต่ในปีนี้จะเน้นการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ครบ 2 เข็ม และอาจจะทำให้ประชาชนบางกลุ่มเกิดความสับสนว่าฉีดวัคซีนโควิดแล้วจะฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้หรือไม่ ซึ่งก็ต้องบอกว่าฉีดได้ แต่หากจะให้มั่นใจว่าฉีดแล้วจะปลอดภัยก็ควรจะเว้น 1 เดือน และถึงกลับมาฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
สำหรับประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ 1.ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 โรค ( โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งได้รับยาเคมีบำบัด เบาหวาน) 2. ผู้ที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป 3. เด็กอายุ 6 เดือนถึง 12 ปี 4. ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ 5. ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (SLE) รวมถึงผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ 6. หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป (รพ.ให้บริการตลอดทั้งปี) 7. ผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 100 กิโลกรัม หรือ ดัชนีมวลกาย (BMI) ตั้งแต่ 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
“ตอนนี้เราเพิ่มอีก 3 กลุ่มที่สำคัญกับโควิดด้วย 1.กลุ่มคนที่เป็นบุคลากรหรือผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกันโควิด 2. คนที่ทำงาน หรือใช้ชีวิตอยู่ในที่ที่มีคนเยอะเสี่ยงต่อการเป็นโควิด 3. กลุ่มเสี่ยงอื่นๆ จะเห็นได้ว่าเมื่อเราขยาย แทบจะทุกคนก็สามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้”
ทั้งนี้ ประชาชนกลุ่มดังกล่าว สามารถเข้ารับบริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ที่
- โรงพยาบาลรัฐ
- รพ.สต. ทุกแห่ง
- ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ กทม.
- คลินิกเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ
- สถานพยาบาลตามสิทธิที่ท่านไปรักษาเป็นประจำ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. สายด่วน สปสช. 1330 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- สปสช. เหมาจ่ายผู้ป่วยโควิดใช้สิทธิบัตรทอง ในระบบดูแลที่บ้านหรือที่ชุมชนวันละ 1,000 บาท
- ขั้นตอนขอรับ เงินเยียวยาแพ้วัคซีน จาก สปสช.
- สปสช.ชี้หากนักเรียนฉีดวัคซีนโควิดแล้วเกิดผลข้างเคียง สามารถขอรับเงินได้ 3 กรณี