กรณีสาวโพสต์โดน กรมศุลกากร ปรับภาษี กระเป๋าแบรนด์เนม มีสมาชิกเฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้แชร์ประสบการณ์การจ่ายภาษีที่สนามบิน หลังกลับมาจากต่างประเทศ โดยสิ่งของที่โดนปรับคือ กระเป๋าที่เป็นของใช้ส่วนตัวของตนเองไม่ได้หิ้วมาเพื่อการค้าในจำนวนเงินเกือบ 7 หมื่นบาทว่า
“คุณแม่ดู คนที่เค้าขายกระเป๋าแบรนด์เนมก๊อปปี้ Live ขายใน Facebook คุณแม่งงมากเลยตำรวจไม่จับเหรอค่ะ? เวลาเค้าใช้ของแท้ก็มาปรับเขาซะงั้น งงกับพี่ไทย มากๆๆเลย((ดูดู5555 แล้วคนที่ใช้ของปลอมเค้าปรับกันหรือเปล่าวะกระเป๋าเนี่ย”
สำหรับโพสต์ดังกล่าวมีคนแชร์ออกไปเป็นจำนวนมาก โดยมีหลายคนเข้ามาแสดงความคิดเห็น ว่า เจอเหตุการณ์แบบเดียวกัน หากกระเป๋าดูใหม่เหมือนเพิ่งซื้อ จะโดนเรียกเก็บภาษีแบบแพงสุดๆทุกราย
อย่างไรก็ตาม กรมศุลกากร เคยชี้แจงไว้ตั้งแต่ปี 2562 ว่า สิทธิของผู้โดยสารในการนำของติดตัวเข้ามาพร้อมกับตนทางท่าอากาศยาน กล่าวคือ ผู้โดยสารได้รับยกเว้นอากรสำหรับของส่วนตัวเพื่อใช้เองหรือใช้ในวิชาชีพมูลค่าไม่เกิน 20,000 บาท ทั้งนี้ต้องไม่เป็นของต้องห้าม ของต้องกำกัด และไม่มีลักษณะทางการค้า
หากผู้โดยสารนำของที่มีมูลค่าเกิน 20,000 บาท หรือเป็นของที่มีลักษณะเชิงพาณิชย์แม้จะมีมูลค่าไม่เกิน 20,000 บาท ของดังกล่าวเป็นของต้องเสียภาษีอากร ซึ่งผู้โดยสารสามารถมาสำแดงของเพื่อเสียภาษีอากร ที่ช่องตรวจมีของต้องสำแดง (ช่องแดง)
และหากของนั้นเป็นของต้องกำกัด ของนั้นต้องได้รับอนุญาตให้นำเข้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน โดยอัตราภาษีอากรนำเข้าจะแตกต่างกันตามชนิดและประเภทสินค้า เช่น กระเป๋า 20% นาฬิกา 5% เครื่องสำอาง 30% เข็มขัด 30% เป็นต้น และรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% โดยมีวิธีการคำนวณ คือ
ราคาสินค้า x อัตราภาษีขาเข้า = อากรขาเข้า
(ราคาสินค้า + อากรขาเข้า) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% = ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ค่าภาษีทั้งหมดที่ต้องชำระ = อากรขาเข้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ซึ่งกรมศุลกากรเน้นอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารโดยใช้ระบบบริหารความเสี่ยง (Risk Management) มาใช้ในการตรวจสอบกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสาร
ขณะเดียวกัน ยังมีบางคนเข้ามาแสดงความคิดถึงถึงกฏหมายดังกล่าวว่า ควรจะเพิ่มอัตราเงินภาษีสินค้านำเข้าจาก 2 หมื่นบาท ได้แล้ว เพราะตัวเลขนี้ใช้มาหลายปี ทั้งๆที่ค่าเงินสูงขึ้นในทุกๆปี
อ้างอิงต้นทางโพสต์ https://www.facebook.com/nok.berger/posts/4936273306405209
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ธนกร แจง รถทหารขนสินค้า แค่แผนสำรอง ชี้มาจากภาษี ย่อมใช้ช่วย ปชช.ได้
- ทะลุเป้า! สรรพากร เผยเก็บ ภาษีอีเซอร์วิส กำไรเข้าประเทศ 686 ล้าน
- รมว.สุชาติ เผยพบ นายจ้าง ไม่ยอมลงทะเบียนรับเงินเยียวยา SMEs ย้ำ ไม่โดนภาษีย้อนหลัง