สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ให้คำตอบกิน หมูกระทะ เสี่ยงได้รับสารก่อมะเร็ง 3 ชนิด จริงไหม?

27 ม.ค. 65

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ให้คำตอบ กิน หมูกระทะ เสี่ยงได้รับสารก่อมะเร็ง 3 ชนิด ส่งผลเกิด มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง จริงหรือไม่

จากกรณีที่มีการโพสต์และแชร์ข้อความในสื่อต่างๆ ถึงประเด็นเรื่องกิน หมูกระทะ เสี่ยงได้รับสารก่อมะเร็งมากถึง 3 ชนิด ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

วันที่ 27 ม.ค.65 ผู้สื่อข่าวรายงาน สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวข้างต้น ว่าในปัจจุบันประชาชนนิยมรับประทานอาหารประเภทปิ้งย่างและเมนูหมูกระทะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาหารที่ถูกปรุงสุกโดยผ่านความร้อนจนไหม้เกรียมจะพบสารก่อมะเร็งปนเปื้อนอยู่หลายชนิด ได้แก่ สารไนโตรซามีน (Nitrosamines) สารกลุ่มพัยโรลัยเซต (Pyrolysates) และสารในกลุ่มของพีเอเอช (PAHs)

การปนเปื้อนของสารก่อมะเร็งจะพบได้ในส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหาร พบในควันที่เกิดจากการปิ้งย่างของอาหารและควันที่เกิดจากการเผาไหม้ของเตาถ่าน รวมทั้งพบการปนเปื้อนตามเนื้อสัตว์ที่ผ่านการรมควัน ซึ่งหากรับประทานอาหารประเภทปิ้งย่างเป็นประจำ สารก่อมะเร็งจะเข้าไปสะสมในร่างกายอาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง

6f6c41df-4b06-48b3-97f4-f7293

ทั้งนี้หากมีการรับประทานอาหารประเภทปิ้งย่างให้ตัดในส่วนที่ไหม้เกรียมออกก่อนและปรุงอาหารโดยไม่ใช้ความร้อนสูงจนเกินไป อย่างไรก็ตาม ควรลดปริมาณการรับประทานอาหารประเภทปิ้งย่างลงและเลือกรับประทานอาหารที่หลากหลายให้ครบ 5 หมู่ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/  หรือ www.nci.go.th  หรือโทร. 02 2026800

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

สธ. ยัน หินรักษามะเร็ง ไม่จริง เตือนอย่าหลงเชื่อ อาจทำให้รักษาอย่างถูกต้องไม่ทัน
เตือน! Ice Bathing ไม่ใช่วิธีรักษามะเร็ง ชี้เสี่ยงถึงตายหากมีโรคประจำตัว
สารสกัดช่อดอกกัญชาพันธุ์ไทย มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง เตรียมทดสอบในสัตว์ทดลอง

 

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส