วันนี้ (3 ก.พ.65) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ กองบังคับการปราบปราม ถนนพหลโยธิน พลตำรวจตรี อนันต์ นานาสมบัติ ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ผบก.ปคบ.) พ.ต.อ. เนติ วงษ์กุกลาบ รอง ผกก.4 ปคบ. นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นางสาว อรสุรางค์ ธีระวัฒน์ ผู้เชียวชาญด้านมาตรฐานอาหาร ร่วมแถลงผลการจับกุมแหล่งผลิตไส้กรอกปนเปื้อนในพื้นที่จังหวัดชลบุรี พบมีการผลิตอาหารไม่ได้รับอนุญาต สามรถตรวจยึดของกลางได้ รวม 32 รายการ มูลค่ากว่า 700,000 บาท นอกจากนี้ยังพบว่าโรงงานไม่มีการขอขึ้นทะเบียนอาหาร รวมถึงมีการปลอมผลิตภัณฑ์สินค้าเป็นอาหารฮาลาลด้วย
โดย พ.ต.อ.เนติ เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจกก. 4 บก.ปคบ. ได้รับการประสานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ว่าพบผู้บริโภคซึ่งเป็นเด็กในพื้นที่ จ.เชียงใหม่, สระบุรี, เพลรบุรี, ตรัง และ กาญชนบุรี รวม 9 คน เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล เนื่องจากทานไส้กรอกและเกิดภาวะเมธฮีโมโกลบินนีเมีย จึงประสานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เชียงใหม่, สระบุรี, เพชรบุรี และ ตรัง เพื่อสืบทราบแหล่งจำหน่ายและแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ร่วมกับ อย. และ สสจ.ชลบุรี ลงพื้นที่ตรวจสอบโรงงานใน จ.ชลบุรี พบ นางสาว ร. (สงวนชื่อ-นามสกุลจริง) ซึ่งแสดงตนเป็นเจ้าของกิจการ และยอมรับว่าทำการผลิตโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยทำการผลิตมาประมาณ 5 ปี ซึ่งฉลากผลิตภัณฑ์ไส้กรอกหลายรายการตรงกับฉลากผลิตภัณฑ์ที่ผู้ป่วยบริโภคแล้วเกิดอาการผิดปกติ โดยฉลากดังกล่าวไม่แสดงเลขสารบบอาหาร และแสดงฉลากไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ สถานที่ผลิตยังไม่ผ่านเกณฑ์จีเอ็มพีที่กฎหมายกำหนด อีกทั้งไม่มีการควบคุมการผลิต ในกรณีที่มีการใช้วัตถุเจือปนอาหารอย่างเหมาะสม รวมถึงขั้นตอนการผลิตไม่เข้าข่ายโรงงานตามกฎหมาย รวมถึงผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีการแสดงฉลากผลิตภัณฑ์ถึง 32 ยี่ห้อ และมีสัญลักษณ์ฮาลาล เจ้าหน้าที่จึงได้เก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์ และตรวจยึดของกลางนำส่งพนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ. เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย และประสานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทำการตรวจสอบต่อไป
พ.ต.อ.เนติ กล่าวอีกว่า เบื้องต้นการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ฝ่าฝืนมาตรา 6(7) สถานที่ผลิตอาหารไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และฝ่าฝืน มาตรา 6(10) ผลิตภัณฑ์อาหารแสดงฉลากไม่ถูกต้อง โทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท นอกจากนี้ หากพบสารต้องห้ามในอาหาร จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 25 ฐาน ผลิตอาหารไม่บริสุทธิ์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากเป็นอาหารปลอม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000-100,000 บาท
ขณะที่ นพ.วิทิต กล่าวว่า ภาวะเมธฮีโมโกลบินนีเมีย คือ ภาสะที่เม็ดฮีโมโกลบินในเลือดมากผิกปกติ เพราะมีสารอื่นไปจับเม็ดเลือดแดง แทนที่ออกซิเจน ส่งผลให้ร่างกายมีภาวะขาดอ็อกซิเจน ทำให้มีอาการเหนื่อยล้าง่าย ใจสั่น หน้ามืด วิงเวียน หากมีอาการมาก จะทำให้ปลายมือเท้าเขียว และอาจขั้นหมดสติ หรือเสียชีวิตได้ ส่วนมากภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นจากสารไนไตรท์ และ ไนเตรต ที่ใช้ยืดอายุของอาหาร โดยปกติแล้วร่างกายสามารถขับสารดังกล่าวออกทางไตได้ โดยกฎหมายได้กำหนดให้ใช้สารดังกล่าวประกอบผลิตภัณฑ์อาหารได้ไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของอาหาร ทว่าจากการตรวจค้นในครั้งนี้
นางสาว ร. ได้ว่าจ้างคนงาน และใช้การชั่งตวงวัดที่ไม่ได้มาตรฐาน จากการตรวจวิเคราะห์ พบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีปริมาณสารถึง 2,000 กว่ามิลลิกรัม
นพ.วิทิต กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังพบว่าผลิตภัณฑ์หมูยอนั้น นำไก่มาประกอบอาหาร ซึ่งต้องทำการส่งตรวจว่ามีดีเอ็นเอของไก่จริงหรือไม่ และอาจเจ้าจ่ายความผิดอาหารปลอมได้ จึงอยากฝากถึงผู้ค้าและประชาชน ให้เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และมีฉลากของอย. ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ตรวจยึดได้นั้น มีเพียงฉลากยี่ห้อและภาพพรีเซ็นเตอร์ แต่มีความคล่ายคลึงกับผลิตภัณฑ์อื่นในท้องตลาด หลังจากนี้ อย.จะร่วมกับ สสจ. เพื่อตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมาย และประสานกับ บก.ปคบ. ในการทลายแหล่งผลิตต่อไป เพื่อให้เกิดความปลอดภัยของประชาชน
พล.ต.ต.อนันต์ ฝากความห่วงใยมายังประชาชนว่า ก่อนบริโภคควรตรวจสอบแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์อาหารก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นอาหารที่มีคุณภาพ และฝากถึงสถานประกอบการที่ผลิตอาหาร ให้มีความโปร่งใส และมีความปลอดภัย หากยังมีผู้ฝ่าฝืน เจ้าหน้าที่จะดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- อย.บุกโรงงานไส้กรอกพิษ พบใส่วัตถุกันเสียในปริมาณมากเกินไป
- อย. ดำเนินคดีกรณี ไส้กรอก ทำเด็กป่วยแล้ว พบมาจากตลาดมหาชัย
- กิน ไส้กรอก ไม่มียี่ห้อ รามาฯเตือน เด็กป่วยเมทฮีโมโกลบินแล้ว 6 ราย
Advertisement