>ภาคเหนือ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 8 - 44 มคก./ลบ.ม.
>ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกินค่ามาตรฐาน 4 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 28 - 66 มคก./ลบ.ม.
>ภาคกลางและตะวันตก เกินค่ามาตรฐาน 3 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 39 - 57 มคก./ลบ.ม.
>ภาคตะวันออก เกินค่ามาตรฐาน 4 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 30 - 62 มคก./ลบ.ม.
>ภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 10 - 18 มคก./ลบ.ม.
>กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ กทม. เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 39 - 72 มคก./ลบ.ม.
ประชาชนทั่วไป ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ลดเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ ถ้ามีอาการทางสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์
ศูนย์แบบจำลองคุณภาพอากาศและภูมิศาสตร์สารสนเทศ คพ. คาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล 7 วันล่วงหน้า พบ แนวโน้มของสถานการณ์ในช่วงวันที่ 9 - 15 กุมภาพันธ์ จะอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจากสภาพอากาศที่เปิด และสภาพอากาศที่นิ่งลดลง โดยท่านสามารถติดตามสถานการณ์ผ่านทางเว็บไซต์ Air4Thai.com และ bangkokairquality.com แอปพลิเคชัน Air4Thai และ AirBKK
ศกพ. ขอชี้แจงข้อเท็จจริงจากรายงานของ AirVisual เมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 07.00 น. กรุงเทพมหานครตรวจพบ PM2.5 สูงเป็นอันดับ 8 ของโลก อาจทำให้ประชาชนตื่นตระหนก และเกิดความเข้าใจผิดว่าคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานครอยู่ในขั้นวิกฤติ ต่อเนื่องติดต่อกันทุกชั่วโมง ทุกวัน ตลอดทั้งปี ซึ่งข้อเท็จจริงในการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศดังกล่าว เป็นตัวแทนสถานการณ์ระยะสั้น และโดยหลักการนักวิชาการใช้ค่าเฉลี่ยฝุ่นละออง PM2.5 ในระยะ 1 ปี เป็นดัชนีชี้วัดผลกระทบทางสุขภาพของประชาชน โดยในรายงานของ World Bank สถานการณ์ PM2.5 ของประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 70 จากทั้งหมด 194 ประเทศ
ล่าสุดวันนี้ 9 ก.พ. 65 กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร อัปเดตผลการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) เมื่อเวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง พบว่าเกินค่ามาตรฐานจำนวน 20 พื้นที่
ได้แก่ เขตวังทองหลาง เขตบางกะปิ เขตบึงกุ่ม เขตคลองสามวา เขตภาษีเจริญ เขตสายไหม เขตคันนายาว เขตบางนา เขตหนองจอก เขตคลองเตย เขตสาทร เขตดอนเมือง เขตจตุจักร เขตหนองแขม เขตมีนบุรี เขตคลองสาน เขตประเวศ เขตปทุมวัน เขตบางซื่อ และเขตหลักสี่
โดยตรวจวัดได้ในช่วง 34-63 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมงอยู่ที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) คิดเป็นร้อยละ 28.57 จากจำนวนเขตที่มีสถานีตรวจวัดทั้งหมด คุณภาพอากาศส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพในบางพื้นที่ ส่วนค่า PM 2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- กทม.และปริมณฑล มีแนวโน้มฝุ่น PM 2.5 สะสมสูงขึ้น จนถึง 28 ม.ค.นี้
- เตือน ฝุ่น PM2.5 สูง ทำร่างกายอักเสบ เกิดความผิดปกติในระบบต่างๆ
- เช็ก ฝุ่น PM2.5 ทั่วประเทศ เกินค่ามาตรฐาน 13 จังหวัด กทม.เกิน 37 เขต
Advertisement