โควิดไทย ติดเชื้อเพิ่ม ตายพุ่ง สวนทางทั่วโลก เตือน โอมิครอน รุนแรงน้อยกว่า เดลต้า แต่ติดแล้วตายได้เหมือนกัน

29 มี.ค. 65

หมอเปิดข้อมูล โควิดไทย ติดเชื้อเพิ่ม ตายพุ่ง สวนทางทั่วโลก-เอเชีย ที่มีอัตราลดลง โดยการติดเชื้อของคนไทยส่วนใหญ่เกิดจาก "การดำเนินชีวิตประจำวัน" ชี้ โอมิครอน อาการรุนแรงน้อยกว่าเดลต้า แต่ติดง่าย ป่วยได้ ตายได้เช่นเดียวกัน

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวันที่ 29 มี.ค. 65 โดยระบุว่า

"29 มีนาคม 2565 ทะลุ 482 ล้าน
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 881,528 คน ตายเพิ่ม 2,581 คน รวมแล้วติดไปรวม 482,800,292 คน เสียชีวิตรวม 6,150,944 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เยอรมัน เกาหลีใต้ ออสเตรีย ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 9 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 88.49 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 84.73

การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 36.74 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 37.03

...สถานการณ์ระบาดของไทย
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 6 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 11 ของโลก

...อัพเดตงานวิจัยเกี่ยวกับ BA.2
Chen LL และคณะจากฮ่องกง ศึกษาเปรียบเทียบระดับภูมิคุ้มกัน neutralizing antibody ที่จัดการกับเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron BA.2 กับ BA.1 พบว่าการดื้อต่อภูมิคุ้มกันนั้น BA.2 ดูจะมีแนวโน้มน้อยกว่า BA.1 อยู่บ้าง
ข้อสังเกตที่ได้จากผลวิจัยครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่า การแพร่ระบาดของ BA.2 ที่ไวกว่า BA.1 ซึ่งเป็นพันธุ์ดั้งเดิมนั้น น่าจะมีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่น ที่ไม่ใช่เรื่องการดื้อต่อภูมิคุ้มกัน ได้แก่ สมรรถนะของตัวไวรัสที่แพร่และ/หรือติดได้ง่ายขึ้น หรือปัจจัยอื่นเกี่ยวกับคน พฤติกรรม และอื่นๆ

ทบทวนความรู้ที่เรามีเกี่ยวกับ BA.2 ในขณะนี้
หนึ่ง ติดไวกว่า BA.1 ราว 30%
สอง ติดเชื้อแล้วมีปริมาณไวรัสในช่องคอมากกว่า BA.1 ราว 2 เท่า
สาม สามารถจับกับตัวรับ ACE2 บนผิวเซลล์ได้ดีกว่า BA.1
สี่ อัตราการติดเชื้อไปยังผู้อื่น (secondary attack rate) สูงกว่า BA.1
ห้า ระยะเวลานับจากวันแรกที่คนที่ติดเชื้อคนแรกมีอาการ ไปยังคนที่รับเชื้อมีอาการ (serial interval) สั้นกว่า BA.1
หก การดื้อต่อภูมิคุ้มกัน ดูจะน้อยกว่า BA.1 อยู่บ้าง

...ปัจจุบัน ในไทยเรา การระบาดต่อเนื่อง กระจายทั่ว ส่วนใหญ่ติดเชื้อมาจากการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งในที่ทำงาน ที่บ้าน งานเลี้ยงสังสรรค์ งานแต่งงาน งานศพ งานบวช รวมถึงสถานที่ที่มีคนหมู่มาก แออัด ระบายอากาศไม่ดี และที่ชัดเจนมากคือ ระหว่างการกินดื่มร่วมกับผู้อื่น เพราะเป็นช่วงที่ไม่ได้ป้องกันตัว

พึงระลึกไว้ว่า แม้ความรุนแรงจะน้อยกว่าสายพันธุ์เดลต้า แต่ติดง่าย ป่วยได้ ตายได้ รวมถึงอาจมีโอกาสส่งผลกระทบต่อชีวิตในระยะยาวจากภาวะ Long COVID ซึ่งจะบั่นทอนสมรรถนะในเรื่องความคิด ความจำ รวมถึงการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจทำให้เกิดโรคเรื้อรังไปตลอดชีวิต

ใส่หน้ากากเสมอ เว้นระยะห่างจากคนอื่น พบปะคนอื่นเท่าที่จำเป็น ใช้เวลาสั้นๆ เลี่ยงการกินดื่มหรือแชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่น หากไม่สบาย ควรแจ้งคนใกล้ชิด แยกตัว หยุดเรียนหยุดงาน ไปตรวจรักษาให้หายดีเสียก่อน

คนที่ติดเชื้อมาก่อน ควรหมั่นตรวจสอบสุขภาพตนเองอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการผิดปกติต่างจากอดีต ควรปรึกษาแพทย์ และที่สำคัญคือ ติดแล้วมีโอกาสติดซ้ำได้ หากไม่ป้องกันตัว"
 
และอีกหนึ่งชุดข้อมูลโควิด-19 เปรียบเทียบ โควิดไทย-โควิดทั่วโลก โดย คุณหมอธีระ ได้โพสต์ว่า
 
"แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงรายสัปดาห์
ทั่วโลกติดเชื้อลดลง 11% ตายลดลง 19% เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า
ทวีปเอเชียติดเชื้อลดลง 20% ตายลดลง 18% เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า

advertisement

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส