บลูบิค กรุ๊ป แนะธุรกิจธนาคารมุ่งสู่ Lifestyle Banking คว้า 'เวลา' จากผู้บริโภคไว้นานที่สุด

21 พ.ค. 62
บลูบิค กรุ๊ป เผยในอีก 5 ปีข้างหน้าการแข่งขันในกลุ่มธุรกิจธนาคารมีแนวโน้มแข่งขันดุเดือดมากขึ้น เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้ทันต่อพฤติกรรมผู้บริโภคอยู่เสมอ และยังมีผู้เล่นนอกวงการฯโดดเข้ามาแชร์ส่วนแบ่งการตลาดแนะสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจไม่ใช่แค่การแย่งเงินจากลูกค้า แต่ต้องชิง”เวลา” ให้ลูกค้าอยู่กับธุรกิจได้นานที่สุดต้องเร่งปรับตัวเป็น Lifestyle Banking ประตูแห่งการเข้าถึงผู้บริโภคเผยจากประสบการณ์เข้าไปเป็นตัวเชื่อมระหว่างธนาคารกับพันธมิตร เพื่อร่วมสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่มีประสิทธิภาพผ่านการออกแบบ Customer Experience และ Engagement Modelสู่ยุคใหม่ของธุรกิจธนาคาร เพื่อเปลี่ยนผ่านจาก Traditional Banking ไปเป็น Lifestyle Banking อย่างเต็มรูปแบบ นายพชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่าการแข่งขันของวงการธนาคารจะดุเดือดขึ้นภาย ในระยะเวลา 5 ปีนี้ หรือภายในปี 2567 จากปัจจัยที่ผู้ประกอบการเริ่มมีการนำเทคโนโลยี ต่างๆ เข้ามาปรับใช้กับผู้บริโภค เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้ทันต่อพฤติกรรมผู้บริโภคอยู่เสมอ รวมถึงมีผู้เล่นนอกอุตสาหกรรมเข้ามาแชร์ส่วนแบ่งการตลาด อาทิ Apple ที่ทำในรูปแบบ virtual credit card, line pay wallet (emoney) True money, Line pay และ Airpay ในไทย รวมถึง WeChatPay Alipay ในจีน “ยุคปัจจุบัน สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจธนาคาร ไม่ใช่แค่การแย่งเงินจากลูกค้า แต่คือการแย่งส่วนแบ่งเวลาของลูกค้า เพราะเวลาเป็นสิ่งที่มีจำกัดสำหรับผู้บริโภคธุรกิจส่วนใหญ่จึงเปลี่ยนจากการแย่งเงินในกระเป๋าลูกค้าตรง ๆ มาเป็นการแย่งเวลาของลูกค้าให้อยู่กับธุรกิจนานขึ้น เพื่อหาโอกาสในการสร้างรายได้ และการเก็บข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อ รวมทั้งต้องทำตัวเป็นแพลตฟอร์มให้พันธมิตรรายอื่น ๆ ที่ต้องเข้าถึงลูกค้าผ่านธุรกิจเหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ไลน์ ที่ให้ลูกค้าใช้บริการฟรี จนกลายเป็นแพลตฟอร์มยอดฮิตที่สามารถอยู่กับลูกค้าเกือบตลอดเวลา จนธุรกิจอื่น ๆ ต้องจ่ายเงินให้ไลน์ เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเหล่านั้น ซึ่งไลน์มีข้อได้เปรียบเรื่องส่วนแบ่งเวลาของลูกค้าที่เด่นชัด อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ Netflix แพลตฟอร์มที่ให้บริการความบันเทิงลูกค้าชนิดส่งตรงถึงบ้าน ประสบความสำเร็จอย่างมากในการแย่งส่วนแบ่งเวลาของลูกค้า ทำให้เ Netflix สามารถสร้างความภักดีต่อบริการ และเก็บข้อมูลลูกค้าได้จำนวนมหาศาลเพื่อมาต่อยอดยกระดับบริการได้ตรงตามความต้องการลูกค้าได้แบบรายบุคคล” อย่างไรก็ดีการที่ธุรกิจธนาคารจะสามารถอยู่รอดได้อย่างแข่งแกร่งในสมรภูมิการแข่งขันที่ดุเดือดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเร่งปรับตัวเป็น Lifestyle Banking หรือการทำธุรกรรมธนาคารผ่านการใช้ชีวิต ปัจจุบันลูกค้าธนาคารส่วนใหญ่ไม่มีเวลาที่จะเดินทางไปทำธุรกรรมผ่านธนาคารมากนัก แต่ทุกคนต้องมีบัญชีธนาคารเพื่อเก็บเงินและใช้สำหรับใช้จ่าย การที่ธนาคารมุ่งสร้าง Digital channel จึงก่อให้เกิดความสะดวก และสร้างโอกาสให้ลูกค้าติดต่อใช้งานธนาคารมากขึ้น แต่หลังจากนี้ธุรกิจธนาคารกำลังเผชิญกับการถูกแย่งเวลาลูกค้าจากกลุ่มธุรกิจอื่น ๆ ได้เช่นกัน เพราะกลุ่มธุรกิจอื่นต่างรุกคืบเข้าไปใกล้ชิดและต่างมุ่งแย่งเวลามาจากลูกค้าให้อยู่กับธุรกิจของตัวเองนานขึ้นเช่นกัน และยังเริ่มเปิดให้บริการทางการเงินเพิ่มความสะดวกให้ลูกค้าด้วยเช่นกัน ฉะนั้นธนาคารจะต้องหาวิธีช่วงชิงเวลาในส่วนบริการจากธุรกิจอื่นเข้ามาให้บริการเพื่อดึงลูกค้าเข้ามาอยู่กับธุรกิจให้นานที่สุดเช่นกัน ด้วยการยกระดับตนเองให้เป็น Lifestyle Banking นายพชร กล่าวเสริมว่า จากประสบการณ์ทำงานของ บลูบิค กรุ๊ป กับธนาคารชั้นนำหลายธนาคารในไทยเพื่อปรับบทบาทตัวเองให้มีความเป็น Lifestyle Banking จากความเป็น Traditional Banking หรือ ด้วยการเข้าไปช่วยในการเป็นตัวเชื่อมระหว่างธนาคารกับพันธมิตร ให้คำปรึกษาและทำงานร่วมกันในเรื่องของ Digital disruption เพื่อร่วมสร้างผลิตภัณฑ์และบริการอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการออกแบบ Customer Experience ให้มีความกลมกลืนกับการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น การออกแบบหน้าตาและ Design ของ Digital Banking เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะในความรู้สึกของผู้บริโภคธนาคาร เป็นเรื่องยุ่งยากและต้องใช้เวลานานในการทำธุรกรรม “หากหน้าตา Design ของ Digital Banking ไม่น่าสนใจ ใช้งานยาก จะยิ่งทำให้ผู้บริโภคไม่อยากเลือกใช้งาน นอกจากนี้ในส่วนการสร้าง Engagement Model เพื่อตอบรับกับธุรกิจธนาคารยุคใหม่ จากประสบการณ์ทำงานร่วมกับธนาคารชั้นนำการสร้างบริการจำพวก E-Payment เพื่อเป็นประตูสู่ Lifestyle banking มีความยากในส่วนระบบ Payment ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจนทำให้ธนาคารหลายๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือจากที่ปรึกษาเข้ามาเร่งนำบริการสู่ตลาดเป็นเจ้าแรกๆ เพราะการออกช้าส่งให้สูญเสียโอกาสอย่างมหาศาล การพัฒนากระบวนการและแพลทฟอร์มเพื่อให้รองรับการเชื่อมต่อกับพันธมิตรต่าง ๆ เพื่อสร้างความหลากหลายของบริการและการเข้าถึง Lifestyle โดยตรงมากขึ้น เพราะธนาคารคงไม่สามารถทำทุกอย่างเองได้และไม่ควรเสียเวลากับการทำงานส่วนนี้เอง เพราะจะทำให้ขาดความรวดเร็วในการแข่งขัน การให้บริการด้าน Lifestyle หลายๆอย่างไม่ได้เป็น Core business ของธนาคาร ที่ปรึกษา จึงเป็นส่วนเสริมที่เข้าไปช่วยในการเป็นตัวเชื่อมระหว่างธนาคารกับพันธมิตรเพื่อร่วมกันสร้างผลิตภัณฑ์และบริการอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการบริหารจัดการที่ด้อยประสิทธิภาพจะทำให้ความร่วมมือระหว่างธนาคารและพันธมิตรไม่สามารถแสดงศักยภาพในการเข้าถึงลูกค้าได้ เต็มที่” นายพชรกล่าวทิ้งท้าย.

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวประชาสัมพันธ์ เป็นกระแส