วิธีการตรวจเช็กและบำรุงรักษา ถังดับเพลิง ให้อยู่ในสภาพปลอดภัยพร้อมใช้งานและมีประสิทธิภาพ
จากกรณีข่าวสะเทือนใจ เกิดเหตุถังดับเพลิงระเบิดในโรงเรียน ขณะกำลังฝึกซ้อมดับเพลิง เป็นเหตุให้นักเรียนเสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บหลายราย ทำให้หลายคนหวาดหวั่นในความปลอดภัยในการใช้ถังดับเพลิง
บึ้มสนั่น! โรงเรียนราชวินิตมัธยม ร่างเด็ก ม.6 กระเด็น 10 เมตร ดับคาที่
ทั้งนี้ ถังดับเพลิงเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างยิ่ง จึงควรบำรุงรักษาเพื่อให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานต่อเหตุไม่คาดคิดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอยู่เสมอ
สถานที่ติดตั้งถังดับเพลิง
• หลีกเลี่ยงการติดตั้งไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง มีความชื้นสูง หรือเกิดความสกปรกได้ง่าย เช่น ตากแดด ตากฝน หรือติดตั้งใกล้จุดกำเนิดความร้อนต่างๆ เช่น เตาไฟ หรือเครื่องจักรที่มีความร้อนสูง
การบำรุงรักษาถังดับเพลิง
• ทำความสะอาดตัวถัง และอุปกรณ์ (สายฉีด, หัวฉีด) เป็นประจำเพื่อตรวจดูสภาพตัวถังและอุปกรณ์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และมีสภาพใหม่อยู่เสมอ
• หากเป็นเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ควรยกถังพลิกคว่ำ-หงาย ประมาณ 5-6 ครั้ง ทุกๆ 3-6 เดือน เพื่อให้ผงเคมีมีการเคลื่อนตัวและไม่จับตัวเป็นก้อน
• เครื่องดับเพลิงที่มีอายุเกิน 5 ปีขึ้นไป ควรส่งมาตรวจสอบที่บริษัทเพื่อตรวจเช็คสภาพของตัวเครื่องและทำการถ่ายเคมีออกและบรรจุใหม่
การตรวจสอบแรงดันภายในถังดับเพลิง
1.แรงดันปกติ (195psi): เข็มอยู่ในแนวตั้ง 90ºC ที่แรงดันปกติ195psi หรือในพื้นที่สีเขียวแสดงว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้
2.แรงดันต่ำ (RECHARGE): เข็มเอียงไปทางด้านซ้ายมือนอกพื้นที่สีเขียว หรือต่ำกว่าแรงดันปกติ195psi แสดงว่าแรงดันภายในถังต่ำกว่าปกติอยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งาน ควรติดต่อบริษัททันทีเพื่อทำการอัดฉีดแรงดันใหม่
3.แรงดันเกิน (OVERCHARGE): เข็มเอียงไปทางด้านขวามือนอกพื้นที่สีเขียว หรือสูงกว่าแรงดันปกติ 195psi แสดงว่าแรงดันภายในถังสูงกว่าปกติสภาพถังอาจจะบวมหรือแตกออกหากแรงดันขึ้นสูงเกิน 1000psi อาจทำให้เกิดอันตรายเนื่องจากถังอาจระเบิดได้ ควรติดต่อบริษัทให้ดำเนินการแก้ไขโดยด่วน
หมายเหตุ: เครื่องดับเพลิงชนิดCO2 จะไม่มีมาตรวัดแรงดัน ผู้ใช้สามารถตรวจวัดก๊าซภายในถังได้โดย วิธีชั่งน้ำหนัก หากน้ำหนักก๊าซภายในถังลดลงต่ำกว่า 80% ควรติดต่อบริษัทเพื่อทำการดำนินการบรรจุใหม่ในทันที