"สนามบินดอนเมือง"ไขข้อสงสัย? ทำไมถึงติดอันดับ 26 จาก 29 สนามบินที่อันตรายที่สุดในโลก
29 มิ.ย.2566 ท่าอากาศยานดอนเมือง มีชื่อเดิมว่า ท่าอากาศยานกรุงเทพ หรือ สนามบินดอนเมือง เป็นท่าอากาศยานในประเทศไทย ที่ตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง ช่วงกิโลเมตรที่ 24 ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร เป็นจุดศูนย์กลางทางการบินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สามารถเชื่อมโยงการคมนาคมทางอากาศไปยังจุดต่าง ๆ ของโลกได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการบินภายในทวีปเอเชียด้วยกัน หรือระหว่างทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา ทวีปออสเตรเลีย ซึ่งสามารถใช้เป็นจุดแวะลงและเชื่อมต่อในการเดินทางของผู้โดยสารตลอดจนพัสดุไปรษณียภัณฑ์ไปยังจุดอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี
ท่าอากาศยานดอนเมืองเปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 โดยปิดตัวลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 พร้อมกับการเปิดใช้งานท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยท่าอากาศยานดอนเมืองถูกเปลี่ยนเป็นสถานที่ซ่อมเครื่องบิน ฝึกบิน และสำหรับจอดเครื่องบินส่วนตัวของบุคคลสำคัญ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา ท่าอากาศยานดอนเมืองได้กลับมาให้บริการเที่ยวบินแบบประจำ (Scheduled flight) ในประเทศอีกครั้ง
ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทย โดยในปัจจุบันยังมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก โดยข้อมูลจากเว็บไซต์ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 28 มิ.ย.2566 เวลา 00.00-23.59 น. รายงานว่าที่สนามบินดอนเมืองมีเที่ยวบินทั้งหมด 505 เที่ยว
ขณะที่เว็บไซต์ด้านการเดินทางชื่อดัง The BoutiqueAdventurer จัดอันดับสนามบินที่อันตรายที่สุดในโลกทั้งหมด 29 สนามบิน โดยสนามบินดอนเมืองได้ถูกจัดอันดับ ให้เป็นหนึ่งในสนามบินที่อันตรายที่สุดในโลก โดยอยู่ในลำดับที่ 26 จากทั้งหมด 29 อันดับ (ข้อมูลอัพเดตเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566)
ความอันตรายของสนามบินยังสามารถแบ่งออกจากปัจจัยดังนี้
- สนามบินนานาชาติคันไซ ประเทศญี่ปุ่น ด้วยเหตุผลของทำเลที่ตั้งที่มีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะแผ่นดินไหวและลมพายุตามฤดูกาล
สนามบินที่มีความอันตรายจากสภาพภูมิอากาศ และได้รับความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ
- Barra International Airport (สกอตแลนด์)
- Wellington International Airport (นิวซีแลนด์)
- McMurdo Station Airport (ทวีปแอนตาร์กติกา)
- Svalbard Airport (นอร์เวย์)
- Gustaf III Airport (แคริบเบียน)
- Gisborne Airport (นิวซีแลนด์)
- Madeira Airport (โปรตุเกส)
- Gibraltar Airport (ยิบรอลตาร์)
สนามบินที่มีความอันตรายจากระดับความสูง
- Lukla Airport (เนปาล) เนื่องจากอยู่บริเวณเบสแคมป์ในหิมาลัยเทือกเขาสูงที่สุดในโลก
- Aspen/Pitkin County Airport (โคโลราโด สหรัฐอเมริกา)
- Telluride Regional Airport ในเมืองโคโลราโดเช่นกัน แต่อยู่บนหุบเขาที่มีหิมะปกคลุมอยู่ตลอดปี
- Courchevel Airport (ฝรั่งเศส) เป็นสนามบินที่อยู่กลางหุบเขาและรีสอร์ตสกี
สนามบินที่มีความอันตรายที่เกิดจากสภาพของรันเวย์
- Princess Juliana International Airport (เซนต์มาร์ติน) เล็กและแคบกว่าสนามบินทั่วไป
- Narsarsuaq Airport (กรีนแลนด์) เสี่ยงมีน้ำแข็งปกคลุมรันเวย์ช่วงอากาศหนาวเย็น
- Cleveland Hopkins International Airport (คลีฟแลนด์ สหรัฐอเมริกา) ฝนตกหนักบ่อย และเคยถูกประเมินว่าระบบความปลอดภัยต่ำ
- Agatti Airport หรือ Aerodrome (เกาะอากัตติ, Agatti Islands ของอินเดีย มีรันเวย์เล็กและแคบกว่าสนามบินทั่วไป
- Congonhas-São Paulo Airport (บราซิล) รันเวย์ลื่น เคยมีอุบัติเหตุเครื่องบินไถลออกนอกลู่ จนมีผู้เสียชีวิต 180 ราย ในปี 2007
สนามบินที่มีความอันตรายจากทำเลที่ตั้ง
- Santos Dumont Airport (บราซิล) มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้การลงจอดทำได้ยาก ตามไปด้วย
- San Diego International Airport (เมืองซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา) อยู่ใจกลางเมืองท่ามกลางตึกสูง อาจเกิดปัญหาเวลาเครื่องบินลดระดับก่อนลงจอดได้
- Toncontin International Airport (ฮอนดูรัส) อยู่กลางหุบเขา
- Kai Tak Airport (ฮ่องกง) อยู่กลางเกาะฮ่องกง มีตึกสูงอยู่ล้อมรอบ
- Shimla Airport (อินเดีย) อยู่กลางภูเขาสูง
- Tioman Island Airport ( มาเลเซีย) อยู่ใกล้ภูเขาไฟ ทำให้เวลาลงจอดต้องหักลำเกือบ 90 องศา
สนามบินที่มีความอันตรายจากปัจจัยทางการเมืองและเหตุการณ์รุนแรงในสังคม
- Damascus International Airport (ซีเรีย) เนื่องจากอยู่ท่ามกลางสงครามกลางเมืองต่อเนื่องยาวนานหลายสิบปี
รายชื่อ 29 อันดับ สนามบินที่อันตรายที่สุดในโลก
- ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ (ประเทศญี่ปุ่น)
- ท่าอากาศยานนานาชาติบาร์รา (สกอตแลนด์)
- ท่าอากาศยานนานาชาติเวลลิงตัน (นิวซีแลนด์)
- ท่าอากาศยานนานาชาติพรินเซสจูเลียนา (เซนต์มาร์ติน)
- ท่าอากาศยานลูกลา (เนปาล)
- ท่าอากาศยานพาโร (ภูฏาน)
- ท่าอากาศยานซานโตส ดูมองต์ (บราซิล)
- สถานีแมคเมอร์โด (แอนตาร์กติกา)
- ท่าอากาศยานสวาลบาร์ด (นอร์เวย์)
- ท่าอากาศยานกุสตาฟที่ 3 (แคริบเบียน)
- ท่าอากาศยานซาบา (ดัตช์แคริบเบียน)
- ท่าอากาศยานกิสบอร์น (นิวซีแลนด์)
- ท่าอากาศยานมาเดรา (โปรตุเกส)
- ท่าอากาศยานนาร์ซาร์ซวก (กรีนแลนด์)
- ท่าอากาศยานนานาชาติยิบรอลตาร์ (ยิบรอลตาร์)
- ท่าอากาศยานนานาชาติซานดิเอโก (แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา)
- ท่าอากาศยานนานาชาติตันคอนติน (ฮอนดูรัส)
- ท่าอากาศยานแอสเพน/พิตคิน เคาน์ตี้ (โคโลราโด สหรัฐอเมริกา)
- ท่าอากาศยานนานาชาติอเลฮานโดร เวลาสโก อัสเตเต กุสโก (เปรู)
- ท่าอากาศยานไคตั๊ก (ฮ่องกง)
- ท่าอากาศยานอะกัตติ (อินเดีย)
- ท่าอากาศยานนานาชาติคลีฟแลด์ ฮอปคินส์ (คลีฟแลนด์ สหรัฐอเมริกา)
- ท่าอากาศยานภูมิภาคเทลลูไรด์ (โคโลราโด สหรัฐอเมริกา)
- ท่าอากาศยานคองโกฮาส-เซาเปาโล (บราซิล)
- ท่าอากาศยานกูร์เชเวล (ฝรั่งเศส)
- ท่าอากาศยานดอนเมือง (ประเทศไทย)
- ท่าอากาศยานเกาะเตียวมัน (มาเลเซีย)
- ท่าอากาศยานชิมลา (อินเดีย)
- ท่าอากาศยานนานาชาติดามัสกัส (ซีเรีย)
ส่วนสาเหตุที่ทำให้สนามบินดอนเมืองเป็นหนึ่งในสนามบินอันตรายที่สุดในโลก มาจากปัญหาทำเลที่ตั้ง "เนื่องจากรันเวย์ของสนามบินถูก ขนาบด้วยสนามกอล์ฟ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัย"
อ้างอิงข้อมูลจาก : the boutique adventurer,วิทยุการบินแห่งประเทศไทย,กรุงเทพธุรกิจ