กำไล EM ใช้กับคดีใดบ้าง เปิดโทษ พยายามทำให้ EM เสียหาย ติดตามตัวไม่ได้

7 พ.ย. 66

รู้จัก กำไล EM อุปกรณ์ติดตามความเคลื่อนไหวของผู้ถูกคุมประพฤติ ใช้กับคดีใดบ้าง เปิดโทษ พยายามทำให้ EM เสียหาย ติดตามตัวไม่ได้

EM คืออะไร

“อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว” (Electronic Monitoring) หรือ “EM” หมายถึง อุปกรณ์รับส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์พร้อมกับชุดอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการติดตามตัว รวมถึงการตรวจสอบ ความเคลื่อนไหว หรือตำแหน่งของผู้ถูกคุมประพฤติให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำานาจสั่ง อาทิ การห้ามออกหรือห้ามเข้าบริเวณที่กำหนด โดยอาจกำหนดช่วงเวลาด้วยก็ได้ ซึ่งจะดำาเนินการควบคู่กับมาตรการแก้ไขฟื้นฟู

EM ใช้กับใคร

ผู้ติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) ของกรมคุมประพฤติ ต้องเป็นผู้ที่ศาลหรือพนักงานผู้มีอำานาจสั่งคุมความประพฤติ อาทิ ผู้ถูกคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ผู้ได้รับการพักการลงโทษ ฯลฯ พร้อมกำหนดเงื่อนไขการคุมความประพฤติด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว ซึ่งอาจควบคู่กับเงื่อนไขการคุมความประพฤติอื่น ๆ ก็ได้ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าเหมาะสมกับผู้กระทำผิดรายนั้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนด

EM ใช้กับฐานความผิดใด

กรณีจำกัดบริเวณ

• จำเลยมีข้อบกพร่องในเรื่อง เที่ยวเตร่ ในเวลากลางคืน / เล่นการพนัน / เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ /
ดื่มสุรามึนเมาแล้วก่อเรื่องราวทะเลาะวิวาท / พกพาอาวุธ
• มีที่พักอาศัยในพื้นที่มีปัญหายาเสพติด
• ความผิดฐานลักทรัพย์ที่ประกอบด้วย เหตุฉกรรจ์ เช่น ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ลักทรัพย์ในเคหสถาน

กรณีจำกัดความเร็ว

• ความผิดฐานขับรถประมาทฯ
• ความผิดตาม พรบ.จราจรฯ เช่น แข่งรถในทางสาธารณะฯ / ใช้ความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
กรณีห้ามเข้าเขตกำหนด
• ความผิดฐานบุกรุก / ทำร้ายร่างกาย / ความผิดเกี่ยวกับเพศ ซึ่งผู้เสียหายยังเกรงกลัวจำเลย,จำเลยอยู่ในชุมชนเดียวกับผู้เสียหาย

ห้ามออกนอกเส้นทางที่กำหนด

• ใช้ร่วมกับเงื่อนไขอื่นๆ ในกรณีที่จำเลยมีความจำเป็น ต้องออกจากที่พักเพื่อไปประกอบอาชีพ หรือมีภารกิจต่างๆ

โทษของการพยายามทำให้ EM เสียหายหรือขาดการติดต่อ

หากผู้กระทำผิดฝ่าฝืนเงื่อนไขการคุมความประพฤติด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว รวมถึงพยายามรบกวนอุปกรณ์ ทำให้อุปกรณ์เสียหาย หรือทำให้ขาดการติดต่อไม่ว่ากรณีใด จะมีสัญญาณเตือนไปยังระบบของศูนย์ควบคุมกลางในทันที ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ประจำตลอด 24 ชั่วโมง

จากนั้น พนักงานคุมประพฤติจะตรวจสอบข้อเท็จจริง และหากพบว่าจงใจฝ่าฝืนเงื่อนไขหรือข้อปฏิบัติในการใช้อุปกรณ์ พนักงานคุมประพฤติจะรายงานศาลหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำานาจสั่งโดยเร็วเพื่อมีคำสั่งต่อไป ซึ่งอาจมีคำสั่งเพิกถอนการคุมความประพฤติ และถูกกำหนดโทษ หรือลงโทษจำคุก ตามที่ รอการลงโทษ หรือพักการลงโทษไว้

ข้อมูล : กระทรวงยุติธรรม

กำไล EM

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม