คริสต์มาส เทศกาลความสุข ที่คนไทยเริ่มฉลองกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

4 ธ.ค. 66

คริสต์มาส ประวัติคริสต์มาส เทศกาลความสุข ที่คนไทยเริ่มฉลองกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ความหมายของตกแต่งวันคริสต์มาส

คริสต์มาส เทศกาลแห่งความสุขที่ในหลายประเทศทั่วโลกกำหนดให้เป็นวันหยุด ยกเว้นประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งประเทศที่ไม่ได้มีกำหนดให้หยุดพิเศษในวันนี้ แต่ก็มีการเอาธรรมเนียมมาใช้กันหลายอย่าง เช่น การให้ของขวัญ การประดับตกแต่ง และต้นคริสต์มาส ประเทศที่คริสต์มาสไม่ใช่วันหยุดราชการ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน (ยกเว้นฮ่องกงและมาเก๊า) ญี่ปุ่น ซาอุดิอาระเบีย อัลจีเรีย ไทย เนปาล อิหร่าน ตุรกี และเกาหลีเหนือ การเฉลิมฉลองคริสต์มาสรอบโลกอาจมีรูปแบบแตกต่างกันชัดเจนมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละชาติ

ประวัติคริสต์มาส

นักเขียนคริสต์ศาสนิกชนยอมรับว่าคริสต์มาสเป็นวันประสูติของพระเยซูที่ถูกต้องเป็นเวลาหลายศตวรรษ นักบุญจอห์น คริสซอสตอมเทศนาในแอนติออกเมื่อประมาณ ค.ศ. 386 ซึ่งสถาปนาวันคริสต์มาสตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมตามปฏิทินจูเลียนเพราะการตั้งครรภ์พระเยซู (ลูกา 1:26) ได้รับการประกาศระหว่างเดือนที่หกของการตั้งครรภ์ของเอลิซาเบธกับนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมา (ลูกา 1:10-13) ดังที่บันทึกไว้จากพันธกิจซึ่งซาคาริยาส์กระทำในวันทดแทนบาป (Day of Atonement) ระหว่างเดือนที่เจ็ดของปฏิทินฮีบรู เอธานิมหรือตีซรี (เลวีนิติ 16:29, 1 พงษ์กษัตริย์ 8:2) ซึ่งตกอยู่ในเดือนกันยายนถึงตุลาคม

ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 นักวิชาการเริ่มเสนอคำอธิบายอื่นแทน ไอแซก นิวตันแย้งว่า คริสต์มาสถูกเลือกให้ตรงกับเหมายัน ซึ่งชาวโรมันเรียกว่า บรูมา และเฉลิมฉลองในวันที่ 25 ธันวาคม ใน ค.ศ. 1743 คริสเตียนชาวเยอรมัน พอล แอร์นสท์ จาบลอนสกี ให้เหตุผลว่า คริสต์มาสจัดตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมเพื่อให้ตรงกับวันหยุดทางสุริยคติของโรมัน ดีเอส นาตาลิส โซลิส อินวิกติ และดังนั้นจึงเป็นการทำให้เป็นเพเกินซึ่งลดคุณค่าศาสนจักรที่แท้จริงใน ค.ศ. 1889 หลุยส์ ดือแชนเสนอว่าวันที่คริสต์มาสนั้นคำนวณมาจากเก้าเดือนหลังฉลองแม่พระรับสาร วันที่แต่เดิมถือเป็นการเริ่มตั้งครรภ์พระเยซู ซึ่งวันนั้นตั้งอยู่บนความเชื่อแต่โบราณว่าพระองค์ทรงมาตั้งครรภ์และถูกตรึงบนไม้กางเขนในวันเดียวกัน คือ วันที่ 15 เดือนนิสาน

อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน ไม่ว่าวันประสูติของพระเยซูจะตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมหรือไม่นั้น ไม่ถูกมองว่าเป็นปัญหาสำคัญในศาสนาคริสต์กระแสหลัก แต่การเน้นการเฉลิมฉลองการที่พระเจ้าทรงรับสภาพมนุษย์เพื่อไถ่บาปแก่มนุษยชาติถือว่าเป็นความหมายหลักของคริสต์มาส

istock-1438906074

การประดับตกแต่ง

ประเพณีการประดับตกแต่งเป็นพิเศษในวันคริสต์มาสนี้มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีบันทึกว่าในกรุงลอนดอน การประดับตกแต่งเป็นประเพณีในวันคริสต์มาสสำหรับทุกบ้าน และทุกโบสถ์ประจำเขตแพริชต้อง "ตกแต่งด้วยโอ๊กโฮล์ม ไอวี เบย์ลอเรลและอะไรก็ตามที่ฤดูกาลนี้ในช่วงปีให้เพื่อเป็นสีเขียว" ใบไอวีรูปหัวใจกล่าวกันว่าเป็นสัญลักษณ์การเสด็จมายังโลกมนุษย์ของพระเยซู ขณะที่ฮอลลีถูกมองว่าเป็นการคุ้มครองจากพวกเพเกินและแม่มด หนามของมันและผลเบอร์รีสีแดงถือเป็นสัญลักษณ์มงกุฎหนามซึ่งพระเยซูทรงสวมที่การตรึงกางเขนและพระโลหิตที่พระองค์ทรงหลั่ง

สีของคริสต์มาส แต่โบราณ คือ เขียวและแดง ส่วนสีขาว เงินและทองก็ได้รับความนิยมเช่นกัน สีแดงเป็นสัญลักษณ์ของพระโลหิตของพระเยซู ซึ่งทรงหลั่งในการถูกตรึงบนกางเขน สีเขียวเป็นสัญลักษณ์ของชีวิตนิรันดร์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในไม้ไม่ผลัดใบ ซึ่งไม่เสียใบในฤดูหนาว

ต้นคริสต์มาส ถูกมองว่าเป็นการทำให้ประเพณีและพิธีกรรมเพเกินรอบเหมายันเป็นคริสเตียน ซึ่งรวมถึงการใช้กิ่งไม้ไม่ผลัดใบและการดัดแปลงการบูชาต้นไม้ของเพเกิน ตามข้อมูลของนักชีวประวัติสมัยคริสต์ศตวรรษที่แปด เอดดี สเตฟานัส นักบุญโบนิฟาส (ค.ศ. 634-709) ผู้เป็นมิชชันนารีในเยอรมนี หยิบขวานไปยังต้นโอ๊กที่อุทิศให้ธอร์และชี้ไปยังต้นเฟอร์ ซึ่งเขากล่าวว่าเป็นวัตถุควรแก่การเคารพที่เหมาะสมกว่า เพราะมันชี้ไปยังสวรรค์และมีรูปทรงสามเหลี่ยม ซึ่งเขาว่าเป็นสัญลักษณ์ของตรีเอกภาพ วลีภาษาอังกฤษ "ต้นคริสต์มาส" ได้รับบันทึกครั้งแรกใน ค.ศ. 1835 และแสดงให้เห็นการรับมาจากภาษาเยอรมัน ประเพณีต้นคริสต์มาสสมัยใหม่เชื่อกันว่าเริ่มต้นในเยอรมนีในคริสต์ศตวรรษที่ 18 แม้หลายคนแย้งว่า มาร์ติน ลูเธอร์เริ่มประเพณีดังกล่าวในคริสต์ศตวรรษที่ 16

ของประดับตามประเพณีอย่างอื่นมีระฆัง เทียน อมยิ้มไม้เท้า ถุงเท้ายาว พวงหรีดและทูตสวรรค์ ทั้งการแสดงพวงหรีดและเทียนในหน้าต่างแต่ละบานนั้นเก่าแก่กว่าการจัดแสดงคริสต์มาสเสียอีก การจัดพวกใบที่มีศูนย์กลาง โดยมักมาจากพืชไม่ผลัดใบ ขึ้นเป็นพวงหรีดคริสต์มาสและได้รับการออกแบบเพื่อเตรียมคริสต์ศาสนิกชนสำหรับเทศกาลเตรียมการรับเสด็จ เทียนในหน้าต่างแต่ละบานตั้งใจให้แสดงข้อเท็จจริงที่ว่าคริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่า พระเยซูคริสต์เป็นแสงทั้งหมดของโลก

istock-1428125946

คริสต์มาสในประเทศไทย 

ดร.ชัยณรงค์ มนเทียรวิเชียรฉาย เผยถึงความเป็นมาของวันคริสต์มาสในประเทศไทยและการเฉลิมฉลองวันคริสต์มาสเอาไว้ว่า เริ่มเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว

“การฉลองคริสต์มาสในประเทศไทยเกิดขึ้นครั้งแรกที่โบสถ์ทางคริสตศาสนาทุกแห่งในแผ่นดินสยาม โดยเริ่มตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว อาจมีการกินเลี้ยงเป็นพิเศษเพื่อการเฉลิมฉลอง และการให้ของขวัญแก่กันและกัน”

จนถึงปัจจุบันนี้การเฉลิมฉลองคริสต์มาสในเมืองไทยประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ โบสถ์ทุกแห่งทั่วโลกมีการเทศน์สอนเพื่อเตรียมจิตใจ และส่วนของการเฉลิมฉลองที่เป็นรูปธรรม อย่างการขับร้องเพลงคริสต์มาสในสถานที่ต่างๆ รวมถึงการแสดงละครโดยนักเรียนเกี่ยวกับการประสูติของพระเยซู มีการจัดทำถ้ำพระกุมาร ประดับสถานที่ด้วยต้นคริสต์มาสและดวงดาว มีการจัดงานเลี้ยงรื่นเริง การละเล่น และการจับสลากแลกของขวัญ

“สำหรับศาสนพิธีซึ่งเป็นหัวใจของการฉลองคริสต์มาสนั้นจะเหมือนกันทั่วโลก กล่าวคือ เริ่มการฉลองตั้งแต่คืนวันที่ 24 ธันวาคม เป็นพิธีมิสซาที่โบสถ์ต่างๆ สำหรับโบสถ์ที่ชาวคริสต์อยู่รวมกันเป็นชุมชน เป็นหมู่บ้านเดียวกัน พิธีมิสซามักจะจัดในเวลาเที่ยงคืนตามธรรมเนียมโบราณ แต่บางแห่งที่ชาวคริสต์อยู่กระจัดกระจายและไม่สะดวกในการเดินทางตอนดึก ศาสนพิธีมักจะเริ่มในเวลาค่ำ เช่น ที่วัดเซนต์จอห์นเริ่มในเวลา 2 ทุ่ม”

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม