ประวัติ "Golden Boy" ประติมากรรมสำริด พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 และ ประติมากรรมสำริดเทวสตรี

18 ธ.ค. 66

เพจฯ ASEAN “มอง” ไทย เผย ประวัติ "Golden Boy" ประติมากรรมสำริด พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 และ ประติมากรรมสำริดเทวสตรี วัตถุโบราณล้ำค่าทางประวัติศาสตร์ ที่สหรัฐฯ เตรียมส่งคืนไทย

อีกหนึ่งข่าวดีส่งท้ายปี 2566 สำหรับคนไทย หลัง พิพิธภัณฑ์อเมริกา เตรียมส่งคืน 2 โบราณวัตถุเก่าแก่ ล้ำค่ากลับคืนสู่แผ่นดินไทย หลังถูกพ่อค้าวัตถุโบราณต่างชาติซื้อเมื่อ 50 ปีก่อน

โดยชิ้นที่ 1 เป็นโบราณวัตถุประติมากรรมสตรี 1 รายการ และชิ้นที่ 2 ถูกเรียกขานว่า "Golden Boy" เป็นประติมากรรมสำริด พระเจ้าชัยวรมันที่ 6

ทั้งนี้ เพจฯ ASEAN “มอง” ไทย ได้เผย ข้อมูล ประวัติของ เทวรูปทั้ง 2 ชิ้น โดยมีความเป็นมาดังนี้

1. ประติมากรรมสำริด พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 (Golden Boy) หรือ กษัตริย์องค์ต้นตระกูลราชวงศ์มหิธรปุระ ท่านเป็นชาวเมืองพิมายที่ลงไปปราบกบฎในกรุงยโศธรปุระ และปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงยโศธรปุระ (นครธมในเวลาต่อมา) ทายาทของพระองค์ที่สืบต่อมา เช่น พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2, พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราชวงศ์ของพระองค์ยังมีความเกี่ยวข้องกับ “นเรนทราทิตย์” ผู้มีอำนาจอยู่ในเมืองพนมรุ้ง เป็นต้น

ราชวงศ์มหิธรปุระของพระองค์ (Mahidharapura) เป็นราชวงศ์ “วรมัน” สุดท้ายของกรุงกัมพูชาโบราณ ก่อนที่จะถูกล้มล้างโดยราชวงศ์ใหม่อย่าง “แตงหวาน” หรือ ตระซ็อกประแอม หลังจากนั้นเป็นต้นมา กษัตริย์เมืองพระนครธมก็มิได้มีคำว่า “วรมัน” ต่อท้ายพระนามอีกเลย

เดิมประติมากรรมสำริดองค์นี้ถูกค้นพบอยู่ที่บ้านยาง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อมาถูกลักลอบออกไปประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเหลือแต่ฐานหินที่มีรูเสียบไว้

ประติมากรรมสำริด พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 Golden Boy

2. ประติมากรรมสำริดเทวสตรี
ประติมากรรมทั้ง 2 ชิ้นนี้เป็นศิลปะท้องถิ่นอีสานใต้ #ก่อนนครวัด นักวิชาการบางส่วนให้คำจำกัดความว่าเป็น “ศิลปะพิมาย” ถึงแม้จะมีความใกล้เคียงกับศิลปะบาปวนก็ตาม แต่มีความแตกต่างออกไปบ้าง และยังไม่ใช่ศิลปะนครวัด ซึ่งจะเกิดขึ้นต่อมาในรุ่นหลานของพระองค์ อีกราว 2 รัชกาล

ประติมากรรมสำริดเทวสตรี

ขอบคุณข้อมูล : เพจฯ ASEAN “มอง” ไทย

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส