ศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสิน “พิธา-พรรคก้าวไกล” ล้มล้างการปกครอง หาเสียงนโยบายยกเลิก มาตรา112 เจตนาเซาะกร่อนบ่อนทำลายสถาบันฯ พร้อมสั่งให้หยุดกระทำ
วันที่ 31 ม.ค. 67 ศาลรัฐธรรมนูญ ได้นัดฟังคำวินิจฉัย คดีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ผู้ร้อง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา49 ว่า การกระทำของนาย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นผู้ถูกร้องที่ 1 และพรรคก้าวไกล เป็นผู้ถูกร้องที่ 2 ที่เสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา112
โดยใช้เป็นนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้ง และยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพ เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา49 วรรคหนึ่งหรือไม่นั้น
โดยมีนายธีรยุทธ ผู้ร้อง เดินทางมารับฟังคำวินิจฉัยด้วยตนเองเพียงฝ่ายเดียว ขณะที่นายพิธา และพรรคก้าวไกล ไม่ได้เดินทางมารับฟังคำวินิจฉัยด้วยตัวเอง รวมถึงไม่ส่งตัวแทนเข้ามารับฟังคำวินิจฉัยแทน
ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยตามข้อกฎหมาย ข้อมูลจากศาลยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และคำให้การของพยานจำนวน 2 ปาก เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 นายพิธา และสมาชิกพรรค จำนวน 44 คน เสนอยกเลิก มาตรา112 ประมวลกฎหมายอาญา และมีการใช้นโยบายแก้ไข และยกเลิก มาตรา112 ในการหาเสียงเลือกตั้งโดยตลอด
โดยศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า คำร้องของผู้ร้องชอบด้วยกฎหมาย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญและชัดเจนเพียงพอที่จะให้ผู้ถูกร้องเข้าใจ
สำหรับการเสนอร่างกฎหมาย เป็นอำนาจอันชอบธรรมตามกฎหมาย แต่มาตรา49 วรรค 1 ได้ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ตรวจสอบการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อปกป้องบ่อนทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยไม่มีการบัญญัติยกเว้นกรณีใดไว้
ศาลรัฐธรรมนูญ เห็นว่า สถาบันพระมหากษัตริย์และชาติไทย ดำรงอยู่คู่กันเป็นเนื้อเดียวกัน การกระทำความผิดต่อพระมหากษัตริย์เป็นการกระทำความผิดต่อความมั่นคงของประเทศด้วย การที่ผู้ถูกร้องแก้ไข ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ออกจากหมวด 1 เป็นการไม่ให้ความสำคัญกับความผิดตามมาตรานี้ มีเจตนาแยกสถาบันพระมหากษัตริย์ กับชาติไทยออกจากกัน ส่งผลต่อความมั่นคงของรัฐอย่างมีนัยยะสำคัญ
การนำความคิดตามมาตรานี้ เทียบเท่ากับคดีหมิ่นประมาท จะทำให้ผู้ทำความผิด ตามมาตรา112 ใช้ข้อโต้แย้งว่าทำไปโดยไม่รู้ มาเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาลเหมือนกับคดีหมิ่นประมาททั่วไป อีกครั้งการกำหนดให้ความผิดตาม มาตรา112 สามารถยอมความได้ และให้สำนักพระราชวังเป็นผู้เสียหายที่สามารถเข้าร้องทุกข์ เป็นการมุ่งหมายให้การกระทำความผิดตาม มาตรา112 เป็นความผิดในเรื่องส่วนพระองค์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ถือเป็นการลดความคุ้มครอง และกลายเป็นคู่ขัดแย้งกับประชาชน ซึ่งถือว่าขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญมาตรา 6 ส่งผลให้ความผิดตาม มาตรา112 ไม่ใช่ความผิดที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติทั้งที่ส่งผลต่อจิตใจของประชาชนที่ให้ความเคารพนับถือสถาบันพระมหากษัตริย์
ดังนั้นการเสนอแก้ไข เพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา112 จะเป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรผ่านกระบวนการนิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา133 แต่ร่างกฎหมายดังกล่าวยังไม่ได้บรรจุเข้าสู่วาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรก็ตาม ซึ่งกฎหมายนี้ถูกดำเนินการโดยผู้ปกครองที่สังกัดพรรคการเมืองเพียงพรรคการเมือง และมีการเสนอต่อ กกต. เพื่อใช้เป็นนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง และปรากฏเป็นนโยบาย อยู่บนเว็บไซต์ของผู้ปกครอง แต่การเสนอแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา112 โดยตรง จึงถือได้ว่าพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ได้ร่วมกับผู้ถูกร้องที่ 1 ในการเสนอแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา เกี่ยวกับความผิดหมิ่นประมาท เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 ต่อสภาผู้แทนราษฎร เป็นพฤติการณ์ที่แสดงออก ที่ต้องการลดทอนการคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ลงผ่านร่างกฎหมาย และอาศัยกระบวนการทางนิติบัญญัติ เพื่อเพิ่มความชอบธรรม โดยการซ่อนเร้นผ่านกระบวนการรัฐสภา อีกทั้งผู้ถูกร้องทั้งสอง ยังใช้วิธีการรณรงค์หาเสียงทางการเมืองเพื่อเสนอแนวความคิดเห็นดังกล่าว ไปยังบุคคลทั่วไปผ่านรูปแบบของนโยบายของพรรคการเมืองดังต่อเนื่อง
"เป็นการเซาะกร่อน บ่อนทำลาย ให้สถาบันกษัตริย์ เป็นเหตุให้สุดโทรมเสื่อม เสื่อมทรามหรืออ่อนแอลง ทำให้สถาบันเสื่อมทรามลง นำไปสู่การลงการปกครอง"
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพแสดงความคิดเห็นเรียกร้องให้มีการทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ด้วยการแก้ไข มาตรา112 โดยดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นขบวนการโดยใช้หลายวิธีการ หากยังปล่อยให้ทั้งสองดำเนินการต่อไป ย่อมไม่ไกลเกินเหตุเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข จึงสั่งการให้ผู้ถูกร้องทั้งสองเลิกการกระทำและแสดงความคิดเห็น ทั้งการพูดการเขียน การพิมพ์ และการโฆษณา รวมถึงการสื่อความหมายด้วยวิธีอื่น เพื่อขอให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 รวมถึงการแก้ไขมาตรานี้ โดยใช้ช่องทางตามขั้นตอนนิติบัญญัติด้วย
ทั้งนี้ในช่วงท้าย หลังอ่านคำพิพากษา ศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่หากใช้คำวิจารณ์ที่ว่าคาดมาดร้ายอาจเป็นการละเมิดศาล ซึ่งมีโทษทั้งตักเตือน จำคุกและปรับ ไม่เกิน 50,000 บาท
Advertisement