เตรียมรับมือฤดูร้อนให้ดี! 10 อันดับอุณหภูมิสูงที่สุดในช่วงฤดูร้อนในอดีต ชี้ปีนี้จะร้อนกว่าเดิม

15 ก.พ. 67

เตรียมรับมือฤดูร้อนให้ดี เปิดโผ 10 อันดับอุณหภูมิสูงที่สุดของฤดูร้อนในอดีตของประเทศไทย จังหวัดตากขึ้นแท่นอันดับ 1 ร้อนสุด 44.6 องศาเซลเซียส เมื่อ พ.ศ.2559 และ 2566 คาดว่าปี 2567 นี้ ประเทศไทยจะร้อนกว่าปีที่ผ่านมา

กรมอุตุนิยมวิทยา เผย 10 อันดับอุณหภูมิสูงที่สุดในช่วงฤดูร้อนในอดีต คาดตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนพฤษภาคมปี 67 จะร้อนจัดหลายพื้นที่

10 อันดับอุณหภูมิสูงที่สุดในช่วงฤดูร้อนในอดีต

อันดับ 1 อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน 28 เม.ย. 2559 และ อ.เมือง จ.ตาก 15 เม.ย. 2566 อุณหภูมิ 44.6 องศาเซลเซียส

อันดับ 2 จ.อุตรดิตถ์ 27 เม.ย. 2503 และ จ.สุโขทัย 11 พ.ค. 2559 อุณหภูมิ 44.5 องศาเซลเซียส

อันดับ 3 จ.สุโขทัย 12 เม.ย. 2559 อุณหภูมิ 44.3 องศาเซลเซียส

อันดับ 4 อ.เถิน จ.ลำปาง 18 เม.ย. 2562 อุณหภูมิ 44.2 องศาเซลเซียส

อันดับ 5 อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน 25 เม.ย. 2501, จ.น่าน 12 เม.ย. 2502, จ.สุโขทัย 13 พ.ค. 2559 และ จ.อุดรธานี 7 พ.ค. 2566 อุณหภูมิ 44.1 องศาเซลเซียส

อันดับ 6 จ.ตาก 25 เม.ย. 2550, จ.แม่ฮ่องสอน 15 .ค. 2553, จ.กำแพงเพชร 26 เม.ย. 2559, จ.สุโขทัย 7 พ.ค. 2559
และ จ.ลำพูน 12 พ.ค. 2559 อุณหภูมิ 44.0 องศาเซลเซียส

อันดับ 7 จ.อุดรธานี 28 เม.ย. 2503, เขื่อนภูมิพล จ.ตาก 27 เม.ย. และ 11พ.ค. 2559, 18 เม.ย. 2562, จ.สุโขทัย 10 พ.ค. 2559 อุณหภูมิ 43.9 องศาเซลเซียส

อันดับ 8 อ.เถิน จ.ลำปาง 11 เม.ย. 2559, จ.ตาก 11 พ.ค. 2559 และ จ.ลำพูน 11 พ.ค. 2559 อุณหภูมิ 43.8 องศาเซลเซียส

อันดับ 9 เขื่อนภูมิพล จ.ตาก 26 เม.ย. 2541, จ.ตาก 17 เม.ย. 2559, จ.สุโขทัย 17 เม.ย. 2559, จ.นครสวรรค์ 7 พ.ค. 2559 และ อ.เกิน จ.ลำปาง 17, 19, 20 เม.ย. 2562 และ จ.หนองคาย 7 พ.ค. 2566 อุณหภูมิ 43.7 องศาเซลเซียส

อันดับ 10 จ.อุตรดิตถ์ 29 เม.ย.2503 และ 11 พ.ค. 2559, จ.แพร่ 14 เม.ย. 2526, จ.แม่ฮ่องสอน 9 พ.ค. 2541 และ 16 พ.ค. 2553, จ.ตาก 24 เม.ย. 2550, จ.ลำพูน 12 เม.ย. 2559, จ.หนองบัวลำภู 17 เม.ย. 2559, เขื่อนภูมิพล จ.ตาก 10 พ.ค. 2559 และ จ.กำแพงเพชร 12 พ.ค. 2559 อุณหภูมิ 43.6 องศาเซลเซียส

426544871_806444888194315_399

พ.ศ. 2559 เป็นปีที่เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญกำลังแรง ส่งผลให้อุณหภูมิในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลก รวมทั้งประเทศไทยสูงกว่าค่าที่เคยตรวจวัดได้ในอดีต

พ.ศ. 2562 ตั้งแต่ต้นปีจนถึงช่วงกลางปีเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญกำลังอ่อน ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้หลายพื้นที่ของประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงในปีนี้

พ.ศ. 2566 เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญกำลังแรง ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 66 และต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

พ.ศ. 2567 คาดว่าอากาศจะร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ โดยเฉพาะตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนพฤษภาคม โดยอุณหภูมิในช่วงฤดูร้อนปีนี้จะสูงกว่าค่าปกติ 1.0-1.5 องศาเซลเซียส และจะสูงกว่าปีที่ผ่านมา

หมายเหตุ : ข้อมูลเริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 - ปัจจุบัน

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม