อธิบดีอัยการ ระบุจากที่พูดคุยกับ “ทักษิณ” ดูมีอาการป่วยหนักพูดแทบไม่มีเสียง- นั่งวิลแชร์มา – วางสมุดบัญชีธนาคาร จำนวน 5 แสนบาท หลักประกันปล่อยตัวชั่วคราว
วันที่ 19 ก.พ. นายปรีชา สุดสงวน อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญา พร้อมด้วยนายประยุทธ เพรชคุณ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ และโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด นายณรงค์ ศรีระสันต์ รองโฆษกฯ นายนาเคนทร์ ทองไพรวัลย์ รองโฆษกฯ และนายวิพุธ บุญประสาท อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 8 ร่วมกันแถลงกรณีที่ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้กล่าวหาในคดี ม.112
โดย นายประยุทธ กล่าวว่า วันนี้ประมาณ 8.30 พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. ได้นำตัวนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มาส่งให้กับพนักงานอัยการ สำนักงานคดีอาญา โดยมีนายปรีชา สุขสงวน อธิบดีอัยการ และนายวิพุธ บุญประสาท อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 8 เป็นผู้รับตัวจากพนักงานสอบสวน ปอท.
โดยคดีนี้นายทักษิณ ได้ร้องขอความเป็นธรรม ผ่านพนักงานสอบสวนตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม ที่ผ่านมา ขณะเข้าไปแจ้งข้อกล่าวหาที่โรงพยาบาลตำรวจ ล่าสุด อัยการได้พิจารณาหนังสือร้องขอความเป็นธรรมแล้วเห็นว่าคดีมีประเด็นที่ต้องสอบสวนเพิ่มเติม ตามหนังสือที่ร้องขอความเป็นธรรม จึงมีคำสั่งให้สอบสวนเพิ่มเติม และนัดให้มาฟังคำสั่งทางคดีในวันที่ 10 เมษายนนี้ เวลา 9 โมง ที่สำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญา 8 อัยการสูงสุด ถนนรัชดาภิเษก
และนายประยุทธ ยังบอกอีกว่า เมื่อวานนี้ ( 18 กุมภาพันธ์ 2567) นายทักษิณ ได้รับการปล่อยตัวจากกรมราชทัณฑ์ในคดีอาญาเรื่องอื่นเนื่องจากได้รับการพักการลงโทษทางพนักงานสอบสวน ปอท. ได้ไปรับตัวนายทักษิณ ตามหนังสืออายัดตัวของพนักงานสอบสวนลงวันที่ 28 สิงหาคม 2566 และเมื่อรับตัวมาแล้วพนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัวชั่วคราวไปในวันเดียวกัน
ส่วนหลักประกันที่นายทักษิณใช้ในการประกันตัว เป็นหลักทรัพย์ในสมุดบัญชีที่ได้รับการรับรองจากธนาคารมีเงินจำนวน 500,000 บาท ซึ่งทางอัยการจะอายัดบัญชีดังกล่าวไว้ส่วนเมื่อถามว่ามีเงื่อนไขในการปล่อยตัวหรือไม่ทางนายปรีชาบอกว่า สำหรับอัยการไม่มีเงื่อนไข แต่เงื่อนไขทางกรมคุมประพฤติ ที่กำหนดนั้นตนไม่สามารถตอบได้ว่านายทักษิณจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรระหว่างพักโทษ
นายปรีชา ยังเล่าถึงบรรยากาศขณะที่รับตัวนายทักษิณ บอกว่า หลังจากที่ตำรวจนำตัวมาส่ง ตนเองต้องมีการพูดคุยกับนายทักษิณ ซึ่งจากสภาพที่ตนเห็นมองว่า นายทักษิณมีอาการป่วยขั้นวิกฤต เพราะต้องนั่งรถวีลแชร์มา เพราะเดินไม่ไหว และจากการที่ได้พูดคุย นายปรีชา บอกว่านายทักษิณพูดไม่ค่อยมีเสียง ดูท่าทางมีการป่วยหนัก และมีการสวมที่ดามคอมา ส่วนเมื่อถามว่าตัวของนางสาวแพรทองทาน หรือ อุ๊งอิ๊งค์ได้เดินทางมาด้วยหรือไม่นายปรีชาบอกว่านายทักษิณเดินทางมากับคนสนิทลูกสาวไม่ได้เดินทางมาด้วย และเมื่อถามว่านายประกัน คืออุ๊งอิ๊งค์หรือไม่นายปรีชาตอบว่าไม่ใช่ และตนไม่รู้ว่านายประกันคือใคร ตนรู้เพียงคุณสมบัติของนายประกันว่าเข้าข่ายเท่านั้นแต่ไม่รู้ว่าคือใคร โดยขั้นตอนการเซ็น รายงานตัวและเข้าพบอัยการใช้เวลาประมาณ 30 นาทีก่อนที่นายทักษิณจะกลับ
นอกจากนี้สื่อมวลชนได้สอบถามว่าวันที่ 10 เมษายน เป็นการนัดนายทักษิณมาเพื่อฟังคำสั่งทางคดีหรือไม่ นายปรีชา บอกว่า วันที่ 10 เมษายน เป็นการนัดฟังผลคำสั่งทางคดีว่าจะมีคำสั่งว่าอย่างไร ว่าจะสั่งฟ้องไม่สั่งฟ้อง หรือเลื่อนนัดฟังซึ่งจะต้องแจ้งให้ตัวนายทักษิณทราบในวันนั้น ซึ่งนายประยุทธ์ ได้พูดเพิ่มเติม ในประเด็นดังกล่าวอีกว่า สำนวนเดิมที่มีคำสั่งเห็นควรสั่งฟ้อง เป็นคำสั่งแรกตั้งแต่นายทักษิณยังไม่กลับเข้าประเทศไทย แต่เมื่อนายทักษิณ กลับเข้าประเทศไทยและ มีการแจ้งข้อกล่าวหากันไปแล้วตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม รวมถึงมีการส่งหนังสือร้องขอความเป็นธรรม ทำให้ ทางคณะพนักงานสอบสวนได้มีการสอบสวนสำนวนใหม่ จึงทำให้วันที่ 10 เมษายน นี้ ตัวนายทักษิณจะต้องมารับฟังคำสั่งด้วยตนเอง ว่าทางอัยการจะเห็นสมควรสั่งฟ้องทางคดีหรือไม่ โดยคำสั่งจะแบ่งออกเป็น 3 แนวทาง 1.สั่งฟ้อง 2.ไม่สั่งฟ้อง 3.เลื่อนนัดฟังคำสั่ง ถ้าหากสำนวนที่สอบเพิ่มเติมนั้นยังไม่ครบถ้วน แต่ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรจะต้องแจ้งให้ตัวนายทักษิณทราบ และสื่อมวลชนได้ถามย้ำว่าหากวันดังกล่าวมีคำสั่งออกมาจะต้อง และ ยังบอกอีกว่าคดีนี้ถือว่าเป็นคดีนอกราชอาณาจักรหากวันที่ 10 เมษายน ทางอัยการมีคำสั่งเห็นสั่งฟ้องจะต้องนำตัวนายทักษิณเข้าสู่กระบวนการศาลทันที แต่หากมีคำสั่งไม่ฟ้อง คดีดังกล่าวถือว่าสิ้นสุดในชั้นของอัยการต้องส่งสำนวนไปยังผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้พิจารณาเหมือนกับคดีอื่น ๆ เนื่องจากเป็นคดีนอกราชอาณาจักรที่อัยการสูงสุดมีอำนาจสอบสวนและพิจารณาเด็ดขาด
และเมื่อถามถึงหนังสือร้องขอความเป็นธรรมที่นายทักษิณร้องมามีรายละเอียดอย่างไรบ้าง นายประยุทธ์ไม่สามารถตอบได้
ส่วนข้อกล่าวหาจากสังคมสำหรับตัวนายทักษิณว่ามีการให้การช่วยเหลืออำนวยความสะดวกทางด้านคดีให้กับนายทักษิณหรือไม่นั้นทางนายประยุทธ์ได้ชี้แจงประเด็นดังกล่าวว่าคดีนี้มีอำนาจเด็ดขาดอยู่ที่อัยการสูงสุดจึงขอให้ไปดูประวัติการทำงานของอัยการว่ามีการทำงานไปในทิศทางใดและขอให้สังคมมั่นใจในกระบวนการพิจารณาของอัยการ แม้ว่าคดีดังกล่าวจะมีผู้ต้องหาเป็นบุคคลสำคัญที่สังคมให้ความสนใจ