เกษตรกร จ.กระบี่ ทำเกษตรผสมผสาน มีรายได้กว่า 3 ล้าน 5 แสนบาทต่อปี

22 เม.ย. 67

เกษตรกร จ.กระบี่ ทำเกษตรผสมผสาน มีรายได้กว่า 3 ล้าน 5 แสนบาทต่อปี

นายมณฑา คงกะพันธ์ เกษตรกรต้นแบบในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดกระบี่ ใช้ชีวิตอยู่กับการทำเกษตรมาตั้งแต่เกิด โดยการช่วยงานพ่อแม่ในการทำไร่ทำสวนอยู่เสมอ หลังจากจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จึงกลับมาทำการเกษตรด้วยตนเองอย่างเต็มตัว ทั้งการเลี้ยงสัตว์ ปลูกทั้งไม้ผลและไม้ยืนต้น รวมไปถึงเกษตรผสมผสานอย่างครบวงจร ในที่ดินที่ได้รับมา ซึ่งเป็นมรดกจากครอบครัว จนประสบความสำเร็จ เป็นต้นแบบเกษตรกรถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เครือข่ายและผู้ที่สนใจได้นำไปต่อยอด

เกษตรกร จ.กระบี่ ทำเกษตรผสมผสาน มีรายได้กว่า 3 ล้าน 5 แสนบาทต่อปี

ปัจจุบัน นายมณฑา มีการปลูกปาล์มน้ำมัน บนเนื้อที่ประมาณ 38 ไร่ ปลูกยางพารา เนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ และทำการเกษตรแบบผสมผสานรวมที่อยู่อาศัย เนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ โดยกิจกรรมในแปลงเกษตร มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น โคขุน ไก่ไข่ นกกระทา หมูหลุม ผึ้งหลวง เป็นต้น สัตว์น้ำ เช่น เลี้ยงปลาหมอ ปลาตะเพียนกว่า 1,500 ตัว เป็นต้น ยังมีการปลูกผักกางมุ้ง มะนาวในท่อซีเมนต์ ไม้ผลและไม้ยืนต้นรวม 1,000 ต้น ซึ่งผลผลิตที่ได้จะบริโภคและแบ่งจำหน่าย นอกจากนั้นยังมีโรงตากมูลโคขุน เพื่อนำมูลสัตว์ที่ได้มาทำปุ๋ย ทั้งปุ๋ยหมักแห้งและปุ๋ยน้ำหมัก เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ยที่ใช้ในการเกษตร

เกษตรกร จ.กระบี่ ทำเกษตรผสมผสาน มีรายได้กว่า 3 ล้าน 5 แสนบาทต่อปี

ในขณะที่การปลูกปาล์มน้ำมันบนเนื้อที่ประมาณ 38 ไร่ นั้น ให้ผลผลิตน้อย นายมณฑา จึงตัดสินใจปลูกแซมไผ่กิมซุงในร่องสวนปาล์มน้ำมัน ใช้เวลาประมาณ 1 ปี ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นกว่าที่เคยได้มากกว่าเดิม 1 เท่า ซึ่งในแต่ละเดือนยังได้ผลผลิตจากหน่อไม้ไผ่ ไปจำหน่ายเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง จากการทำการเกษตรโดยใช้ประโยชน์ในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินให้ได้ประโยชน์สูงสุด นายมณฑา มีรายได้กว่า 3,500,000 บาท/ปี หลังจากหักรายจ่ายแล้ว จะเหลือเฉลี่ยประมาณ 40,000 บาท ต่อเดือน

เกษตรกร จ.กระบี่ ทำเกษตรผสมผสาน มีรายได้กว่า 3 ล้าน 5 แสนบาทต่อปี

หลังจากทำการเกษตรจนประสบความสำเร็จจึงได้เริ่มจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และศูนย์เครือข่าย อำเภอเขาพนมในพื้นที่ของตนเอง เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ชุมชน นอกจากนั้นยังมีการรวมกลุ่มชาวบ้านในชุมชน จัดตั้งกลุ่มเกษตรกรด้านต่าง ๆ เช่น กลุ่มเครื่องแกงบ้านบางนุ้ย โดยรับซื้อผลผลิตที่เป็นส่วนผสมของพริกแกง อย่างเช่นพริกสด ขมิ้น ตะไคร้ ใบมะกรูด จากสมาชิกในกลุ่มและชุมชน และมีการควบคุมกระบวนการผลิตคุณภาพความสะอาดตามมาตรฐานสาธารณสุข กลุ่มแม่บ้านบางนุ้ย และกลุ่มเลี้ยงวัว เป็นต้น

เกษตรกร จ.กระบี่ ทำเกษตรผสมผสาน มีรายได้กว่า 3 ล้าน 5 แสนบาทต่อปี

จากประสบการณ์การทำเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฏีใหม่มากว่า 30 ปี การันตีด้วยการรับรางวัลในระดับชุมชน เช่น ในปี พ.ศ. 2558 รางวัลชนะเลิศกลุ่ม/องค์กรชุมชนแกนหลักในการพัฒนาหมู่บ้านดีเด่นระดับจังหวัด โครงการเชิดชูเกียรติผู้นำเครือข่ายชุมชนพัฒนาชุมชนดีเด่น จังหวัดกระบี่ ปี พ.ศ. 2562 รางวัลชนะเลิศ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” การคัดสรรกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 รวมถึงรางวัลและการผ่านการฝึกอบรมในด้านการเกษตรอื่น ๆ อีกมากมาย จนได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และศูนย์เครือข่ายในพื้นที่ของตนเอง พร้อมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้และเป็นแหล่งศึกษาดูงานแก่เกษตรกรในชุมชน และผู้ที่สนใจในการทำการเกษตร ซึ่งทำให้เกิดความร่วมมือ เกิดความเข้มแข็งในชุมชนและเครือข่ายต่อไป

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม