เปิด 4 เหตุผล เด็กไทยไม่ได้เรียนต่อ 

9 ก.ค. 67

กสศ. เปิด 4 โจทย์ใหญ่ เด็กไทยไม่ได้เรียนต่อ มีอะไรบ้าง?

กองทุนเสมอภาคเพื่อการศึกษา (กสศ.) เผยว่า ในปีการศึกษา 2566 รายงานการหลุดออกนอกระบบการศึกษาของนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษยังอยู่ในภาวะที่ต้องเฝ้าระวัง โดยเฉพาะช่วงรอยต่อระหว่างชั้นมัธยมศึกษาตอนตันกับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เนื่องจากเป็นช่วงที่เด็กหลายคนต้องสมัครสอบเพื่อเข้าเรียนต่อสถานศึกษาใหม่ ซึ่งทางเลือกของสถานศึกษากระจุกตัวในเมือง หรือจังหวัดที่มีค่าครองชีพสูง ทำให้นักเรียนยากจนและยากจนพิเศษส่วนใหญ่ที่ต้องการเรียนต่อ จึงต้องย้ายออกจากภูมิลำเนาเดิม หรือมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางมากขึ้น

pexels-ron-lach-10643463

จากการติดตามเส้นทางการศึกษาของนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษ ที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2562 พบว่า ร้อยละ 20 ของนักเรียนกลุ่มดังกล่าว ตัดสินใจไม่สมัครเรียนต่อ และอีกร้อยละ 67.54 ไม่ได้เรียนต่อจนถึงระดับอุดมศึกษา จะมีเพียงร้อยละ 12.46 เท่านั้นที่ได้เรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ซึ่งถือเป็นอัตราการเรียนถึงระดับมหาวิทยาลัยที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของนักเรียนทั้งประเทศถึง 3 เท่า และต่ำกว่าอัตราการเรียนต่อของนักเรียนที่ร่ำรวยที่สุด ร้อยละ 10 ของประซากรทั้งหมดถึง 5 เท่า  สะท้อนความเหลื่อมล้ำทางโอกาสการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นที่เกิดขึ้นระหว่างเด็กที่มีฐานะครอบครัวต่างกัน

นอกจากทุนทรัพย์แล้ว ยังมีสาเหตุอะไรอีก ที่ทำให้นักเรียนจากครัวเรือนยากจนตัดสินใจไม่เรียนต่อ มี 4 สาเหตุหลักๆ ประกอบด้วย

  1. หนี้ครัวเรือนเรื้อรัง ส่วนใหญ่ครอบครัวยากจนและยากจนพิเศษจะเป็นหนี้ในชีวิตประจำวันและทำการเกษตร มาจากค่าใช้จ่ายพื้นฐาน เพราะต้องเผชิญกับรายจ่ายที่สูงขึ้น ตามค่าครองชีพหรือระดับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ขณะที่รายได้ครัวเรือนคงที่หรือมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความสามารถในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษามีจำกัด และพบว่าครอบครัวยากจนต้องเผชิญกับต้นทุนด้านการศึกษาที่สูงขึ้น
  2. การเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการศึกษาที่มีข้อจำกัด เมื่อครอบครัวยากจน มีทุนทรัพย์ไม่เพียงพอต่อการส่งเสริมการศึกษาของบุตรหลาน แหล่งทุนการศึกษาและแหล่งเงินกู้เพื่อการศึกษาต่อจึงเป็นทางเลือกของนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษ แต่หลายคนยังขาดความรู้ และระบบแนะแนวในโรงเรียน นอกจากนี้ืยังขาดแคลนอุปกรณ์สื่อสารและอินเทอร์เน็ตที่จะเข้าถึงข้อมูล รวมถึงทุนการศึกษาที่จำกัดทั้งจำนวนและสาขาวิชาเรียน ตลอดจนเงื่อนไขในการกู้ที่ใช้เวลานาน จนชักหน้าไม่ถึงหลัง แน่นอนว่าส่วนใหญ่ก็ไม่อยากก่อหนี้เพิ่ม
  3. ค่าครองชีพสูง แม้เด็กจะสามารถสมัครและสอบเพื่อศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้ แต่ความท้าทายที่ตามมาก็คือการเข้าเรียนอย่างต่อเนื่อง และคงอยู่ในระบบจนเรียนจบ ซึ่งตัวแปรที่สำคัญคือค่าครองชีพ ทั้งค่าอาหารและค่าเดินทางที่ล้วนแล้วแต่ปรับเพิ่มมากกว่าร้อยละ 3 ต่อปี
  4. ค่าสมัครสอบและค่ารักษาสิทธิ์ต้นทุนที่เกินกว่ากำลังทรัพย์ของครอบครัว หากพิจารณาข้อมูลการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาผ่านระบบ TCAS จะพบว่า นอกจากการเตรียมตัวและความรู้แล้ว เด็กๆ ยังต้องเตรียมความพร้อมด้านทุนทรัพย์ให้เพียงพอต่อค่าสอบรายวิชา (ประมาณ 600-1,000 บาท) และค่าสมัครสอบ (100-1,000 บาทต่อรอบ) และหากสอบผ่าน เด็กบางรายอาจต้องจ่ายค่าเทอม (ประมาณ 10,000-20,000 บาท) ทันทีเพื่อรักษาสิทธิ์ รวมถึงค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆ ที่ต้องจ่ายในคราวเดียว เช่น ค่าหอพัก ค่าเครื่องแบบ ค่าอุปกรณ์การเรียน และค่ากิจกรรม โดยรวมคิดเป็นกว่า 12 เท่าของรายได้เฉลี่ยครัวเรือนของนักเรียนยากจนพิเศษ

pexels-yankrukov-8613062

อย่างไรก็ตาม การศึกษาในระบบไม่ใช่คำตอบเดียวของการสร้างโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ แต่อาจปฏิเสธไม่ได้ว่า นี่อาจเป็นใบเบิกทางสู่การมีงานทำ และด้วยสถานการณ์ปัจจุบันการสร้างทางเลือกการเรียนรู้นอกระบบ เป็นคำตอบที่มีความสำคัญมากขึ้น ตามความหลากหลายและซับซ้อนของบริบท
ปัญหา และข้อจำกัดของแต่ละบุคคล

 

 

 

advertisement

ข่าวยอดนิยม