รู้หรือไม่? ลักทรัพย์ตอนน้ำท่วม โทษหนักกว่าเดิมมาก เตือนอย่าหาทำ!

13 ก.ย. 67

อธิบดีอัยการ เตือนเเก๊งเเมวน้ำลักทรัพย์ตอนน้ำท่วม ซ้ำเติมทุกข์ชาวบ้าน อัตราโทษหนักกว่าเดิมมาก! 

เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2567 นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง อธิบดีอัยการสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี (สคช.) เปิดเผยถึงกรณีมีข่าวแก๊งแมวน้ำซ้ำเติมผู้ประสบภัย ขโมยของช่วงน้ำท่วมใน อ.แม่สาย จ.เชียงราย รวมถึงมิจฉาชีพสมอ้างที่เปิดรับบริจาค ว่า ขอเตือนถึงผู้ที่คิดจะกระทำผิดในช่วงภัยพิบัติที่เป็นการซ้ำเติมพี่น้องประชาชนให้เลิกทำเสีย เพราะจะรับโทษหนักกว่าปกติ

480984

ทั้งนี้ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดย ทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท อันนี้คือลักทรัพย์ธรรมดาปกติ

เเต่ในช่วงภัยพิบัติ หรือที่เรียกว่าลักทรัพย์ฉกรรจ์จะเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335 (2) บัญญัติไว้ว่ากระทำในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ

เเละมาตรา 335 (12) ลักทรัพย์ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี และปรับตั้งแต่ 2 หมื่น - 1 แสนบาท

มาตรา 335 วรรคสองยังระบุไว้อีกว่า ถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราดังกล่าวแล้วตั้งแต่สองอนุมาตราขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-7 ปี และปรับตั้งแต่ 2 หมื่น - 1 แสน 4 หมื่นบาท เเละถ้าความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกลหรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-10 ปี และปรับตั้งแต่ 6 หมื่น - 2 แสนบาท

จะเห็นได้ว่ามีอัตราโทษที่หนักกว่าลักทรัพย์ธรรมดาอยู่มาก

ส่วนพวกต้มตุ๋มเปิดรับบริจาคปลอมเท่าที่ทราบอาจจะไม่มีตัวบทกฎหมาย เพิ่มโทษเป็นการเฉพาะ เเต่การที่ศาลจะลงโทษหนักขึ้นได้มันมีอยู่ 2 อย่างคือเพิ่มโทษโดยตัวกฎหมาย เเละอย่างที่สองคือ อัยการสามารถบรรยายฟ้องได้ ว่าพฤติกรรมของจำเลยเป็นภัยต่อสังคมอย่างร้ายเเรงในช่วงภัยพิบัติ อัยการเราจะบรรยายฟ้องว่าการกระทำเป็นการซ้ำเติมประชาชนขอให้ศาลลงโทษสถานหนัก ซึ่งที่ผ่านมาเราเคยทำมาเเล้ว เเละศาลก็ลงโทษสถานหนักตามที่อัยการบรรยายฟ้องไป

สถานการน้ำท่วมนี้ ตนเเละอัยการใน สคช. ซึ่งมีหน้าที่ช่วยเหลือกฎหมายประชาชน มีความเป็นห่วงประชาชน เเน่ในบทบาท สคช. เรายังไม่สามารถเข้าไปช่วยได้เต็มที่เหมือนพวกกู้ภัยที่มีความพร้อม เเต่เราได้ประชุมเตรียมการไว้เเล้วถึงเหตุการณ์ภายหลังน้ำลด ที่จะเกิดปัญหาตามมา เช่น เกิดพื้นที่เกษตรเสียหาย ไม่มีเงินชำระหนี้ กลายเป็นปัญหาหนี้สินต่อเนื่อง ตรงนี้อัยการ สคช. ยินดีจะเข้าไปเป็นตัวกลางเจรจาไกล่เกลี่ยหาทางออกให้ ชีวิตไม่เห็นหนทาง เพราะไม่มีประสบการณ์ขอให้เข้ามาหาเราได้เลย เราจะช่วยหาทางออก

 

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส