สำนักงานชลประทานที่ 10 เตรียมรับมือสถานการณ์น้ำภายใต้อิทธิพลมรสุมและเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง

19 ก.ย. 67

สำนักงานชลประทานที่ 10 เตรียมรับมือสถานการณ์น้ำภายใต้อิทธิพลมรสุมและเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง

ในช่วงนี้ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากมรสุมที่กำลังเคลื่อนผ่าน สำนักงานชลประทานที่ 10 ได้ดำเนินการตามมาตรการรับมืออย่างเข้มงวด เพื่อเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการน้ำ โดยใช้มาตรการที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งครอบคลุมถึงการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม และการจัดการปริมาณน้ำในแหล่งน้ำหลัก เช่นการบริหารปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งปัจจุบันกักเก็บน้ำไว้ประมาณ 330 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อให้มีพื้นที่รองรับน้ำฝนที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงมรสุมนี้

สำนักงานชลประทานที่ 10 เตรียมรับมือสถานการณ์น้ำภายใต้อิทธิพลมรสุมและเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง

นอกจากนี้สำนักงานชลประทานที่ 10 ได้จัดเตรียมเครื่องจักร เครื่องมือต่างๆ และบุคลากรไว้พร้อมสำหรับการระบายน้ำในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะการเฝ้าระวังในเขตท้ายเขื่อนป่าสัก และเขื่อนพระราม 6 ซึ่งหากปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเกินกว่าระดับที่กำหนด การระบายน้ำจะถูกดำเนินการอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียง

สำนักงานชลประทานที่ 10 เตรียมรับมือสถานการณ์น้ำภายใต้อิทธิพลมรสุมและเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง

สำหรับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ที่สำนักงานชลประทานที่ 10 ดูแล ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกและลุ่มน้ำป่าสัก รวมถึงพื้นที่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี และบางส่วนของจังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา

สำนักงานชลประทานที่ 10 เตรียมรับมือสถานการณ์น้ำภายใต้อิทธิพลมรสุมและเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง

ขณะนี้ยังคงอยู่ในระดับที่เฝ้าระวังเป็นพิเศษ โดยพื้นที่ที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ คือบริเวณท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสัก อาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ นอกจากนี้ยังมีการเฝ้าระวังพื้นที่อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 23 แห่ง ที่ระดับน้ำใกล้ถึงจุดวิกฤต เช่น อ่างเก็บน้ำห้วยนา ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งมีน้ำล้นสปริลเวย์บางส่วนแล้ว ซึ่งสำนักงานชลประทานที่ 10 ได้เร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่เตรียมความพร้อมยกของขึ้นที่สูง เพื่อป้องกันความเสียหาย

สำนักงานชลประทานที่ 10 เตรียมรับมือสถานการณ์น้ำภายใต้อิทธิพลมรสุมและเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง

ทั้งนี้กรมชลประทานที่ 10 ได้เน้นย้ำถึงการติดตามสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่องและประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มต่ำเตรียมรับมือน้ำหลาก โดยมีการปรับปฏิทินการเพาะปลูกเพื่อไม่ให้ผลผลิตได้รับความเสียหายหากเกิดน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน

advertisement

ข่าวยอดนิยม