กทม.เตรียมปิดสถานที่เสี่ยงเพิ่ม 22 วัน เริ่ม 22 มี.ค. -12 เม.ย. 63 ยกเว้นซูเปอร์มาร์เก็ต ตลาดสด ร้านสะดวกซื้อ

21 มี.ค. 63

วันที่ 21 มี.ค.63 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า วันนี้ได้มีการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ตามพ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 ครั้งที่5/2563 เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่สถานการณ์เริ่มมีความรุนแรงขึ้น โดยความห่วงใยพี่น้องประชาชน ที่ประชุมมีการพิจารณาจะปิดสถานที่เพิ่มเติม เป็นระยะเวลา 22 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 22 มี.ค.ถึงวันที่ 12 เม.ย.2563

โดยจะให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร เช่น ในศูนย์การค้าโรงแรม และร้านข้างนอก ให้เปิดการขายได้ แต่ให้ลูกค้าซื้อกลับไปกินที่บ้าน ส่วนของเครื่องใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น ผ้าอนามัย ยังขายได้ สาเหตุที่ออกมาตรการนี้ เพราะอยู่ในช่วงเวลาสำคัญควบคุมไวรัสโควิดไม่ให้ระบาดเพิ่ม

โดยขอความร่วมมือประชาชนไม่ต้องกักตุนสินค้า ร้านอาหารยังเปิดตามปกติ เพียงแต่ขอให้ปรับรูปแบบเป็นแบบกล่องกลับบ้าน (take away) และซูเปอร์มาร์เก็ต ก็ยังเปิดตามปกติ ร้านสะดวกซื้อให้หมั่นทำความสะอาด มีจุดบริการแอลกอฮอล์บริเวณทางเข้า เพื่อความสะอาด ปลอดภัย”

ยังประสานผู้ประกอบการระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีม่วง แอร์พอร์ตลิงก์ รถเมล์ขสมก. รถบขส. ให้ลดจำนวนผู้โดยสารในแต่ละเที่ยวลง 50% ลดความหนาแน่นในการใช้บริการไม่ให้ใกล้ชิดกันมาก เช่น บีทีเอสใน 1 โบกี้ จุคนได้ 80 คน ให้เหลือ 40 คน และให้เว้นระยะห่างระหว่างตัวบุคคล 1-2 เมตรเมื่ออยู่บนรถไฟฟ้า

นอกจากนี้ยังให้ปิดบริการคลีนิกเสริมสวย ,ตลาดสดต่าง ๆ จะปิดแต่ให้ขายเฉพาะอาหารที่จำเป็น เช่น อาหารสด หมู เป็ด ไก่ แต่มีมาตรการควบคุม

นอกจากนี้ กทม.ยังขอความร่วมมือหน่วยงานเอกชนให้อนุญาตพนักงานทำงานที่บ้าน ส่วนหน่วยงานของรัฐให้ใช้วิธีเหลื่อมเวลาหรือสลับวันการทำงาน ตามความเหมาะสม

158477347866_1

สำหรับสถานที่เสี่ยงปิดเพิ่มเติม ได้แก่

สปา นวดเพื่อสุขภาพ
สถานบริการควบคุมน้ำหนัก
สปาอาบน้ำ ตัดขนสัตว์
ลานสเก็ตหรือโรลเลอร์เบรด
กิจการเสริมสวย และคลินิคเสริมความงาม
สวนสนุก โบว์ลิ่ง ตู้เกม
กิจการบริการคอมพิวเตอร์
สนามกอล์ฟ สนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
สระว่ายน้ำ
กิจการสักผิว
สนามพระ
สนามชนไก่ และสนามซ้อมชนไก่
สถานที่จัดประชุมและนิทรรศการ
ตลาดทุกประเภท ยกเว้นแผงของสด และแผงค้าที่จำหน่ายอาหารตามความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
ห้างสรรพสินค้า ยกเว้นส่วนซูเปอร์มาร์เก็ต
สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย สถานศึกษารัฐ เอกชน โรงเรียนประจำ โรงเรียนนานาชาติ โรงเรียนสอนศาสนา โรงเรียนกวดวิชาทุกแห่ง
สถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย ทั้งของรัฐและเอกชน รวมถึงสถาบันอบรมวิชาชีพทั่วกรุงเทพฯ

158477358151

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม