สภาพัฒน์คาดโควิด-19 ทำคนไทยตกงานถึง 8.4 ล้านคน

28 พ.ค. 63

สภาพัฒน์คาดว่า จะมีคนไทยตกงานถึง 8.4 ล้านคนจากวิกฤติโควิด-19 เด็กจบใหม่ 5.2 แสนคนมีโอกาสเตะฝุ่น

นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ รายงานภาวะสังคมในไตรมาส 1 ของปี 2563 โดยระบุว่า อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ การจ้างงานลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยไตรมาสหนึ่ง ปี 2563 ผู้มีงานทำ 37,424,214 คน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.7 ส่วนมากเป็นการจ้างงานภาคเกษตรกรรม 3.7%

1590647088005

อย่างไรก็ตาม มีสัญญาณของผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ต่อการจ้างงานคือ ชั่วโมงการทำานเฉลี่ยภาคเอกชนลดลงเท่ากับ 42.8 ชั่วโมง/สัปดาห์ จาก 43.5 ชั่วโมง/สัปดาห์ ในช่วงเดียวกันปีที่แล้ว โดยผู้ที่ทำงานมากกว่า 50 ชั่วโมงขึ้นไป/สัปดาห์ ลดลงร้อยละ 9.0 นอกจากนั้น สถานประกอบการมีการขอใช้มาตรา 75 ในการหยุดกิจการชั่วคราวมีจำนวนทั้งสิ้น 570 แห่ง และมีแรงงานที่ต้องหยุดงานแต่ยังได้รับเงินเดือน 121,338 คน

ทั้งนี้ สภาพัฒน์ประเมินว่า มีแรงงานเสี่ยงจะถูกเลิกจ้างสูงถึง 8.4 ล้านคน ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 แบ่งเป็นแรงงาน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย (1) แรงงานในภาคการท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบจากการลดลงของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการท่องเที่ยวในประเทศ ประมาณ 2.5 ล้านคน (2) แรงงานในภาคอุตสหกรรมซึ่งจะได้รับผลกระทบจากตั้งแต่ก่อน COVID-19 จากสงครามการค้า และต่อเนื่องมาจนถึงการแพร่ระบาดของ COVID-19 คาดว่ามีผู้ได้รับผลกระทบ 1.5 ล้านคน และ (3) การจ้างงานในภาคบริการอื่นที่ไม่ใช่การท่องเที่ยวในกลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของภาครัฐจากการปิดสถานที่ เช่น สถานศึกษา หรือสถานที่มีการรวมกลุ่มของคนจำนวนมาก เช่น ตลาดสด สนามกีฬำ ห้างสรรพสินค้ำ คาดว่าจะได้รับผลกระทบประมาณ 4.4 ล้านคน

99280038_3219508081497040_272_1

แต่หากสถานการณ์ดีขึ้น มีการคลายล็อกดาวน์ตามแผน จะทำให้ตลอดทั้งปีอัตราว่างงานจะอยู่ที่ 2 ล้านคน จากปกติอัตราว่างงานมีเพียงปีละ 4-5 แสนคนเท่านั้น และปรับตัวใกล้เคียงกับวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 2540

สำหรับสถานการณ์หนี้ครัวเรือนพบว่า ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อน แต่คุณภาพสินเชื่อแย่ลง สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 79.8 สูงสุดในรอบ 14 ไตรมาส นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2559 เป็นต้นมา ซึ่งในระยะยาวน่าเป็นห่วง ส่วนยอดคงค้างหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.23 ต่อสินเชื่อรวม ปรับตัวเพิ่มขึ้นจำกร้อยละ 2.90 ในไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นผลจากความสามารถในการชำระหนี้ของสินเชื่อทุกประเภทด้อยลง โดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลอื่นๆ

1590647243755_1

นอกจากนี้ สภาพัฒน์ยังเป็นห่วงเด็กจบใหม่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม คาดว่าจะเข้าสู่ตลาดประมาณ 520,000 คน แต่ถ้าอุตสาหกรรมยังไม่สามารถกลับมาทำงานได้เช่นเดิม ผู้ประกอบการไม่สามารถจ้างงานได้ ก็จะทำให้เด็กจบใหม่เสี่ยงจะหางานทำไม่ได้เพราะไม่มีตำแหน่งรองรับ ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มเด็กจบใหม่มีพฤติกรรมก่อหนี้เกินตัวชัดเจน เน้นใช้จ่ายเพื่อสันทนาการ ท่องเที่ยว กินดื่ม เสริมความงาม มีพฤติกรรมออมเงินต่ำ ก่อหนี้ซ้ำ นำเงินที่กู้เพื่อประกอบอาชีพและการศึกษาไปใช้ในการบริโภค ถ้าไม่สามารถชำระหนี้ได้จะไปกู้เงินอีกที่มาจ่าย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม