รู้จัก "ไทรอยด์เป็นพิษ" และอาการผิดปกติที่เสี่ยงเป็นโรคแบบ "แม่ทุม"

7 ก.ย. 63

ทำความรู้จัก "โรคไทรอยด์เป็นพิษ" และอาการผิดปกติของต่อมไทรอยด์หนึ่งในโรคที่พรากชีวิต "แม่ทุม"

จากข่าว "แม่ทุม ปทุมวดี" เสียชีวิตหลังต่อสู้กับโรค "ไทรอยด์เป็นพิษ" และ ALS  (กล้ามเนื้ออ่อนแรง) มายาวนานหลายปี ที่รายงานไปก่อนหน้านี้นั้น

 อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- สุดอาลัย "แม่ทุม" เสียชีวิตแล้ว หลังสู้อาการป่วย ALS -ไทรอยด์ นานหลายปี
เช็กเลย! ใครมีโอกาสเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS โรคที่ี "แม่ทุม" ต่อสู้มานานหลายปี

เปิดเรื่องราวชีวิตคู่ "พ่อรอง-แม่ทุม" กับบทพิสูจน์ "รักแท้มีอยู่จริง"
- “พ่อรอง เค้ามูลคดี” ถูกหามส่งโรงพยาบาลด่วน!! หลังวูบคาห้องพระ!!

 "ไทรอยด์เป็นพิษ" เป็นภาวะ หรือโรคที่เกิดจากการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ มีการทำงานมากเกินไป เกิดการสร้างฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์มากผิดปกติ ทำให้การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายผิดปกติตามไปด้วย

อาการต่อมไทรอยด์ผิดปกติมีความแตกต่างกันแล้วแต่กรณี แต่หลัก ๆ แล้วเราสามารถสังเกตอาการต่อมไทรอยด์ผิดปกติได้ดังนี้

          - อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น เนื่องจากหัวใจถูกกระตุ้นให้ทำงานหนัก

          - เหงื่อออกง่าย อันเนื่องมาจากระบบเผาผลาญและการใช้พลังงานถูกกระตุ้น

          - นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย

          - ท้องเสียง่าย จากการที่ทางเดินอาหารถูกกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น

          - ตาโปนกว่าปกติ โดยเนื้อเยื่อหลังนัยน์ตาขยายขนาดขึ้นจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษ

          - ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีทั้งประจำเดือนขาด หรือมาไม่ตรง มาแบบกะปริบกะปรอย

          - กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน พบในรายที่ไทรอยด์เป็นพิษแล้วเกิดเกลือแร่โพแทสเซียมต่ำอย่างเฉียบพลัน ทำให้เกิดอาการคล้ายอัมพาต ขยับแขน ขา และลำตัวไม่ได้

          - คลำเจอก้อนโตบริเวณลำคอด้านหน้า สามารถขยับเคลื่อนขึ้น-ลงได้ เวลากลืนน้ำลาย

          - อารมณ์หดหู่, สมาธิไม่ดี

          - เส้นผมและขนผิวหนังร่วง (โดยเฉพาะหางคิ้ว) ผิวแห้ง

          - เจ็บตามข้อ บวมน้ำ (โดยเฉพาะที่มือและเท้า)

          - เสียงแหบ

          - หนาวง่าย

          - ความดันโลหิตสูง

ถ้าหากมีอาการดังกล่าวข้างต้น แพทย์จะตรวจเลือด เมื่อพบว่าการทำงานของต่อมไทรอยด์มากผิดปกติ ก็สามารถวินิจฉัยโรคได้ การรักษาหลักของไทรอยด์เป็นพิษ คือ การกินยา เมื่ออาการดีขึ้น แพทย์จะค่อยๆ ลดยาลง และหยุดยาได้ในที่สุด หากกินยาแล้วไม่ดีขึ้น อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด หรือ การกินไอโอดีนกัมมันตรังสี ระยะเวลาเฉลี่ยในการรักษามักจะประมาณ 2 ปี

ที่มา: ผศ.ดร.นพ. สืบวงศ์ จุฑาภิสิทธิ์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, www.mukinter.com

 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ