ย้อนรอยประชามติ 'การุณยฆาตหมาจรจัด' ในโรมาเนีย หลังมีเด็กสังเวยคมเขี้ยวฝูงสุนัข

14 มี.ค. 61
กลายเป็นประเด็นถกเถียงอย่างกว้างขวางในโลกออนไลน์ สำหรับกรณีการ Set Zero สุนัขจรจัด เพื่อลดการระบาดของโรคผิดสุนัขบ้า ซึ่งมีทั้งฝ่ายที่สนับสนุนให้นำวิธีดังกล่าวมาใช้ และฝ่ายที่ต่อต้านวิธีดังกล่าว โดยให้เหตุผลด้านมนุษยธรรม รวมทั้งขอให้มีการเจรจาหาทางออกที่ไม่ต้องลงเอยด้วยการทำลายชีวิต (อ่านเพิ่มเติม : หมาบ้าล้นไทย! เพจดังหนุนเซตซีโร่พวกจรจัด ตัวติดเชื้อ-คนรักสัตว์ค้าน “อย่าฆ่า” (คลิป)) แน่นอนว่าปัญหาส่วนหนักใจและกระทบต่อความรู้สึกของคนหลายๆ กลุ่มนี้ ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในบ้านเราเท่านั้น เพราะหากย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว ชาวโรมาเนียเองก็ต้องเผชิญกับการหาทางออกยากจะตัดสินใจ เมื่อเกิดเหตุเด็กชายวัย 4 ขวบ ถูกฝูงสุนัขจรจัดรุมกัดจึงถึงแก่ความตาย จนกลายเป็นประเด็นที่นำไปสู่การทำ 'ประชามติ' เพื่อขอความเห็นชอบจากประชาชนในการฆ่าสุนัขไม่มีเจ้าของกว่า 65,000 ตัว ในกรุงบูคาเรสต์ แม้กระแสสังคมในขณะนั้นจะเรียกร้องในมีกำจัดสุนัขเหล่านั้นเพื่อสังเวยการสูญเสีย แต่ขณะเดียวกันกลุ่มนักเคลื่อนไหวจากองค์กรสิทธิสัตว์ได้พยายามเรียกร้องให้ทบทวนแนวคิดดังกล่าว เพื่อหาทางออกอื่นๆ เช่นทำหมันสุนัขจรจัด จัดหาเจ้าของ หรือนำไปไว้ในศูนย์ดูแลเพื่อลดการก่อปัญหา ท่ามกลางความขัดแย้งของทั้งฝ่ายคนรักสัตว์ และฝ่ายที่ห่วงสวัสดิภาพประชาชน ทราเอียน บาเซสคู ประธานาธิบดีโรมาเนียในขณะนั้นได้ตัดสินใจใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดนั้นคือ 'มนุษย์ต้องมาก่อนสุนัข' แต่ขณะเดียวกันนายกเทศมนตรีกรุงบูคาเรสต์ ก็ยังยืนยันว่าต้องจัดทำประชามติเพื่อสอบถามชาวบ้านว่า เห็นด้วยกับการการุณยฆาตสุนัขจรจัดหรือไม่ แต่จากเหตุการณ์ในครั้งนั้น ปัจจุบันกรุงบูคาเรสต์ เมืองหลวงของโรมาเนียได้มีแนวทางจัดการกับสุนัขจรจัด ภายใต้เงื่อนไขคือ หากมีการพบเห็นสุนัขจรจัด หรือไม่มีสิ่งที่สามารถยืนยันว่าเป็นสุนัขมีเจ้าของได้ จะต้องนำสุนัขตัวดังกล่าวดังกล่าวมาไว้ในศูนย์พักพิงสุนัข เพื่อรอการรับไปอุปการะต่อภายในเวลา 17 วัน แต่หากไม่มีการตอบสนองก็จำเป็นต้องทำการการุณยฆาต อย่างไรก็ตาม...ภายหลังได้มีการขยายเวลาการรับเลี้ยงออกไปเป็นเวลาหลายเดือน เพื่อเพิ่มโอกาสให้สุนัขมีคนมารับเลี้ยงมากขึ้น แต่ปัญหาที่ตามมาคือมีสุนัขจำนวนมากตกค้างไม่มีคนมารับไปเลี้ยงดู และมีสุนัขบางส่วนที่ถูกนำมาคืนเนื่องจากเจ้าของไม่สามารถดูแลต่อได้ ทำให้ศูนย์พักพิงที่สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาประสบปัญหาสุนัขล้นจนกลายเป็นชุมชนแออัดของสุนัข และต้องใช้งบประมาณในการเลี้ยงดูเพิ่มขึ้นตามจำนวนสุนัขที่อยู่นานขึ้น ซึ่งจากข้อมูลพบว่า ในปี 2015 มีสุนัขถูกนำมาที่ศูนย์พักพิงรวมกันกว่า 23,000 ตัว แต่มีคนรับไปเลี้ยงอย่างถาวรเพียง 2,000 ตัวเท่านั้น ที่มา - wikipedia.org / bbc.co.uk

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม